-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.สุรชาติ จันทรชิต
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Surachat Chautarachit
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
- โทรศัพท์0614636XXX
- E-Mail Addressurachat.chantarachit@gmail.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญMechanical Design, Control Design
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600060จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | ออกแบบและพัฒนาข้อเท้าเทียมไฟฟ้าสำหรับผู้พิการ |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Design and develop of active ankle prosthesis |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.สุรชาติ จันทรชิต |
ผู้ร่วมวิจัย | |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | ข้อเท้าเทียมไฟฟ้า รูปแบบการเดิน การควบคุมการเดิน สัญญาน EMG |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | ในโลกยุคปัจจุบัน สถานที่การเรียนรู้ การทำงานหลายๆที่เปิดกว้างให้สำหรับผู้พิการในการทำงานได้มากขึ้น เพื่อเปิดโอกาสและรายได้ในการทำงานและเรียนรู้ ซึ่งในประเทศมีศูนย์สำหรับทำอวัยะเทียม เช่น โรงงานทำขาเทียมพระราชทาน มูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งอวัยวะเทียมที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นโครงสร้างอย่างง่ายเพื่อให้สามารถตอบสนองกลุ่มคนจำนวนมากที่ต้องการใช้ สำหรับผู้พิการทางการเดิน อวัยะเทียมเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดำรงชีวิต สำหรับผู้ที่ใช้ชีวิตปกติทั่วไปการใช้ขาเทียมแบบทั่วไปอาจจะทำให้การทำงานไม่สะดวกหรือ ทำให้การเคลื่อนไหวไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้ตระหนักถึงความสำคัญการเตรียมความพร้อมด้านบริการทางสาธารณะสุขอย่างทั่วถึงประกอบกับแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีที่มุ่งเป้าพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังนั้นจึงได้นำมาสู่งานวิจัยชิ้นนี้โดยการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในการพัฒนาอวัยวะเทียม อวัยวะเทียมอัจฉริยะส่งผลให้ผู้ใช้งานได้ใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการเคลื่อนไหวที่เป็นธรรมชาติ ทำให้ผู้พิการสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง การใช้เทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์ในทางการแพทย์ จะช่วยยกระดับของประเทศ ลดการนำเข้าอุปกรณ์ทำกายภาพที่มีราคาสูงจากต่างประเทศ ประหยัดเวลา สร้างเทคโนโลยีให้กับระเทศ อีกด้วยเทคโนโลยีของหุ่นยนต์อัตโนมัติ ภายใต้บุคลากรการแพทย์ที่มีจำกัด การพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยนี้ จะช่วยยกระดับคุณภาพสาธารณสุขให้กับประชากรไทย ข้อเท้าเทียมไฟฟ้าเป็นงานที่ได้พัฒนาและออกแบบให้สามารถช่วยผู้พิการในการเดิน ให้กลับมาสามารถเดินได้อย่างปกติ และใช้แรงในการเดินน้อยกว่าขาเทียมแบบทั่วไปโดยอาศัยการรวมของระบบทางกลที่ได้ออกแบบใหม่ ระบบไฟฟ้าควบคุม โดยทั้งหมดสามารถทำงานโดยรับคำสั่งมาจากผู้ใช้งาน ส่งไปยังส่วนประมวลผลกลางเพื่อปรับตำแหน่งข้อเท้าให้เหมาะสมตามสรีระการเดิน |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อออกแบบและพัฒนาโครงสร้างสำหรับข้อเท้าเทียมไฟฟ้า 2. เพื่อออกแบบการทำงานร่วมกันของ เซ็นเซอร์ และ รูปแบบการเดิน 3. เพื่อพัฒนาระบบควบคุมที่ใช้ในการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า |