ข้อมูลงานวิจัย แนวทางการออกแบบและพัฒนาพื้นที่คลองและพื้นที่ว่าง เพื่อส่งเสริมสุขภาวะชุมชนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)อ.ณัฏฐกฤษฏ์ ศุภกรพินธคุปต์
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)อ.Nattakit Supagornpintakup
    • ตำแหน่งทางวิชาการ-
    • ตำแหน่งปัจจุบันอาจารย์
    • คณะ/หน่วยงาน*กองกลาง (ผู้บริหาร)
    • โทรศัพท์0818746XXX
    • E-Mail AddresNattakrist_s@rmutt.ac.th, Nattakrist.hui@gmail.com, wonderhui@yahoo.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00033
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ แนวทางการออกแบบและพัฒนาพื้นที่คลองและพื้นที่ว่าง เพื่อส่งเสริมสุขภาวะชุมชนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ The Management and Design Guidelines of Canals and free space for Promoting well-being and Public space Community, Thanyaburi.
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมวิจัย 1. ผศ.กัญญาณัฐ เปลวเฟื่อง
2. ผศ.วรุณศิริ จักรบุตร
3. ผศ.ธิปัตย์ โสตถิวรรณ์
4. ผศ.สุรัติวดี ทั่งมั่งมี
5. ผศ.สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ การจัดการพื้นที่รกร้าง, ที่ว่างสาธารณะริมคลอง, ความปลอดภัย, ส่งเสริมสุขภาวะ, การสื่อสารอย่างมีส่วนร่วม
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล จังหวัดปทุมธานี สามารถแบ่งได้เป็นปทุมธานีฝั่งตะวันตกและปทุมธานีฝั่งตะวันออก โดยปทุมธานีฝั่งตะวันตก มีเส้นทางการคมนาคมหลักคือถนนพหลโยธิน และมีเขตปกครอง 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอสามโคก และอำเภอลาดหลุมแก้ว มีศูนย์ราชการหลายแห่ง เป็นศูนย์กลางระบบโลจิสติกซึ่งมีระบบการขนส่งทางบก โดยรถบัส รถบรรทุก รถไฟและในอนาคตมีแผนการสร้างระบบรถไฟฟ้า ระบบการขนส่งทางน้ำอาศัยแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีเรือด่วนเพื่อการคมนาคม จึงถือว่าปทุมธานีตะวันตกมีบทบาทเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและศูนย์กลางการบริหารของจังหวัดปทุมธานี ปทุมธานีฝั่งตะวันออกนั้นตั้งอยู่บริเวณ "ทุ่งหลวงรังสิต" ของมณฑลกรุงเทพ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองธัญบุรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะพัฒนาที่ดินในทุ่งหลวงรังสิต ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาราษฎรด้วยการสร้างคลองขึ้นในบริเวณทุ่งนี้ ท่านโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการขุดคลองเพื่อบุกเบิกพื้นที่ทำการเกษตรตั้งแต่ปี พ.ศ.2433 เป็นต้นมา และได้พระราชทานนามว่าคลองสายหลักว่า “คลองรังสิตประยูรศักดิ์” และได้ขุดคลองย่อย 16 คลองบริเวณตอนกลางของพื้นที่ และมีพระบรมราชโองการให้สถาปนา เมืองธัญญบูรี ขึ้น ประกอบด้วย 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอคลองหลวง อำเภอหนองเสือ และ อำเภอลำลูกกา โดยพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดที่ทำการเมืองด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2445 โดยคำว่า "ธัญญบูรี" หมายถึง “เมืองแห่งข้าว” อันเป็นอัตลักษณ์สำคัญของพื้นที่ที่กล่าวได้ว่าเป็น “เมืองแห่งคลองเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่เกษตร” เป็นศูนย์กลางการชลประทานและเกษตรกรรมที่ใช้พื้นที่กว่าร้อยละ 70 ของฝั่งตะวันออก ปัจจุบันเมืองธัญบุรีเป็นชุมชนชานเมืองหลวง มีความหลากหลายและซับซ้อนก่อตั้งมายาวนานเป็นย่านชุมชนเมืองที่ประกอบด้วยเทศบาล จำนวน 4 แห่ง 6 ตำบล เทศบาลนครรังสิต (ตำบลประชาธิปัตย์) เทศบาลเมืองบึงยี่โถ (ตำบลบึงยี่โถ) เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ (ตำบลบึงน้ำรักษ์ ตำบลบึงสนั่น) เทศบาลตำบลธัญบุรี (ตำบลรังสิต ตำบลลำผักกูด) มีการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่ทับซ้อนกันมามากมาย หากแต่ในอนาคตเป็นเมืองที่มีแนวโน้มในการพัฒนาเป็นเมืองที่มีความเจริญและหนาแน่น จากปัจจัยการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะขนาดใหญ่โดยรอบ (ทางยกระดับกาญจนาภิเษกและบางปะอิน รถไฟฟ้าสายสีเขียว) การเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ (พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ฯลฯ) และการย้ายเข้ามาของสวนสัตว์ดุสิต อีกทั้งการเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่หลายแห่งในพื้นที่โดยรอบ ปัจจัยเหล่านี้แสดงให้เห็นได้ว่าอนาคตของชุมชนเคหะรังสิตคลองหก และพื้นที่เมืองธัญบุรีในอนาคต จะมีการพัฒนาเป็นเมืองที่มีความเจริญมากยิ่งขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่ได้เริ่มส่งผลบริเวณที่เดิมเคยทำกสิกรรมถูกเปลี่ยนแปลงเป็นนิคมอุตสาหกรรม โรงงาน และบริเวณที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ยังกำเนิดสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ทำให้กลุ่มประชากรในบริเวณประกอบด้วยคนทุกช่วงวัยทั้งนักศึกษา บุคลากรโรงงาน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และผู้สูงวัย ชุมชนที่ขยายตัวกำเนิดเป็นหมู่บ้านหลายแห่ง และเป็นชุมทางการสัญจรระหว่างจังหวัดภาคกลางฝั่งตะวันออกเช่นนครนายก ปราจีนบุรี เส้นทางคมนาคมสายหลักหลายเส้นในเวลาต่อมา ได้แก่ ถนนรังสิต-นครนายก ถนนพหลโยธิน ถนนรังสิต-ปทุมธานี ตัวเมืองที่ขยายอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดปัญหา จากทั้งมลพิษทางสิ่งแวดล้อมทั้งทางน้ำและในอากาศปริมาณมากขึ้น คุณภาพชีวิต และสุขภาวะของผู้คนที่อ่อนแอลง อีกทั้งปัญหาจากการคมนาคมที่หนาแน่นขึ้น และการขาดการเชื่อมโยงระบบคมนาคมสายหลักกับสายย่อยที่ต่อไปยังชุมชนที่สะดวก จากเบื้องต้น คณะผู้วิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เล็งเห็นศักยภาพของจังหวัดปทุมธานีฝั่งตะวันออกซึ่งมีพื้นที่กว้างขวาง ในการสนับสนุนมหานครกรุงเทพที่มีพื้นที่แออัดไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น โดยการเป็นเมืองท่องเที่ยวพักผ่อนและสนับสนุนกิจกรรมการบริโภค โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ดังนั้นจังหวัดปทุมธานีจึงมีความสำคัญต่อประเทศและกรุงเทพมหานครในฐานะเมืองปริมณฑล โดย มทร.ธัญบุรี มีวิสัยทัศน์และความพร้อมในการวางแผนพัฒนาเมืองปทุมฐานีตะวันออกร่วมกับภาครัฐและชุมชนอย่างมีทิศทางและยั่งยืน ซึ่งในโครงการนี้แผนการดำเนินงานจะริเริ่มด้วยการสร้างธัญบุรี ชุมชนน่าอยู่ โดยการหาแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมและออกแบบเมืองอย่างมีอัตลักษณ์ เพื่อนำไปสู่เป้าปทุมธานีเมืองอัจฉริยะในอนาคต คณะนักวิจัยต้องการใช้โอกาสและอัตลักษณ์ของพื้นที่ที่มีเครือข่ายคลองเป็นตัวเชื่อมทั้งชุมชน พื้นที่เกษตรกรรม และระบบเมือง ให้เป็นจุดเด่นของการท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ecotourism) เพื่อพัฒนาไปสู่ปทุมธานีเมืองอัจฉริยะ ด้านการสร้างเครือข่ายคลองรังสิตและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Smart canal for recreation and ecotourism) โดยการออกแบบและพัฒนาพื้นที่คลองและพื้นที่ว่างเพื่อส่งเสริมสุขภาวะชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น แผนการดำเนินงานเริ่มจากการศึกษาศักยภาพพื้นที่กิจกรรมและพื้นที่ว่างสาธารณะริมคลอง เพื่อพัฒนาสู่การออกแบบและพัฒนาพื้นที่คลองและพื้นที่ว่าง วางระบบโครงข่ายคูคลอง พลิกฟื้นการใช้ประโยชน์และบทบาทลำคลองให้คงวิถีดั้งเดิมที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของพื้นที่ บริหารจัดการสัดส่วนพื้นที่ริมคลองให้สังคมเกษตรกรรมและสังคมเมืองอยู่ร่วมกันได้โดยรักษาพื้นที่เกษตรกรรมที่ยังไม่ถูกรุกล้ำ จัดการสภาพแวดล้อมส่วนที่เปลี่ยนแปลงให้เอื้อประโยชน์ต่อชุมชน และผสานรอยต่อให้เป็นตัวอย่างวิถีเก่าและใหม่เพื่อให้ปทุมธานีตะวันออกเป็นเมืองมีเสน่ห์น่ารื่นรมย์ การออกแบบพื้นที่จะควบคู่กับการศึกษาเพื่อหาแนวทางการใช้พืชบำบัดมลภาวะในอากาศ การใช้ชีวเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง และศึกษาแนวทางออกแบบจุดเชื่อมต่อระบบคมนาคมเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของคนทุกกลุ่ม เพื่อตอบวิสัยทัศน์ปทุมธานีเมืองอัจฉริยะ ด้านชุมชนน่าอยู่ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Smart livable community) จากนั้นจึงทำการศึกษาถึงแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดเป็นแนวทางการพัฒนาพื้นที่ว่างสาธารณะสำหรับประกอบกิจกรรมเชื่อมโยงคนในชุมชน ช่วยลดมลภาวะ ส่งเสริมสุขภาวะ รวมไปถึงคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่เมือง และสร้างคุณประโยชน์ด้านสภาพแวดล้อม สุขภาวะทางร่างกายและจิตใจ อันจะนำไปสู่การดูแลจัดการพื้นที่ต่อเนื่องและยั่งยืนที่สามารถเป็นแบบอย่างการบูรณาการทางด้านลักษณะทางกายภาพ ก่อให้เกิดการรับรู้ของคนในชุมชนเมืองมีอัตลักษณ์ ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี และก่อให้เกิดเป็นเมืองน่าอยู่ ที่ขยายผลยังชุมชนเมืองอื่นๆ ได้ต่อไป
วัตถุประสงค์ 1 เพื่อศึกษาศักยภาพพื้นที่คลองและพื้นที่ว่าง 2 เพื่อศึกษาแนวทางออกแบบและพัฒนาพื้นที่คลองและพื้นที่ว่างเพื่อส่งเสริมสุขภาวะชุมชน 3 เพื่อศึกษาแนวทางการใช้พืชบำบัดมลภาวะในอากาศ และการใช้ชีวเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ในเขตเมือง 4 เพื่อศึกษาแนวทางออกแบบจุดเชื่อมต่อระบบคมนาคมเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ ที่เหมาะสมกับ การใช้ งานของคนทุกกลุ่ม 5 เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่คลองและพื้นที่ว่าง