ข้อมูลงานวิจัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากชิ้นผักตัดแต่งตกเกรดจากโรงงานตัดแต่งผักและผลไม้

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)รศ.ดร.อินทิรา ลิจันทร์พร
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)รศ.ดร.Intira Lichanporn
    • ตำแหน่งทางวิชาการ-
    • ตำแหน่งปัจจุบันรองศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะเทคโนโลยีการเกษตร
    • โทรศัพท์0909605XXX
    • E-Mail Addresintira_l@rmutt.ac.th
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญเกษตร
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00117
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากชิ้นผักตัดแต่งตกเกรดจากโรงงานตัดแต่งผักและผลไม้
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Product development of snack from vegetable residues from fresh cut manufactory
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ ผศ.นันท์ชนก นันทะไชย
ผู้ร่วมวิจัย 1. ผศ.ปาลิดา ตั้งอนุรัตน์
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ ขนมขบเคี้ยว เส้นใย การยับยั้งอนุมูลอิสระ
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล ขนมขบเคี้ยว (snack food) หรืออาจเรียกว่า อาหารว่างเป็นอาหารที่มักรับประทาน ระหว่าง มื้อในยามพักผ่อนหรือยามว่าง หรือจัดให้รับประทานในงานเลี้ยงสังสรรค์ มักทำจากมันฝรั่ง ข้าว ข้าวโพด ถั่ว เนื้อ หรือปลา นำมาปรุงรสแล้วผ่านกรรมวิธีต่างๆ เช่น อบ หรือทอด แล้วนำมาฉีกหรือรีดเป็นเส้นหรือแผ่นบาง ขนมขบเคี้ยวเป็นรูปแบบของอาหารที่ไม่ได้เป็นมื้อหลักของวัน แต่เป็นอาหารที่มีไว้เพื่อระงับความหิวระหว่างมื้อ และให้พลังงานแก่ร่างกายได้เล็กน้อย ปัจจุบันคนไทยให้ความสนใจด้านสุขภาพมากขึ้น จึงต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวให้มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มมากขึ้น จังหวัดปทุมธานี เป็นเขตพื้นที่ที่มีการจัดตั้งธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารผักและผลไม้มากที่สุดในเขตภูมิภาค คือ 243 ราย (ข้อมูลปี 2561) และยังเป็นสถานที่ตั้งของตลาดผักและผลไม้ทั้งค้าส่งและค้าปลีกที่สำคัญของประเทศนอกจากนี้ยังมีโรงคัดแยกและบรรจุผักและผลไม้ รวมทั้งโรงงานตัดแต่งผักและผลไม้อีกด้วย บริษัท มามา เทรดดิ้ง จำกัด (MAMA TRADING CO.,LTD) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภท ผัก-ผลไม้ ตัดแต่งตามสเปค ทั้งแช่เย็นและแช่แข็ง มีประสบการณ์ในสายการผลิตอาหารเพื่อผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตามผักและผลไม้ตัดแต่งไม่ได้ตามมาตรฐานตามที่ลูกค้าต้องการก็มีอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน ทำให้เกิดเป็นเศษวัสดุเหลือทิ้งจำนวนมาก ซึ่งผักและผลไม้เหล่านี้เป็นของที่ยังมีคุณภาพดีสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและจัดจำหน่ายเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัทได้ ปัญหาที่สำคัญของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์อาหารผักและผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นในโรงงานคัดและบรรจุผักและผลไม้ หรือ โรงงานตัดแต่งผักและผลไม้ คือ การเหลือทิ้ง/ใช้ของผักและผลไม้ที่เกิดขึ้นจากการคัดเลือกและตัดแต่ง โดยมีปริมาณไม่ต่ำว่า 20-200 กิโลกรัมต่อวัน การนำผักและผลไม้เหลือทิ้ง/ใช้มาเพิ่มมูลค่าโดยการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีรายได้และกำไรที่เพิ่มสูงขึ้น ลดการเหลือทิ้งของผักและผลไม้ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนในการกำจัดของเสียของสถานประกอบการอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้อาจเกิดการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในเขตพื้นที่ชุมชนอีกด้วย ดังนั้นการนำผักตัดแต่งตกเกรดมาแปรรูปเป็นขนมขบเคี้ยว จึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตผลทางการเกษตร นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวใหม่ที่มีรสชาติอร่อย สีสันน่ารับประทาน และมีคุณค่าทางโภชนาการอาหารเพิ่มขึ้นอีกด้วย
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสูตรที่เหมาะสมสำหรับผลิตขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ 2. เพื่อศึกษาอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากผักรวม 3. เพื่อพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์