ข้อมูลงานวิจัย การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.อัครวุฒิ ปรมะปุญญา
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Akkrawuthi Paramapuneya
    • ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
    • โทรศัพท์0614715XXX
    • E-Mail Addresakkrawuthi@rmutt.ac.th
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญประสบการณ์สอน 7 ปี
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00024
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Research and Development of E-Learning Innovation in Electrical and Electronics Sciences
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ ผศ.ชลดา ปานสง
ผู้ร่วมวิจัย 1. ผศ.อานนท์ นิยมผล
2. ผศ.อัครวุฒิ ปรมะปุญญา
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา 1. ผศ.สิริลักษณ์ หาญวัฒนานุกุล
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ การวิจัยและพัฒนา, นวัตกรรมการเรียนรู้ออนไลน์, สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ที่ได้แพร่กระจายในหลายประเทศทั่วโลกนั้น นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 ตั้งแต่ต้นปี 2563 ผ่านมา 4 เดือน ตัวเลขผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและกระจายไปทั่วโลก ทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้างทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม ช่วงเมษายน 2563 มีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 ทั่วโลกมีมากกว่า 3 ล้านคน นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน (2563) กล่าวว่า สถานการณ์ทางภูมิภาคเอเชีย ณ วันที่ 26 เมษายน 2563 นั้น มีความร้ายแรง เพราะหลายๆ ประเทศมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศญี่ปุ่นสิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกิน 500 ราย ประเทศสิงคโปร์ซึ่งมีพื้นที่เล็กทำให้การกระจายตัวของโรคได้เร็วขึ้น และเป็นบทเรียนให้แก่ประเทศไทยได้ทำงานเชิงรุกมากขึ้น จนทำให้เกิดการค้นหาแรงงานส่วนหนึ่งที่มีการติดเชื้อ ฉะนั้นจำเป็นต้องเรียนรู้สถิติสถานการณ์โลกทุกวัน เพราะสถานการณ์โลกยังไม่น่าไว้วางใจ ทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้ชีวิตแบบปกติแบบเดิมได้ สภาวะการของโรคเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ แพร่กระจายผ่านน้ำมูก น้ำลาย และคนที่ติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานที่ไม่ได้แสดงอาการ ไม่รู้ว่าใครติดเชื้อบ้าง ถ้าทุกคนใช้ชีวิตปกติจะมีโอกาสติดเชื้อได้ และสิ่งที่ทำมาทั้งหมดตอนนี้จะกลายเป็นศูนย์ ดังนั้นจะกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ต่อเมื่อมียารักษาให้หายและต้องมีวัคซีน แต่กว่าจะมีวัคซีนได้ข้อมูลล่าสุดตอนนี้ประมาณต้นปี 2564 ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ระหว่างนี้อยากให้ทุกคนปรับพฤติกรรม ไม่เป็นผู้กระจายเชื้อโรค ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ โดยไม่ทำให้ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถควบคุมได้ ในด้านการศึกษายูเนสโก (UNESCO, 2020) ได้คาดการณ์ว่าขณะนี้มีนักเรียน นักศึกษากว่า 363 ล้านคนทั่วโลกได้รับผลกระทบ โดยข้อมูลที่เผยแพร่โดยยูเนสโก (เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2563) แสดงให้เห็นถึงการปิดกิจกรรมการศึกษาของสถานศึกษาทั่วโลกที่เกิดการแพร่ระบาด ทำให้ผู้เรียน 1,542,412,000 คนได้รับผลกระทบ ทำให้สถาบันการศึกษาในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกได้นำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ เพื่อเปิดการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในสหรัฐอเมริกา ประกาศจะใช้การเรียนการสอนเสมือนจริง (Virtual Education) รวมทั้งเทคโนโลยี AR และ AI ซึ่งการเรียนรู้ออนไลน์ขณะนี้เป็นตัวเลือกอันดับแรกในการช่วยเหลือนักเรียน ที่จะต้องเผชิญกับความท้าทายของการเรียนรู้โดยไม่ต้องมีกระบวนการแบบตัวต่อตัว (Geddie, J.S.J; 2020) ในเวลานี้นักเรียนและอาจารย์ต้องใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อให้สามารถดำเนินกระบวนการเรียนรู้ดำเนินต่อไปได้ และมีการวิจัยระบุว่า 53.8% ของผู้คนใน 194 เมืองในประเทศจีน ประสบกับผลกระทบทางจิตใจเนื่องจากปรากฏการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19) โดยเพศหญิงและนักเรียน ได้รับผลกระทบทางจิตใจมากที่สุด (Cuiyan Wang, et.al; 2020) ปัจจัยต่าง ๆ สามารถทำให้เกิดผลทางจิตวิทยาหนึ่งในนั้น คือ การหยุดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ เนื่องจากสถานการณ์ลดระยะห่างทางสังคม ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก (WHO., 2020) และปัญหาการจัดการเรียนรู้ออนไลน์มีหลายประการ หลายมิติ และความรุนแรงของปัญหาแตกต่างกันตามปัจจัยต่าง ๆ ทั้งผู้เรียน ผู้สอนเนื้อหาสาระ สถานศึกษา และความพร้อมของสาธารณูปโภคที่ เช่น เครื่องมืออุปกรณ์ แอปพลิเคชั่นและการสื่อสารที่มีมากมายเปิดกว้างและพร้อมใช้งาน (Schaffhauser, D., 2010) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (RMUTT) และคณะศึกษาศาสตร์ (Faculty of Education) มหาวิทยาลัย Universitas Pendidikan Indonesia (UPI) ประเทศอินโดนีเซีย มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งนี้ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ทั้งหมดในภาคฤดูร้อน 2562 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมีการยกเลิกการเรียนปรับพื้นฐานสำหรับนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2563 และมีแนวโน้มสำหรับบางรายวิชาหรือบางส่วนของรายวิชา ต้องสอนแบบออนไลน์เช่นกัน เพื่อให้สามารถดำเนินกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นต่อไปได้ ทุกหลักสูตรของคณะเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ต้องประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะและเจตคติ มีการบูรณาการที่เกี่ยวข้องในศาสตร์นั้น ๆ และต้องฝึกทักษะทางวิชาชีพผ่านกระบวนการปฏิบัติจริง โดยการสอนออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบสื่อวีดิทัศน์ (YouTube) เกมคอมพิวเตอร์ (Games) สื่อสังคม (Social Media) สื่อทางเสียง (Audiobooks and Podcasts) ซึ่งยังไม่ตอบสนองผู้เรียนที่ต้องปฏิบัติงานจริง จะเป็นปัญหาอย่างมากสำหรับผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในส่วนของทักษะปฎิบัติ ซึ่งเป็นทักษะทางกล้ามเนื้อต้องอาศัยการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญเกิดเป็นสมรรถนะ และเครื่องมือและอุปกณ์บางอย่างมีอันตรายเป็นอย่างมาก จำเป็นมีผู้ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น เลื่อยไฟฟ้า เครื่องกลึง เครื่องตัด ตู้เชื่อม ระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส ฯลฯ ที่ไม่สามารถให้นักศึกษาฝึกฝนเองที่บ้านได้ตามลำพัง และผู้สอนก็ไม่สามารถจัดหาเครื่องมือ ในการปฏิบัติงานที่บ้านให้ผู้เรียนได้ครบทุกคน เนื่องจากมีงบประมาณในการจัดซื้อจำกัด และจากการสังเกตการสอนทักษะอาชีพออนไลน์เท่าที่มีอยู่ในขณะนี้ ส่วนมากเป็นสื่อวิดีโอเพียงอย่างเดียว ซึ่งทำให้สามารถเข้าใจเนื้อหาและขั้นตอนการปฏิบัติงาน แต่ไม่สามารถเกิดทักษะอาชีพได้ เพราะไม่ได้ลงมือปฏิบัติงานจริง ใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกณ์จริงในการฝึกปฏิบัติ สำหรับเนื้อหาการฝึกทักษะพื้นฐานด้านการใช้งานเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นั้น มีความจำเป็นต่อวิศวกรรมศึกษา เช่น ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ เมคคาทรอนิกส์ ยานยนต์ไฟฟ้า งานระบบควบคุมอัตโนมัติ ฯลฯ ซึ่งจำเป็นที่ผู้เรียนช่างอุตสาหกรรมทุกคนต้องมี และเนื่องจากปีการศึกษา 2563 คณะฯ ได้ยกเลิกการเรียนปรับพื้นฐานก่อนเข้ารับการศึกษาทำให้นักศึกษาที่เข้าใหม่ไม่มีทักษะในการใช้เครื่องมือวัด และจากปัญหาต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น คณะผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสิ่งที่คาดหวังเฉลี่ยกับสิ่งที่เป็นจริงเฉลี่ยต่อการเรียนรู้ออนไลน์สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีครูช่างอุตสาหกรรม ออกแบบสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ โดยพิจารณาเลือกเนื้อหาการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาเทคนิคศึกษา ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ ในหัวข้อเรื่องการใช้งานเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบของแอปพลิเคชันบนมือถือ (Application) เกมคอมพิวเตอร์ (Computer based game) การจำลองการทำงาน (Simulate) การฝึกปฏิบัติโดยใช้เครื่องมือเสมือนจริง (Virtual Reality) ร่วมกับอุปกรณ์จริง เพื่อใช้ในการฝึกทักษะปฏิบัติงานจริง เพื่อให้เกิดทักษะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคาดว่าจะสามารถนำผลการวิจัยเรื่องนี้มาใช้แก้ปัญหาและปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยใช้เครือข่ายความร่วมมือของมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซีย ไทยและเวียดนาม ที่สามารถขยายผลในระยะต่อไป เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 เช่น Virtual Reality Cloud และ AI technology ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียนและเอเซียที่เป็นสมาชิกของ Regional Association of Vocational and Technical Education in Asia (RAVTE, www.ravte-rmutt.ac.th) ในการพัฒนาการจัดการศึกษาในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เพื่อให้การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยได้ดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์เฉพาะ1: เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 1.1 เพื่อเปรียบเทียบระหว่างสิ่งที่คาดหวังเฉลี่ยกับสิ่งที่เป็นจริงเฉลี่ยต่อการเรียนรู้ออนไลน์ สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวะและเทคนิคศึกษา ในประเทศอินโดนีเซีย ไทยและเวียดนาม ทั้งภาพรวมและรายคู่ 1.2 เพื่อเปรียบเทียบสิ่งที่คาดหวังเฉลี่ยต่อการเรียนรู้ออนไลน์ สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวะและเทคนิคศึกษาระหว่างประเทศอินโดนีเซีย ไทยและเวียดนาม ทั้งภาพรวมและรายคู่ 1.3 เพื่อเปรียบเทียบสิ่งที่เป็นจริงเฉลี่ยต่อการเรียนรู้ออนไลน์ สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวะและเทคนิคศึกษาระหว่างประเทศอินโดนีเซีย ไทยและเวียดนาม ทั้งภาพรวมและรายคู่ วัตถุประสงค์เฉพาะ 2: เพื่อสร้างและประเมินต้นแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ทางทฤษฎีและปฏิบัติ สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2.1 เพื่อออกแบบสร้างต้นแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ทางทฤษฎีและปฏิบัติ สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2.2 เพื่อประเมินคุณภาพต้นแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ทางทฤษฎีและปฏิบัติ สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์