ข้อมูลงานวิจัย นวัตกรรมผ้าทอยกดอกลำพูน เพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)รศ.ดร.ใจภักดิ์ บุรพเจตนา
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)รศ.ดร.Jaipak Burapajatana
    • ตำแหน่งทางวิชาการ-
    • ตำแหน่งปัจจุบันรองศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะศิลปกรรมศาสตร์
    • โทรศัพท์0837809XXX
    • E-Mail Addresjaipak.on@gmail.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญการสอน
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00159
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ นวัตกรรมผ้าทอยกดอกลำพูน เพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Innovation of Yok Dok woven textile for commercial value increasing to community products.
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมวิจัย
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2562
คำสำคัญ นวัตกรรมผ้าทอยกดอก ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ไลฟสไตล์
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล สืบเนื่องจากผู้วิจัยได้จัดทำโครงการมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอนุรักษ์งานพื้นบ้านและศิลปหัตถกรรม กลุ่มผ้าทอ จัดโดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบบุรี โดยเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยในกลุ่มผ้าทอทั่วประเทศ สำหรับในเขตภาคเหนือ ได้ใช้กลุ่มผ้าทอยกดอกของจังหวัดลำพูน เป็นที่ทดสอบสมรรถนะวิชาชีพ โดยความร่วมมือกับสถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย จังหวัดลำพูน (แหล่งรวมศิลปวัฒนธรรมล้านนาและเป็นศูนย์การเรียนรู้การผลิตผ้าทอมือให้กับชุมชนในเขตจังหวัดลำพูนและพื้นที่ใกล้เคียง) ผลจากการลงพื้นที่และสอบถามปัญหาในการผลิตผ้าทอยกดอก พบว่าชุมชนผู้ผลิตมีความต้องการให้พัฒนาด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบลวดลาย เทคนิคการผลิตด้วยนวัตกรรมใหม่ ที่จะช่วยส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ยกดอกมีรูปแบบแปลกใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่มีหลากหลายในปัจจุบัน จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการที่จะร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผ้าทอยกดอกของจังหวัดลำพูน เพื่อสร้างความรู้และพัฒนาศักยภาพของชุมชนผ้าทอพื้นถิ่นได้อย่างยั่งยืนต่อไป ผ้าทอยกดอกลำพูน การทอผ้าในจังหวัดลำพูนมีชื่อเสียงมากในการทอผ้ายก (ดอก) ทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้าย โดยเฉพาะในเขตอำเภอเมือง คือ ตำบลเวียงยอง ตำบลบ้านกลาง และตำบลในเมือง รูปแบบการทอในอดีต จะเป็นการทอผ้าฝ้ายยกดอก แต่ต่อมาเริ่มมีการทอโดยใช้เส้นไหมในการทอ เรียกว่า “ ผ้าไหมยกดอกลำพูน” ยกดอก คือเทคนิคการทอผ้าชนิดหนึ่ง ลวดลายเกิดจากวิธีการยกเขาในเครื่องทอที่เป็นตัวกำหนดเส้นด้ายยืนขึ้นลง ทำให้เกิดลายยกดอกเหมือนกันตลอดผืน ทอเป็นลายขัด ลายก้างปลา ลายดอกพิกุลเล็ก ดอกพิกุลใหญ่ ลายต้นสน หรือในหนึ่งผืนทอผสมกันหลายลาย มีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งที่เป็นดิ้นเงินดิ้นทองเพื่อเพิ่มความสวยงาม ผ้าทอยกดอกของจังหวัดลำพูน ผลิตเป็นผ้าผืน เช่น ผ้าซิ่น ผ้าคลุมไหล่ และผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เป็นต้น งานศิลปหัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้านของจังหวัดลำพูนมีความงดงามประณีตด้วยฝีมือ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน งานศิลปะที่ชาวลำพูนมีความภูมิใจมากที่สุดก็คือ “การทอผ้าไหมยกดอก” ซึ่งเป็นผ้าไหมชนิดพิเศษ เป็นเงามันและมีประกายสวยงาม ประวัติของการทอผ้ายกดอกในจังหวัดลำพูนนั้น ไม่มีหลักฐานปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรแน่ชัด แต่จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุ กล่าวไว้ว่า การทอผ้ายกดอกมีจุดเริ่มต้นอยู่ใน “คุ้มเจ้า” ซึ่งแต่เดิมมาก็มีการทอผ้าฝ้ายยกดอกกันอยู่ก่อน แต่เป็นการทอลวดลายธรรมดาไม่สวยงามวิจิตรมากนัก จนกระทั่งพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการทอผ้าไหมยกดอก ที่มีลวดลายสวยงามแปลกตาและวิจิตรบรรจง การทอผ้าไหมยกดอกจึงได้เริ่มแพร่หลายออกไปสู่สาธารณชนทั่วไป โดยได้มีการฝึกหัดชาวบ้าน จนมีความรู้เรื่องการทำผ้าไหมยกดอกได้เป็นอย่างดี ทำให้เมืองลำพูนกลายเป็นศูนย์กลางการทอผ้าไหมยกดอกแหล่งสำคัญของประเทศไทย แม้ว่าปัจจุบันความนิยมในการสวมใส่ผ้าไหมทอยกดอกจะลดน้อยลงเนื่องจากมีราคาค่อนข้างสูง แต่ก็ใช่ว่างานฝีมือในการทอผ้าไหมยกดอกของคนลำพูนจะสูญสิ้นไป ปัจจุบันยังคงมีการอนุรักษ์และสืบทอดงานฝีมือทอผ้าไหมยกดอกให้แก่ลูกหลานอยู่อย่างสม่ำเสมอและยังมีการพัฒนาลวดลายของผ้าไหมทอยกดอกให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับตลาดผ้าทอที่ปัจจุบันกำลังเริ่มได้รับความนิยมตามกระแสแห่งการอนุรักษ์งานฝีมือจากธรรมชาติ (https://www.chiangmainews.co.th) แนวคิดวัฒนธรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรมสร้างสรรค์ คือ การผลิตสินค้าหรือบริการที่นำมรดกทางวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาจากศิลปวัฒนธรรมแขนงต่างๆมาใช้เป็นทุนทางความคิดและนำไปสู่การสร้างสรรค์งานประเภทต่างๆทุนทางวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับคุณค่า ความรู้ ภูมิปัญญาและการสร้างสรรค์ โดยทรอสบี้ (อ้างในศิวรี อรัญนารถ, 2558 ) ได้ให้นิยามความหมายของทุนวัฒนธรรมว่าเป็นสินทรัพย์ที่สะสมและให้คุณค่าทางวัฒนธรรมแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1) ทุนวัฒนธรรมที่สัมผัสได้ เช่นโบราณสถาน โบราณวัตถุ วัด หรือผลงานทางศิลปะต่างๆ ฯลฯ 2) ทุนวัฒนธรรมที่สัมผัสไม่ได้ ซึ่งเป็นทุนที่อยู่ในรูปของสินทรัพย์ทางปัญญา เช่นความคิด ความเชื่อ ค่านิยมและขนบธรรมเนียม ประเพณีต่างๆเป็นต้น (ศิวรี อรัญนารถ, 2558: 46) การนำทุนวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์เป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆจึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยจากผลการวิจัยเรื่องอัตลักษณ์ไทย ทุนความคิดทุนสร้างสรรค์ของสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (อ้างใน ศิวรี อรัญนารถ, 2558 ) ได้แบ่งวัฒนธรรมจากข้อมูลทุติยภูมิในมิติด้านศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็น 5 ส่วนหลักดังนี้ 1) ทุนศิลปวัฒนธรรม หมายถึงทุนวัฒนธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น แบ่งได้ 7 หมวดหมู่คือ หมวดสถาปัตยกรรม หมวดจิตรกรรม หมวดประติมากรรม หมวดภาษาและวรรณกรรม หมวดนาฏศิลป์ หมวดดนตรี และหมวดศิลปกรรม 2) ทุนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หมายถึงทุนวัฒนธรรมทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ ได้แก่หมวดสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และหมวดสิ่งแวดล้อมทางสังคมประวัติศาสตร์ 3) ทุนภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึงทุนวัฒนธรรมที่เป็นองค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย ได้แก่ หมวดอุตสาหกรรมและหัตถกรรม หมวดแพทย์แผนไทย หมวดวัฒนธรรม 4) ทุนวิถีชุมชุนและสังคม หมายถึงทุนวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมได้แก่ หมวดการดำเนินชีวิต วิถีชีวิต หมวดศาสนาและประเพณี หมวดความเชื่อท้องถิ่นและหมวดค่านิยมร่วม 5) หมวดอื่นๆเช่น ทุนวัฒนธรรมด้านอาหาร ขอบข่ายของวัฒนธรรมสร้างสรรค์ยังเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรม ที่หมายถึง อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตเชิงศิลป์และสร้างสรรค์ของสินค้า / ผลิตภัณฑ์ โดยผลงานสร้างสรรค์ต้องมีศักยภาพในการสร้างความมั่งคั่งและสร้างรายได้ ผ่านการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมและการผลิตโดยใช้ฐานความรู้ของสินค้าหรือบริการทั้งจากแบบดั้งเดิมและแบบร่วมสมัย (สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย,2552) สินค้าผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Product) ปัจจุบันการผลิตสินค้าประเภทต่างๆ มีการใช้แนวทางการผลิตให้ตรงกับกลุ่มผู้บริโภค โดยการแบ่งส่วนผู้บริโภคจากรูปแบบการดำเนินชีวิต ((Lifestyle Positioning) ที่สามารถวิเคราะห์ตัวตนและความต้องการรูปแบบสินค้าตามลักษณะรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ รูปแบบของการดำเนินชีวิต นอกจากการแบ่งกลุ่มตามหลักประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ การศึกษา ระดับชนชั้นทางสังคม ฯลฯ แล้ว ยังสามารถวิเคราะห์ตามหลักจิตวิทยาโดยดูได้จาก รสนิยม ทัศนคติ บุคลิกภาพ กิจกรรม วัฒนธรรม และกลุ่มคนที่อยู่ใน Generation ต่างๆ ฯลฯ การประเมินรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่มต่างๆมีประโยชน์ในการใช้เป็นแนวทางในการออกแบบสินค้า หรือรูปแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงกับความต้องการและความนิยมของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์หรือสินค้าไลฟ์สไตล์จึงมีความเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคและการผลิตสินค้า “ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์” หมายถึง กลุ่มสินค้าที่ตอบสนองกับความต้องการและรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคที่มีภาพลักษณ์ หรือบุคลิกภาพตราสินค้ารูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ประเภทของกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์จำแนกได้ตามวิถีชีวิตของผู้บริโภคในด้านที่อยู่อาศัย การคมนาคม การติดต่อสื่อสาร และรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค ประเภทของสินค้าไลฟ์สไตล์ 1. สินค้าแฟชั่น (Fashion Product) คือกลุ่มสินค้าแฟชั่น ประเภทเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย สินค้าแฟชั่นเครื่องประดับ หรือสินค้าที่ใช้ประดับตกแต่งเป็นเครื่องประกอบการแต่งกาย เช่น หมวก กระเป๋า รองเท้า ฯลฯ สินค้าเครื่องประดับหรือจิวเวลรี่ และสินค้าเกี่ยวกับความงาม เช่นเครื่องสำอาง น้ำหอม เป็นต้น 2. สินค้าไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Product) กรมส่งเสริมการส่งออก ได้แบ่งกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ออกเป็น 7 ประเภท คือ เฟอร์นิเจอร์ ของขวัญและของชำร่วย ของตกแต่งบ้าน เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัว งานด้านเคหะ สิ่งทอ ของเล่น และเครื่องเขียนเครื่องใช้สำนักงาน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัยนี้ คือ งานประเภทของขวัญและของชำร่วย ของตกแต่งบ้าน และงานเคหะสิ่งทอ จากปัญหาความต้องการของชุมชนผู้ผลิต ที่ต้องการให้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ และเทคนิคการผลิตด้วยนวัตกรรม ร่วมกับแนวคิดวัฒนธรรมสร้างสรรค์ งานวิจัยนี้จึงเป็นแนวทางในการเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีโอกาสทางการตลาดมากขึ้น โดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับแนวคิด ด้านนวัตกรรมเส้นใย เทคนิคการผลิตผ้าทอมือ มาพัฒนารูปแบบ ลวดลายและการผลิตใหม่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ และส่งเสริมอาชีพของชุมชนจากภูมิปัญญาพื้นถิ่น สู่งานออกแบบผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ที่นิยมในปัจจุบันได้ต่อไป
วัตถุประสงค์ 1. ทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ประเภทผ้าทอพื้นถิ่น 2. ทดสอบนวัตกรรมการผลิตผ้าทอมือเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอยกดอกลำพูน 3. จัดทำต้นแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ผ้าทอยกดอกลำพูนและประเมินผลการทดลองใช้งาน 4. ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีนวัตกรรมผ้าทอยกดอกลำพูนให้กับชุมชนผ้าทอยกดอกจังหวัดลำพูน