-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.มานพ แย้มแฟง
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Manop Yamfang
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะวิศวกรรมศาสตร์
- โทรศัพท์0866634XXX
- E-Mail Addresmanop_yf@hotmail.com, manop.y@en.rmutt.ac.th
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญงานสอน
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600095จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การออกแบบและสร้างเครื่องแยกเส้นใยธรรมชาติแบบกึ่งอัตโนมัติ |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Design and construction of a semi-automatic natural fiber separating machine |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.มานพ แย้มแฟง |
ผู้ร่วมวิจัย | |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | ผักตบชวา เส้นใยธรรมชาติ เส้นใยผักตบชวา |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | ปัญหาที่พบในการนำเส้นใยจากผักตบชวามาแปรรูปเป็นเส้นใย คือ ต้นทุนในการผลิตเส้นใยผักตบชวามีราคาสูง เส้นใยผักตบชวาเป็นเส้นใยที่มีขนาดใหญ่ทำให้เกิดปัญหาต่ออัตราส่วนผสมในการปั่นเส้นด้าย และผิวสัมผัส จึงได้จัดทำโครงการ “เรื่องการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าสู่เชิงพาณิชย์ : กรณีศึกษาห่วงโซ่การผลิตเส้นใยผักตบชวาผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมคลองรังสิตปทุมธานี” เพื่อแก้ไขปัญหา ด้านราคาของเส้นใยผักตบชวาที่มีราคาสูง ไม่สามารถแข่งกับตลาดเส้นใยธรรมชาติชนิดอื่น ใช้การลดต้นทุนในกระบวนการต่างๆ ในการผลิตเส้นใยผักตบชวา ให้มีต้นทุนเทียบเท่ากับเส้นใยฝ้าย โดยทำการศึกษาออกแบบและสร้างเครื่องแยกเส้นใยธรรมชาติแบบกึ่งอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพในการผลิตเส้นใยให้ได้มาตรฐานตามที่ผู้ประกอบการต้องการจะสามารถลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ส่วนการแก้ปัญหาในด้านความละเอียดของเส้นใยผักตบชวาที่มีขนาดใหญ่ทำให้เกิดปัญหาต่ออัตราส่วนผสมในการปั่นเส้นด้าย ซึ่งการพัฒนาด้านความละเอียดของเส้นใยผักตบชวา พัฒนาผิวสัมผัสของเส้นใยผักตบชวา ให้มีขนาดเส้นใยผักตบชวาเล็กลง เพราะจะได้เส้นใยผักตบชวาที่ได้ปรับปรุงนำมาต่อยอดเป็นผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็ก และผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นสำเร็จรูปสู่เชิงพาณิชย์ ส่วนเส้นใยที่เหลือจากการปั่นเส้นด้ายสามารถนำมาผลิตเป็นแผ่นจักสานเพื่องานตกแต่งภายใน วัสดุผนังวอลเปเปอร์ ผลิตภัณฑ์โซฟาปรับนอน หรือถ้าได้เส้นใยผักตบชวาที่มีคุณภาพตามที่ผู้ประกอบการต้องการกลุ่มเกษตรกรอาจจะผันตัวเองเป็นผู้ผลิตเส้นใยผักตบชวาเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ที่นำไปแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเส้นใยผักตบชวา เป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้ขึ้นจากเดิม |
วัตถุประสงค์ | 1 เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องแยกเส้นใยธรรมชาติแบบกึ่งอัตโนมัติ 2 เพื่อทดสอบสมรรถนะของเครื่องแยกเส้นใยธรรมชาติแบบกึ่งอัตโนมัติ 3 เพื่อศึกษาคุณภาพของเส้นใยผักตบชวาที่ได้จากเครื่องแยกเส้นใยธรรมชาติแบบกึ่งอัตโนมัติ |