ข้อมูลงานวิจัย การใช้กรดออกซาลิกและเมทิลจัสโมแนสหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดอาการสะท้านหนาวในโหระพา

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.ปาลิดา ตั้งอนุรัตน์
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Palida Tanganurat
    • ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะเทคโนโลยีการเกษตร
    • โทรศัพท์0909873XXX
    • E-Mail Addresviewbiot@gmail.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญแบคทีเรียกรดแลคติก อาหารหมักดอง พันธุศาสตร์ของเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติค
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00098
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การใช้กรดออกซาลิกและเมทิลจัสโมแนสหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดอาการสะท้านหนาวในโหระพา
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Use of oxalic acid and methyl jasmonate after harvesting for chilling Injury reduction of sweet basil
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมวิจัย 1. ผศ.นันท์ชนก นันทะไชย
2. ผศ.ปาลิดา ตั้งอนุรัตน์
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ กรดออกซาลิก เมทิลจัสโมแนส โหระพา
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล ในจังหวัดปทุมธานีนั้นมีตลาดผักและผลไม้ขนาดใหญ่ ทั้งตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไอยรา และตลาดรังสิต เป็นต้น ซึ่งตลาดเหล่านี้เป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ทั้งยังมีโรงคัดแยกและบรรจุผักและผลไม้ รวมทั้งโรงงานตัดแต่งผักและผลไม้อีกด้วย นอกจากภาคธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารผักและผลไม้แล้ว ยังมีกลุ่มวิสาหกิจประกอบการด้านผลิตภัณฑ์อาหารผักและผลไม้ที่อยู่ในพื้นที่ มีรายงานว่าหนึ่งในปัญหาที่สำคัญของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์อาหารผักและผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นในโรงงานคัดและบรรจุผักและผลไม้ หรือ โรงงานตัดแต่งผักและผลไม้ คือ การเหลือทิ้ง/ใช้ของผักและผลไม้ที่เกิดขึ้นจากการคัดเลือกและตัดแต่ง โดยมีปริมาณไม่ต่ำว่า 20-200 กิโลกรัมต่อวัน ใบโหระพาเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่ได้รับความนิยมและมีประโยชน์ ใบสดใช้เป็นเครื่องปรุงหรือเครื่องเทศในซอสสตูว์สลัดผักดองน้ำส้มสายชูและน้ำมันหอม โหระพาสดหรือแห้งใช้ในการปรุงแต่งรสชาติอาหารอิตาเลี่ยนเมดิเตอร์เรเนียนเวียดนามและไทย ในอาหารไทยใบอ่อนและยอดอ่อนจะถูกกินเป็นผักสดเสิร์ฟพร้อมกับอาหารรสเผ็ดเช่น ลาบ (สลัดเนื้อกับมิ้นต์), ก๋วยเตี๋ยวเนื้อหรือแกงเผ็ด นอกจากนี้ใบโหระพายังเป็นแหล่งสำคัญของคลอโรฟิลล์ สารต้านอนุมูลอิสระ คุณค่าทางโภชนาการของใบโหระพานี้ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค ปริมาณโหระพาที่ส่งออกจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศมีมูลค่าประมาณ 4.7 ล้านบาท ประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญคือ สหราชอาณาจักรฝรั่งเศส ไต้หวัน เยอรมนี เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ดังนั้นศักยภาพในการส่งออกของโหระพาจึงมีแนวโน้มที่ดี อย่างไรก็ตามความสำเร็จในการเพิ่มการค้าต่างประเทศของใบโหระพาขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ผลิตในการรักษาและควบคุมคุณภาพของการผลิต ปัญหาหลักของโหระพามีอายุการเก็บรักษาสั้น ใบมีสีน้ำตาล เกิดอาการสะท้านหนาวเมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ สภาพการเก็บและระยะเวลาการขนส่งที่ไม่เหมาะสมซึ่งส่งผลให้อายุการเก็บรักษา วิธีการลดอาการสะท้านหนาว และการเกิดสีน้ำตาลรวมทั้งการยืดอายุการเก็บรักษามีรายงานว่าการใช้กรดออซาลิก และสารเมทิลจัสโมแนสเพื่อช่วยยืดอายุในหน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี่ แครอท ผักกาดหอมห่อ ผักชีฝรั่ง ถั่ว มันฝรั่ง และมะเขือเทศ โดยกรดออกซาลิก (oxalic acid) เป็นสารธรรมชาติที่อยู่ในพืช กรดดังกล่าวสามารถไปจับกับโลหะทองแดงของเอนไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดส ทำให้เอนไซม์ไม่สามารถที่จะทำงานได้ มีรายงานว่ากรดออกซาลิกแสดงการยับยั้งแบบแข่งขันต่อเอนไซม์ โพลีฟีนอลออกซิเดสที่สกัดได้จากเห็ด อาร์ติโชค ขึ้นฉ่าย ผลลิ้นจี่ ผลท้อ และผลลองกองได้ ส่วน เมทิลจัสโมแนสเป็นสารที่กระตุ้นให้พืชเกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในการป้องกันตัวเอง ควบคุมการเกิดอาการสะท้านหนาวในผลสับปะรด และผลพีช มีการใช้สารนี้ในการรักษาคุณภาพผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวและถูกยอมรับว่าเป็นสารเคมีที่มีความปลอดภัย ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กรดออกซาลิกและเมทิลจัสโมแนสหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดอาการสะท้านหนาวในใบโหระพา
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลของกรดออกซาลิกและเมทิลจัสโมแนสต่อคุณภาพของใบโหระพา 2. เพื่อศึกษาผลของการใช้กรดออกซาลิกและเมทิลจัสโมแนสร่วมกับสภาพบรรยากาศดัดแปลงต่อคุณภาพของใบโหระพา 3. เพื่อศึกษาสภาวะการเก็บรักษาต่อคุณภาพของใบโหระพา