ข้อมูลงานวิจัย ออกแบบและพัฒนาข้อเท้าเทียมไฟฟ้าสำหรับผู้พิการ

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.สุรชาติ จันทรชิต
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Surachat Chautarachit
    • ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
    • โทรศัพท์0614636XXX
    • E-Mail Addressurachat.chantarachit@gmail.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญMechanical Design, Control Design
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00049
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ ออกแบบและพัฒนาข้อเท้าเทียมไฟฟ้าสำหรับผู้พิการ
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Design and develop of active ankle prosthesis
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ ผศ.สุรชาติ จันทรชิต
ผู้ร่วมวิจัย
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ ข้อเท้าเทียมไฟฟ้า รูปแบบการเดิน การควบคุมการเดิน สัญญาน EMG
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล ในโลกยุคปัจจุบัน สถานที่การเรียนรู้ การทำงานหลายๆที่เปิดกว้างให้สำหรับผู้พิการในการทำงานได้มากขึ้น เพื่อเปิดโอกาสและรายได้ในการทำงานและเรียนรู้ ซึ่งในประเทศมีศูนย์สำหรับทำอวัยะเทียม เช่น โรงงานทำขาเทียมพระราชทาน มูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งอวัยวะเทียมที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นโครงสร้างอย่างง่ายเพื่อให้สามารถตอบสนองกลุ่มคนจำนวนมากที่ต้องการใช้ สำหรับผู้พิการทางการเดิน อวัยะเทียมเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดำรงชีวิต สำหรับผู้ที่ใช้ชีวิตปกติทั่วไปการใช้ขาเทียมแบบทั่วไปอาจจะทำให้การทำงานไม่สะดวกหรือ ทำให้การเคลื่อนไหวไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้ตระหนักถึงความสำคัญการเตรียมความพร้อมด้านบริการทางสาธารณะสุขอย่างทั่วถึงประกอบกับแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีที่มุ่งเป้าพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังนั้นจึงได้นำมาสู่งานวิจัยชิ้นนี้โดยการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในการพัฒนาอวัยวะเทียม อวัยวะเทียมอัจฉริยะส่งผลให้ผู้ใช้งานได้ใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการเคลื่อนไหวที่เป็นธรรมชาติ ทำให้ผู้พิการสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง การใช้เทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์ในทางการแพทย์ จะช่วยยกระดับของประเทศ ลดการนำเข้าอุปกรณ์ทำกายภาพที่มีราคาสูงจากต่างประเทศ ประหยัดเวลา สร้างเทคโนโลยีให้กับระเทศ อีกด้วยเทคโนโลยีของหุ่นยนต์อัตโนมัติ ภายใต้บุคลากรการแพทย์ที่มีจำกัด การพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยนี้ จะช่วยยกระดับคุณภาพสาธารณสุขให้กับประชากรไทย ข้อเท้าเทียมไฟฟ้าเป็นงานที่ได้พัฒนาและออกแบบให้สามารถช่วยผู้พิการในการเดิน ให้กลับมาสามารถเดินได้อย่างปกติ และใช้แรงในการเดินน้อยกว่าขาเทียมแบบทั่วไปโดยอาศัยการรวมของระบบทางกลที่ได้ออกแบบใหม่ ระบบไฟฟ้าควบคุม โดยทั้งหมดสามารถทำงานโดยรับคำสั่งมาจากผู้ใช้งาน ส่งไปยังส่วนประมวลผลกลางเพื่อปรับตำแหน่งข้อเท้าให้เหมาะสมตามสรีระการเดิน
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อออกแบบและพัฒนาโครงสร้างสำหรับข้อเท้าเทียมไฟฟ้า 2. เพื่อออกแบบการทำงานร่วมกันของ เซ็นเซอร์ และ รูปแบบการเดิน 3. เพื่อพัฒนาระบบควบคุมที่ใช้ในการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า