ข้อมูลงานวิจัย นวัตกรรมชุดต้นแบบเซลล์เคมีไฟฟ้าสำหรับกำจัดสารฆ่าแมลงปนเปื้อนในผัก

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)รศ.ดร.ฉัตรชัย พลเชี่ยว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)รศ.ดร.Chatchai Ponchio
    • ตำแหน่งทางวิชาการ-
    • ตำแหน่งปัจจุบันรองศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • โทรศัพท์0873629XXX
    • E-Mail Addresc_ponchio@hotmail.com, chatchai@rmutt.ac.th
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญเทคนิคโฟโตอิเล็กโตรคะตะไลซีส เทคโนโลยีฟิล์มบาง เคมีไฟฟ้า สเปกโตรโฟโตเมตรี
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00056
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ นวัตกรรมชุดต้นแบบเซลล์เคมีไฟฟ้าสำหรับกำจัดสารฆ่าแมลงปนเปื้อนในผัก
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Innovative electrochemical cell prototype for removing insecticide contamination in vegetables
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมวิจัย
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2562
คำสำคัญ เซลล์เคมีไฟฟ้า ขั้วไฟฟ้าสารกึ่งตัวนำ อาหารปลอดภัย
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล ทุกวันนี้ผักผลไม้ที่คนไทยบริโภคเข้าไปล้วนเต็มไปด้วยอันตรายจากสารพิษตกค้างซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของผู้ได้รับพิษภัยจากสารเคมีเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกายมีทั้งที่แสดงอาการแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ถึงแม้แต่ผักผลไม้ที่ระบุไว้ข้างถุงว่า ปลอดสารเคมี ก็ยังพบว่ามีสารเคมีอันตรายทั้ง ไซเปอร์เมทริน (Cypermetrin) สารพวกไพรีทรอยด์ (Pyrethroids), เอ็นโดซัลแฟน (Endosulfan) เมทามิโดฟอส (Methamidophos) และ ไดโครโตฟอส (Dicrotophos) เป็นต้น จากรายงานการออกสุ่มเก็บตัวอย่างผักผลไม้ตามตลาดค้าส่ง ห้างโมเดิร์นเทรด และซุปเปอร์มาร์เกตหลายแห่งของ เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ Thai-PAN พบว่า ผักผลไม้ส่วนใหญ่ มีสารพิษตกค้างเกินกว่าค่ามาตรฐานถึง 56% หรือเกินกว่าครึ่งของตัวอย่างที่ทำการสุ่มตรวจ โดยผักและผลไม้ที่มีเปอร์เซ็นต์การพบสารพิษตกค้างมากที่สุด อันดับแรก คือ พริกแดง พบมากถึง 85% ผักคะน้า 75% ถั่วฝักยาว และ ใบกะเพรา พบอย่างละ 67% มะเขือเปราะ 30% โดยเฉพาะในมะเขือเปราะ พบว่ามีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ถึง 15 ชนิด โดย 12 ชนิดเป็นสารประเภทดูดซึม ที่พบตกค้างสูงกว่าค่ามาตรฐานความปลอดภัย คือค่าปริมาณสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limits; MRLs) ถึง 85% ของตัวอย่างที่นำมาสุ่มตรวจ ยังตรวจพบว่า มีสารพิษต้องห้ามอย่าง Carbofuran อีกด้วย แม้จะมีหลายหน่วยงานเข้ามาตรวจสอบควบคุมคุณภาพของผักและผลไม้ให้ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง แต่ก็ยังเป็นในลักษณะของ การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งไม่อาจจะแก้ไขปัญหาได้มากนัก มาตรการที่จะแก้ไขควรเป็นการแก้ที่ต้นเหตุ และควรเป็นการร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและองค์กรต่างๆ ซึ่งสำหรับผู้บริโภคอย่างเราแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือการล้างทำความสะอาดผักผลไม้เพื่อลดการตกค้างของสารฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนมาจากผู้ผลิตที่ขาดความรับผิดชอบดังกล่าว อย่างไรก็ตามวิธีการล้างทำความสะอาดในปัจจุบันยังขาดประสิทธิภาพ ทั้งการล้างหรือแช่น้ำนานๆ หรือการใช้การเคมีเช่น น้ำเกลือ ด่างทับทิม หรือน้ำส้มสายชู ก็ล้วนแล้วแต่เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายและมีขั้นตอนและใช้ระยะเวลาในการทำนานเกินไป ส่วนหนึ่งมากจากสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศรัตรูพืชจะเป็นชนิดดูดซึมซึ่งฝังแน่นเข้าไปในเนื้อของผักผลไม้ทำให้ยากต่อการกำจัด ถึงแม้จะมีทางออกกับผลไม้บางประเภทที่สามารถปอกเปลือกเพื่อนำเอาส่วนที่ดูดซึมออกไปก็ตาม แต่สำหรับผักแล้วโดยส่วนใหญ่แล้วไม่สะดวกที่จะทำการปอกเปลือกได้เช่น พริก คะน้า ถั่วฝักยาว ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มผักเป้าหมายที่มีภาวะเสี่ยงสูงกับการตกค้างของสารฆ่าแมลง ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงสนใจพัฒนาเทคนิคการกำจัดสารฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนอยู่บนกลุ่มผักเป้าหมายดังกล่าว โดยเน้นพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงสามารถกำจัดสารพิษประเภทสารฆ่าแมลงตกค้างที่ผิวของผักได้เป็นอย่างดีโดยไม่ต้องปอกเปลือก รวมถึงเป็นวิธีที่มีความสะดวก รวดเร็ว และ ราคาถูก เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างชุดต้นแบบในการผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป ดังนั้นเมื่อโครงการประสบความสำเร็จในการศึกษาและกำจัดสารฆ่าแมลงเป็นอย่างดีแล้วจะศึกษาต่อยอดโดยทำการพัฒนาร่วมกับบริษัทที่มีความร่วมมือดังกล่าวเป็นกลุ่มเป้าหมายแรก แล้วขยายไปในส่วนของผู้สนใจต่อไป
วัตถุประสงค์ - เพื่อพัฒนาการเตรียมฟิล์มบางขั้วไฟฟ้าสารกึ่งตัวนำสำหรับกำจัดสารฆ่าแมลง - เพื่อพัฒนาเซลล์ต้นแบบเคมีไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการกำจัดสารฆ่าแมลงในผัก