ข้อมูลงานวิจัย การศึกษาองค์ประกอบทางดนตรีเทคนิคการเดี่ยวแคน กรณีศึกษาบทเพลงลายรถไฟไต่รางของ นายสมบัติ สิมหล้า โดยนำมาเชื่อมโยงกับเทคนิคดนตรีตะวันตกและเรียบเรียงเสียงประสานผ่านวงแซกโซโฟน

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)อ.ณัฐพล ดีคำ
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)อ.Nutthapol Deekum
    • ตำแหน่งทางวิชาการ-
    • ตำแหน่งปัจจุบันอาจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะศิลปกรรมศาสตร์
    • โทรศัพท์0624429XXX
    • E-Mail Addreslopahtton@gmail.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญโปรแกรม คอมพิวเตอร์, ดนตรี
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00049
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การศึกษาองค์ประกอบทางดนตรีเทคนิคการเดี่ยวแคน กรณีศึกษาบทเพลงลายรถไฟไต่รางของ นายสมบัติ สิมหล้า โดยนำมาเชื่อมโยงกับเทคนิคดนตรีตะวันตกและเรียบเรียงเสียงประสานผ่านวงแซกโซโฟน
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ The Study of Musical Elements, solo instrument technique of Khene The theme song’s name Lai-Rod-Fai-tai-Rang of Mr.Sombat Simla, with links to Western music techniques and arrangement by Saxophone ensemble
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมวิจัย
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2562
คำสำคัญ เครื่องดนตรีแคน, ดนตรีพื้นบ้าน, ดนตรีตะวันตก, เทคนิคทางดนตรี
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล ดนตรีสากล หรือ ดนตรีตะวันตกเป็นดนตรีที่มีบทบาทต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก เดิมทีคนไทยเรียกดนตรีประเภทนี้ว่า “ดนตรีฝรั่ง” ซึ่งคำว่า “ฝรั่ง” ในมุมมองสมัยก่อนนั้นคือชาวยุโรป หรือชาวตะวันตกเช่นเดียวกับคนในปัจจุบัน แต่ถ้าหากเรามองย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่าประเทศเรามีเรื่องวัฒนธรรมดนตรีในแต่ละภูมิภาค คำว่าวัฒนธรรมทางดนตรี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ถ่ายทอดทางสังคมและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น วิถีชีวิต สัญลักษณ์และความเชื่อ ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นก็จะมีที่สอดคล้องไปด้วยกับวัฒนธรรม วัฒนธรรมดนตรีพื้นเมืองไทยแบ่งออกเป็น 4 ภาค ได้แก่ 1. ภาคกลาง 2. ภาคเหนือ 3. ภาคอีสาน 4. ภาคใต้ ทั้งนี้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะนำดนตรีภาคอีกสานมานำเสนอในอีกแง่มุมหนึ่ง วัฒนธรรมดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะการแบ่งกลุ่มทางวัฒนธรรมดนตรี คือ กลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ กลุมวัฒนธรรมกันตรึมและสุดท้ายกลุ่มวัฒนธรรมเพลงโคราช ดนตรีของแต่ละกลุ่มต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะทั้งสิ้น ถ้าเราจะนึกถึงเครื่องดนตรีอีสานก็คงหนีไม่พ้นเครื่องดนตรีที่ชื่อว่าแคน แคนเป็นเครื่องดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของชาวอีสาน จัดเป็นกลุ่มเครื่องเป่าชนิด Eastern mouth organs เป็นเครื่องเป่าชนิดลิ้นอิสระ เกิดเสียงได้ด้วยการสั่นสะเทือนของลิ้นที่อยู่ภายในลูกแคนจะเกิดเสียงที่แตกต่างกันไปด้วยการเป่าลมเข้าไปในเต้าแคนแล้วใช้นิ้วมือบังคับระดับเสียง เสียงที่ออกจากแคนที่เป่าหนึ่งครั้งโดยหนึ่งผู้บรรเลงเสียงจะออกมามากกว่าหนึ่งเสียง ซึ่งสิ่งนี้จะแตกต่างจากเครื่องเป่าทั่วไปทั้งของประเทศไทยและของตะวันตก งานวิจัยชิ้นนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูล ศึกษา และวิเคราะห์องค์ประกอบด้านดนตรีลักษณะเสียงการเดี่ยวแคน กรณีศึกษาบทเพลงลายรถไฟไต่ราง นายสมบัติ สิมหล้า จากนั้นจะทำการเชื่อมโยงเทคนิคการเดี่ยวแคนกับเทคนิคของดนตรีตะวันตก โดยบรรเลงผ่านวงดนตรีตระกูลแซกโซโฟน
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อรวมรวม ศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบดนตรีการเดี่ยวแคน โดยการวิเคราะห์ในลักษณะดนตรีจะวันตก 2. เพื่อเป็นต้นแบบการสร้างงานดนตรีโดยนำเทคนิคการเดี่ยวแคนมาประยุกต์กับเทคนิคการประพันธ์ดนตรีตะวันตก 3. ผลงานการวิจัยสามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจ ศึกษาค้นคว้าต่อได้