ข้อมูลงานวิจัย การพัฒนานวัตกรรมซีโอไลต์ที่มีรูพรุนขนาดกลางที่ห่อหุ้มของเหลวไอออนิกกัวนิดิเนียมเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ต้นแบบสำหรับกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์จากก๊าซชีวภาพในระดับอุตสาหกรรม

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.การันต์ บ่อบัวทอง
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Karan Bobuatong
    • ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • โทรศัพท์XXX
    • E-Mail Addresphychemku@yahoo.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญเคมีเชิงฟิสิกส์
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00033
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การพัฒนานวัตกรรมซีโอไลต์ที่มีรูพรุนขนาดกลางที่ห่อหุ้มของเหลวไอออนิกกัวนิดิเนียมเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ต้นแบบสำหรับกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์จากก๊าซชีวภาพในระดับอุตสาหกรรม
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Innovative Development of Mesoporous Zeolite-encapulated Guanidinium-based Ionic liqiuds as a prototype equipment for removal of hydrogen sulfide from commercial biogas plants
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ ผศ.การันต์ บ่อบัวทอง
ผู้ร่วมวิจัย 1. ผศ.กนกอร เวชกรณ์
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2562
คำสำคัญ ก๊าซชีวภาพ, ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์, ของเหลวไอออนิก, วัสดุรูพรุนขนาดกลาง
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดและมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนเริ่มปรับเปลี่ยนแนวทางการใช้ทรัพยากรดังกล่าวเป็นการใช้ทรัพยากรทางเลือกรูปแบบใหม่เช่น ก๊าซชีวภาพ (biogas) พลังงานแสงอาทิตย์ (solar energy) และพลังงานลม (wind energy) อย่างเป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น รัฐบาลหลายประเทศให้การสนับสนุนการวิจัยและการลงทุนในทุกภาคส่วนเพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงใดเชื้อเพลิงหนึ่งมากเกินไป อันจะนำไปสู่ความมั่นคงทางด้านพลังงานของชาติในอนาคต ดังปรากฏการสนับสนุนจากทางภาครัฐบาลทั้งด้านการวิจัยระดับห้องปฏิบัติการ และการติดตั้งอุปกรณ์ผลิตพลังงานทางเลือกเพื่อใช้งานจริงทั้งในครัวเรือน, ชุมชน, และอุตสาหกรรมต่างๆ ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืนสามารถผลิตได้จากกระบวนการย่อยสลายของสารประกอบอินทรีย์โดยจุลลินทรีย์ในสภาวะปราศจากออกซิเจน ซึ่งสารปะกอบอินทรีย์เหล่านั้นได้แก่ เศษอาหาร ขยะ มูลสัตว์ ซากพืชซากสัตว์ เป็นต้น ก๊าซชีวภาพนั้นประกอบด้วยก๊าซมีเทน (CH4) ร้อยละ 45-70 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ร้อยละ 25-50 และ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ละอองน้ำ ไซลอกเซน ร้อยละ 5-10 [1-7] โดยคุณสมบัติของก๊าซชีวภาพที่สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในระดับอุตสาหกรรม (Natural-gas quality) นั้นจำเป็นต้องลดปริมาณก๊าซชนิดอื่นๆลงจนความเข้มข้นของก๊าซมีเทนสูงประมาณร้อยละ 95-97 ตามขั้นตอนในรูปที่ 2 ถึงจะทำให้ก๊าซชีวภาพสามารถให้ค่าความร้อนสูงและใช้ทดแทนการเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆได้เป็นอย่างดี ปัญหาที่พบเมื่อใช้ก๊าซชีวภาพที่ผ่านกระบวนปรับปรุงคุณภาพที่ไม่ได้คุณภาพ และถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงที่หัวเผาสำหรับหม้อน้ำหรือหม้อน้ำร้อนที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเช่น การจุดเตาไม่ติด การระเบิดในห้องเผาไหม้ในขณะจุดเตาหรือในขณะเดินเครื่อง เปลวไฟกระพือและดับในขณะกำลังเร่งไฟ กำลังผลิตของหม้อน้าหรือหม้อน้ำร้อนไม่ได้ตามข้อกำหนด (Specification) ของเครื่องจักร อุปกรณ์ทุกชนิดที่สัมผัสก๊าซชีวภาพชำรุดง่ายและมีอายุ การใช้งานสั้น การเกิดไฟไหม้จากการแตกรั่วของระบบสูบส่งก๊าซ เป็นต้น [1] ดังนั้นการปรับปรุงและควบคุมคุณภาพก๊าซชีวภาพ (biogas upgrading) จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและขาดเสียมิได้ในการขจัดปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น
วัตถุประสงค์ 1 ออกแบบของเหลวไอออนิกชนิดใหม่ที่เหมาะสมในการดูดซับก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์ 2 ออกแบบซีโอไลต์เพื่อใช้เป็นวัสดุรองรับของเหลวไอออนิก 3 สังเคราะห์ซีโอไลต์ที่ห่อหุ้มของเหลวไอออนิก 4 ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาการดูดซับก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์ด้วยซีโอไลต์ที่ห่อหุ้มของเหลวไอออนิก 5 ทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์ซีโอไลต์ที่ห่อหุ้มของเหลวไอออนิก 6 นำอุปกรณ์ที่สร้างได้ไปใช้งานร่วมกับเครื่องมืออื่นๆที่สร้างขึ้นภายใต้หน่วยวิจัยเดียวกันเพื่อใช้งานจริงในระดับชุมชน และอุตสาหกรรม 7 เผยแพร่ความรู้และฝึกอบรม ให้กับชุมชน หรือ โรงงานอุตสาหกรรมด้านพลังงาน