ข้อมูลงานวิจัย ชุดทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับแก๊สของตัวดูดซับ

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)รศ.ดร.ไชยยันต์ ไชยยะ
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)รศ.ดร.Chaiyan Chaiya
    • ตำแหน่งทางวิชาการ-
    • ตำแหน่งปัจจุบันรองศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะวิศวกรรมศาสตร์
    • โทรศัพท์0924559XXX
    • E-Mail Addrescchaiya@gmail.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญ
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00046
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ ชุดทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับแก๊สของตัวดูดซับ
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Gas Adsorption Efficiency Testing Instrument of Adsorbents
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมวิจัย
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2562
คำสำคัญ ประสิทธิภาพการดูดซับ การดูดซับแก๊ส ไอโซเทอร์มการดูดซับ
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล ในปัจจุบันสารดูดซับ (Adsorbent) ได้เข้ามามีบทบาทในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมมากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งโดยปกติแล้วมากกว่า 90% ในภาคอุตสาหกรรมมักจะมีการนำถ่านกัมมันต์มาใช้ในการดูดซับ โดยอีก 10% มักเป็นสารดูดซับแบบเฉพาะทางเช่น Zeolite Alumina หรือ Silica เป็นต้น อย่างไรก็ตามการนำสารดูดซับดังกล่าวมาใช้ในกระบวนการเพื่อดูดซับสารที่มีความหลากหลายทางโครงสร้าง เช่น สารมีขั้ว สารไม่มีขั้ว รวมทั้งการนำไปใช้งานในสภาวะที่หลากหลาย เช่น สภาวะความชื้น สภาวะอุณหภูมิ เป็นต้น ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลให้ประสิทธิภาพการดูดซับแตกต่างกันออกไป และทำให้ผู้นำไปใช้งานไม่สามารถประเมินประสิทธิภาพในการดูดซับได้จริง ๆ เนื่องจากสภาวะที่แตกต่างกันสามารถทำให้สารดูดซับและสารถูกดูดซับคู่เดียวกันสามารถแสดงพฤติกรรมการดูดซับได้ทั้งแบบกายภาพและแบบเคมี ซึ่งในอดีตที่ผ่านมามีการทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับดังกล่าวในระดับห้องปฏิบัติการแต่มีเฉพาะในระบบของเหลว (Liquid Adsorption) เท่านั้น แต่การดูดซับในสภาวะแก๊ส (Gas Adsorption) นั้นยังไม่มีอุปกรณ์หรือแนวทางการทดลองใด ๆ สามารถทำได้โดยตรงนอกจากการเก็บตัวอย่างจากแก๊สไปวิเคราะห์กับเครื่องมือวิเคราะห์ชั้นสูงเช่น Gas Chromatography ซึ่งมีวิธีการที่ยุ่งยากและค่าใช้จ่ายสูง งานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดที่จะสร้างชุดทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับที่สามารถใช้ได้กับสารดูดซับและสารถูกดูดซับสถานะแก๊สทุกประเภท โดยชุดทดสอบดังกล่าวสามารถควบคุมสภาวะการดูดซับได้ทั้ง ความเข้มข้น อัตราการไหลของแก๊ส และอุณหภูมิ เป็นต้น ซึ่งตัวแปรดังกล่าวนี้ถือเป็นตัวแปรที่ล้วนมีผลต่อการดูดซับโดยทั้งสิ้น ข้อมูลการดูดซับของชุดทดสอบดังกล่าวจะถูกบันทึกในรูปแบบของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นโดยใช้เครื่องชั่งความละเอียดสูง ที่สามารถบันทึกข้อมูลแบบ Data log ลงในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้ และข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดสูงพอที่จะนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมของการ ดูดซับสารชนิดต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ โดยการทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับจะใช้การวิเคราะห์บนพื้นฐานของแบบจำลองการดูดซับหลายๆ กรณี เช่น Langmuir, Freundlich, Dubinin Radushkevich หรือ Tempkin เป็นต้น ซึ่งชุดทดสอบที่สร้างขึ้นนอกจากจะสามารถใช้ในการวิจัยต่อยอดต่อไป ยังสามารถเผยแพร่ความรู้ในวารสารระดับนานาชาติ และจดสิทธิบัตรได้ ต่อไป
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อออกแบบและสร้างชุดทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับแก๊สของตัวดูดซับ 2. เพื่อวิเคราะห์ความถูกต้องแม่นยำในการทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับจากเครื่องมือที่สร้างขึ้น