-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.สุรัติวดี ทั่งมั่งมี
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.Suradwadee Thungmungmee
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงาน*คณะการแพทย์บูรณาการ
- โทรศัพท์0832135XXX
- E-Mail Addresibcosmetic2@gmail.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง : การพัฒนาสูตรตำรับ
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600034จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผักและผลไม้เหลือทิ้งจากตลาดไท |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Research and development of excess produce and organic waste from Talaad Thai into cosmetic, personal care and household products |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.สุรชัย เตชะเอ้ย 2. ผศ.สุรัติวดี ทั่งมั่งมี |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | การจัดการขยะ/นวัตกรรมจากขยะเหลือทิ้ง/วิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | ตลาดไท เป็นตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีพื้นที่ 542 ไร่ มีผู้ค้า 3,500 ราย โดยมีปริมาณการค้าขายถึง 12,000 ตันต่อวัน การดำเนินการของตลาดจะก่อเกิดขยะปริมาณ 120-260 ตันต่อวัน ซึ่งร้อยละ 85 ของขยะเหล่านี้เป็นขยะอินทรีย์ที่มีสัดส่วนของผักผลไม้ที่ยังไม่เน่าเสียเกินร้อยละ 70 ผู้ประกอบการโรงเลี้ยงสัตว์จะรับขยะอินทรีย์บางส่วนเพื่อนำไปเป็นอาหารสัตว์ในบริเวณจังหวัดปทุมธานี คิดโดยเฉลี่ยเป็นปริมาณ 8 ตันต่อวัน นอกจากนั้นขยะที่เหลืออยู่จะถูกนำไปพักในหลุมขยะจังหวัดอยุธยาและกาญจนบุรีซึ่งก่อเป็นปัญหาสภาพแวดล้อมไม่น่าอยู่อาศัยในเขตจังหวัดดังกล่าว และยังเป็นภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการตลาดไทที่ต้องเสียค่าบริหารจัดการขยะ 10 ล้านบาทต่อปี เพื่อที่จะจัดการปัญหาปริมาณขยะที่มีค่าใช้จ่ายในการกำจัดสูงมากและเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อม ทางคณะนักวิจัยที่ศูนย์ Center of Excellence (COE) มทร.ธัญบุรี จึงมีข้อเสนอวิจัยการแปรรูปขยะและระบบการซื้อขายที่สร้างประโยชน์และมูลค่าเพิ่ม (upcycling) จากขยะเหลือใช้ที่มีคุณภาพดี โดยมีขั้นตอนคือ 1) สร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรม (innovative products) ที่มีมูลค่าเพิ่มในกลุ่มอาหารเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล 2) สร้างระบบเครือข่ายการค้า (Fair trade network) เพื่อจำหน่ายสินค้าด้วยราคาเป็นธรรมและยั่งยืน วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะและของสดเหลือทิ้งของตลาดไทโดยการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ใช้สอยแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขยะส่วนมากของตลาดไทมาจากพืชผัก เช่น เปลือกทุเรียนที่เป็นปัญหา (pain point) สำคัญของตลาดไทเพราะมีปริมาณมากในฤดูผลไม้ กำจัดเก็บยากด้วยลักษณะที่เป็นหนามแหลมโดยธรรมชาติ ต้องใช้บุคคลากรแยกเก็บจำเพาะ หรือแตงโมไส้ล้มที่ไม่สามารถขายได้และต้องทิ้งเป็นปริมาณมาก หรือใบผักกาดที่ต้องดึงทิ้งเพื่อจัดหัวผักให้ดูสวยงาม ก็นับเป็นขยะเหลือทิ้งที่มีปริมาณมากทุกวัน เป็นต้น ผลผลิตของโครงการคือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลที่สร้างมูลค่าเพิ่มและตอบปัญหาค่าใช้จ่ายด้านการจัดการขยะของตลาดไท ผลลัพธ์จากโครงการนี้นอกจากจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะของตลาดไทและเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ โครงการนี้ยังสามารถพัฒนาตลาดไทให้เป็นชุมชนนวัตกรรมที่มีศักยภาพอีกแห่งหนึ่ง ทางผู้บริหารองค์กรมีความต้องการพัฒนานวัตกรรมการกำจัดขยะของตลาดไทอย่างต่อเนื่อง องค์กรมีการจ้างวิจัยวิธีการกำจัดขยะแบบต่าง ๆเพื่อหาแนวทางการกำจัดที่คุ้มทุน เช่น การนำขยะไปสร้างพลังงานทดแทน การ upcycle ขยะพลาสติกและขยะโฟมโดยการนำไปหลอมขึ้นรูปใหม่ แต่ทั้งนี้วิธีการเหล่านี้มีราคาแพงและไม่ตอบจุดคุ้มทุนขององค์กร ดังนั้นทางคณะกรรมการผู้บริหารตลาดไทจึงดำเนินการหาวิธีการใหม่ๆต่อไปที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพ ในกระบวนการสร้างชุมชนนวัตกรรมนี้นอกจากตลาดไทจะเป็นแหล่งวัตถุดิบแล้วคณะนักวิจัยและบุคคลากรตลาดไทมีแผนร่วมมือกันในด้านการแยกสรรขยะเหลือทิ้งอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสะดวกต่อกรรมวิธีการแปรรูปต่อไปทันที ต่อจากนั้นผลิตภัณฑ์ที่จัดทำขึ้นจะสามารถจำหน่ายผ่านช่องทางการตลาดที่สร้างขึ้นในโครงการสร้างระบบเครือข่ายการค้าที่เป็นธรรม (Fair trade network) |
วัตถุประสงค์ | 3.1 เพื่อนำขยะเหลือทิ้งจากตลาดไทมาวิจัยและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม 3.2 เพื่อพัฒนาระบบการคัดกรองขยะที่ตลาดไทให้ได้วัตถุดิบคุณภาพเหมาะสม มีประสิทธิภาพการคัดแยกและสะดวกต่อการแปรรูปต่อเป็นผลิตภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรม 3.3 เพื่อสร้างชุมชนนวัตกรรมโดยการมีส่วนร่วมของบุคคลากรตลาดไท |