ข้อมูลงานวิจัย นวัตกรรมเพื่อการจัดการทรัพยากรทางสังคมและเศรษฐกิจแบบองค์รวมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ตลาดไทและชุมชนต้นแบบ: เคหะรังสิคลองหก จังหวัดปทุมธานี

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ดร.ไฉน น้อยแสง
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ดร.Chanai Noisaeng
    • ตำแหน่งทางวิชาการ-
    • ตำแหน่งปัจจุบันอาจารย์
    • คณะ/หน่วยงานสถาบันวิจัยและพัฒนา
    • โทรศัพท์0813427XXX
    • E-Mail Addres
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญงานสอน
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00051
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ นวัตกรรมเพื่อการจัดการทรัพยากรทางสังคมและเศรษฐกิจแบบองค์รวมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ตลาดไทและชุมชนต้นแบบ: เคหะรังสิคลองหก จังหวัดปทุมธานี
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Innovation for holistic management of the social and economic resources of Talaad Thai and Kheha Rangsit, Pathumthani to enrich the people’s quality of life
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมวิจัย
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ การส่งเสริมสุขภาพ, การสร้างมูลค่าเพิ่ม, วิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม, การจัดการขยะ
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล เคหะชุมชนรังสิต คลองหก จังหวัดปทุมธานีเป็นหนึ่งในชุมชนขนาดใหญ่ของการเคหะแห่งชาติซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตคลองหก อำเภอธัญบุรี ที่ในปัจจุบันจัดได้ว่าเป็นย่านที่ตั้งมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนหลายแห่งของจังหวัดปทุมธานี มีพื้นที่โดยประมาณ 94 ไร่ โครงการฯ ได้เริ่มก่อตัวเป็นชุมชนที่พักอาศัยที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลมุ่งเน้นสำหรับการจัด สวัสดิการให้กับประชาชนผู้อยู่อาศัยในเขตคลองหก อำเภอธัญบุรีมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2447 โดยเป็นอาคารพักอาศัยมีจำนวน 1,430 หลังคาเรือน อนึ่งหากพิจารณาถึงอายุของการดำเนินโครงการที่พักอาศัยของโครงการชุมชนเคหะรังสิต คลองหก อาจพิจารณาได้ว่ามีการดำเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 115 ปี ปัจจุบันสภาพอาคารและสภาพแวดล้อมของทุกอาคารที่พักอยู่ใกล้ศูนย์กลางสถาบันการศึกษา มีระบบขนส่งมวลชนที่เข้าถึง นอกจากนี้ด้วยการที่สังคมอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานีในภาพรวมมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในบริเวณของเขตเศรษฐกิจและบริการธุรกิจ สถานที่บันเทิง และสถานที่ราชการ ฯลฯ จึงมีผลทำให้ชุมชนมีลักษณะคล้ายกับชุมชนที่มีความหนาแน่นทาง ประชากรสูง สถานการณ์ปัจจุบันของเคหะชุมชนรังสิต คลองหก พบว่า มีปัญหาด้านสุขาภิบาล อาทิ น้ำเสียและขยะมูลฝอย พื้นที่ส่วนกลางที่เป็นพื้นที่สาธารณะไม่เพียงต่อต่อจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นผลสะท้อนทั้งจากปัจจัยภายในชุมชนเอง อาจจะได้แก่ สภาพ อาคารทรุดโทรม คณะกรรมการบริหารชุมชนขาดประสบการณ์ในการจัดการพื้นที่แนวใหม่ ระเบียบประกาศและข้อกำหนดของการเคหะแห่งชาติ คุณลักษณะทาง ประชากรและสังคม พร้อมกับบุคลิกภาพทางเศรษฐานะของผู้อยู่อาศัย ฯลฯ และเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกที่อาจจะประกอบด้วยการเจริญเติบโตของย่านธุรกิจรายรอบเคหะชุมชนรังสิต การตัดและเชื่อมต่อถนนหนทางสายใหม่ ๆ การมีเส้นทางเดินรถเมล์สาธารณะขององค์กรขนส่งมวลชน การมีสถานบันเทิงอยู่ในบริเวณ ใกล้เคียง ฯลฯ จากสภาพการณ์ดังกล่าวสามารถชี้ได้ว่าเคหะชุมชนรังสิต คลองหกมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำการปรับปรุงสภาพพื้นที่ทุกภาคส่วนให้ครบวงจรเพื่อนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนผู้พักอาศัย หากไม่ทำการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นตามความเจริญเติบโตของอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จะทำให้ชุมชนที่มีความโดดเด่นในอดีตกลายเป็นซากอาคารที่เสื่อมโทรม เป็นผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดแม้จะเป็นในลักษณะแนวตั้งก็ตาม ปัญหาทางสุขภาพจิต ปัญหาด้านอาชญากรรม แหล่งเพาะพันธุ์โรคต่างๆ ก็จะเกิดขึ้น สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ตลอดจนสัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้น ปัญหามลภาวะทางน้ำจะเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กับปัญหามลภาวะทางอากาศ ฯลฯ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนเคหะรังสิต การพัฒนาพื้นที่ชุมชนต้นแบบเคหะคลองหกโดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรในชุมชน ชุมชนเคหะรังสิต (คลองหก) จังหวัดปทุมธานี ดังนั้นการศึกษาและวิจัยชุมชนเคหะรังสิต คลองหก จึงเป็นการศึกษาเพื่อแก้ปัญหา และวางแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน จากกรอบแนวคิดการดูแลสุขภาวะของชุมชนอย่างรอบด้าน ทั้งการมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต การวางแผนจัดการอย่างเป็นระบบในการดูแลพัฒนาชุมชนโดยมีกรอบแนวคิดการวิจัย ที่คำนึงถึงการวางแผนพัฒนาชุมชน ที่สอดคล้องกับแนวคิดสุขภาวะของชุมชน ที่จะส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมี คุณภาพชีวิต และสุขภาพที่ดีขึ้นอันจะนำไปสู่การลดรายจ่ายด้านสุขภาพลงร้อยละ 15 และการพัฒนาเพื่อสร้างรายได้ที่คำนึงถึงอนาคตของชุมชน ที่จะสร้างการเพิ่มค่าเฉลี่ยรายได้ต่อครัวเรือนร้อยละ 10 และการพัฒนาระบบการจัดการอย่างมีส่วนร่วมควบคู่กันอันจะนำไปสู่ ชุมชนสุขภาวะ ที่มีความยั่งยืนต่อไป ตลาดไท เป็นตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีพื้นที่ 542 ไร่ มีผู้ค้า 3,500 ราย โดยมีปริมาณการค้าขายถึง 12,000 ตันต่อวัน การดำเนินการของตลาดจะก่อเกิดขยะปริมาณ 120-260 ตันต่อวัน ซึ่งร้อยละ 85 ของขยะเหล่านี้เป็นขยะอินทรีย์ที่มีสัดส่วนของผักผลไม้ที่ยังไม่เน่าเสียเกินร้อยละ 70 ผู้ประกอบการโรงเลี้ยงสัตว์จะรับขยะอินทรีย์บางส่วนเพื่อนำไปเป็นอาหารสัตว์ในบริเวณจังหวัดปทุมธานี คิดโดยเฉลี่ยเป็นปริมาณ 8 ตันต่อวัน นอกจากนั้นขยะที่เหลืออยู่จะถูกนำไปพักในหลุมขยะจังหวัดอยุธยาและกาญจนบุรีซึ่งก่อเป็นปัญหาสภาพแวดล้อมไม่น่าอยู่อาศัยในเขตจังหวัดดังกล่าว และยังเป็นภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการตลาดไทที่ต้องเสียค่าบริหารจัดการขยะ 10 ล้านบาทต่อปี วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะและของสดเหลือทิ้งของตลาดไทโดยการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ใช้สอยแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การนำขยะเหลือทิ้งจากตลาดไทมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมประเภทเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลเป็นวิธีการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ ตอบจุดคุ้มทุนขององค์กรหรือไม่และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะได้ร้อยละ 15 ของ baseline ในระยะยาวได้หรือไม่
วัตถุประสงค์ 3.1 เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและพัฒนาแนวทางส่งเสริมสุขภาวะชุมชนพื้นที่ต้นแบบเคหะคลองหก 3.2 พัฒนารูปแบบอัตลักษณ์ของชุมชนตลาดเคหะ คลองหก จังหวัดปทุมธานี 3.3 เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการเชื่อมโยงชุมชนตลาดเคหะโดยใช้อัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมลักษณะเฉพาะตนของชุมชน 3.4 เพื่อปฏิรูปการจัดระบบการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคสําหรับประชาชนในพื้นที่เคหะชุมชนรังสิตให้ สามารถตอบสนองต่อความจําเป็นด้านสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัยและทุกสิทธิในพื้นที่ซึ่งมี บริบทต่างกันได้อย่างครอบคลุม มีประสิทธิผล และรับผิดชอบ 3.5 เพื่อปรับมโนทัศน์ด้านสุขภาพจากมิติสุขภาพในด้านลบ (illness and disease) ไปยังสุขภาพในมิติที่กว้าง และด้านบวก (health and wellness) ทั้งทางกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และจิตวิญญาณ เพื่อให้ ภาคส่วนต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมในการเข้ามาในการจัดการปัญหาสุขภาพร่วมกันในพื้นที่เคหะชุมชนรังสิต 3.6 เพื่อสร้างพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการสนับสนุนการให้บริการและการวางแผนกํากับติดตามการ ดําเนินงาน ทั้งข้อมูลการให้บริการและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของเคหะชุมชน 3.7 เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการการแพทยแผนไทยในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่เคหะชุมชนรังสิต 3.8 เพื่อลดรายจ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือนของเคหะชุมชนลงร้อยละ 15 และการพัฒนาเพื่อที่จะสร้างการเพิ่มค่าเฉลี่ยรายได้ต่อครัวเรือนร้อยละ 10 3.9 เพื่อนำขยะเหลือทิ้งจากตลาดไทมาวิจัยและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม เพื่อลดค่าใช้จ่ายการกำจัดขยะตลาดไทได้ร้อยละ 15 3.10 เพื่อพัฒนาระบบการคัดกรองขยะที่ตลาดไทให้ได้วัตถุดิบคุณภาพเหมาะสม มีประสิทธิภาพการคัดแยกและสะดวกต่อการแปรรูปต่อเป็นผลิตภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรม 3.11 เพื่อสร้างชุมชนนวัตกรรมโดยการมีส่วนร่วมของบุคคลากรตลาดไท 3.12 เพื่อศึกษาโมเดลธุรกิจการสร้างเศรษฐกิจชุมชนนวัตกรรม 3.13 เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและสร้างคุณค่าสินค้านวัตกรรมของชุมชน 3.14 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่มีต่อเศรษฐกิจชุมชน