-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ดร.ไฉน น้อยแสง
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ดร.Chanai Noisaeng
- ตำแหน่งทางวิชาการ-
- ตำแหน่งปัจจุบันอาจารย์
- คณะ/หน่วยงานสถาบันวิจัยและพัฒนา
- โทรศัพท์0813427XXX
- E-Mail Addres
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญงานสอน
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600053จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | โครงการการพัฒนารูปแบบการบริการด้านส่งเสริมสุขภาพในชุมชนแบบครบวงจร เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนเคหะรังสิต |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | The development of an icee generating holistic health care system at Kheha Rangsit, Pathumthani to enrich the people’s quality of life |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.ปุณยนุช อมรดลใจ |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | การส่งเสริมสุขภาพ, คุณภาพชีวิต, เคหะชุมชน |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | สวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่รัฐบาลจำเป็นต้องจัดให้มีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย การมีสภาพที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ สะอาด ไม่เป็นที่เพาะรังโรคหรือแหล่งชุกชุมของพาหะนำโรค มีระบบสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมเหมาะสมปราศจากแหล่งน้ำเสีย มีสถานที่ทิ้งขยะที่ถูกต้องตาม หลักการการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน มีพื้นที่ส่วนกลาง อาทิ สนามกีฬา สวนสาธารณะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจและการออกกำลังกาย สนามเด็กเล่น อาคารอเนกประสงค์ ห้องน้ำสาธารณะ สถานที่รับเลี้ยงเด็กวัยก่อนปฐมวัยและการดูแลผู้สูงอายุ ห้องสมุดประจำชุมชน คลินิกแพทย์ประจำชุมชน ตลาดสดและสถานที่จำหน่ายสินค้า สถานีจอดรถสาธารณะและทางเชื่อมต่อกับถนนสายเมนหรือเส้นทางขนส่งหลัก รถรับส่งระยะสั้นภายในชุมชน ฯลฯ ล้วนแต่จำเป็นพื้นฐานที่ต้องจัดให้มีเพราะถือว่า เป็นสวัสดิการที่สำคัญอันจะเชื่อมโยงต่อ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย พร้อมกับส่งผลต่อความเจริญเติบโตตามความเจริญของชุมชนโดยรอบที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของการพัฒนาเมือง และการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของพื้นที่ ดังนั้นการจัดให้มีสวัสดิการต่างๆ ตามที่ระบุข้างต้น เพื่อให้สมบูรณ์และครบวงจรตามการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างสังคมอันเป็นบริบทของสังคมโดยรอบ เคหะชุมชนรังสิต คลองหก จังหวัดปทุมธานีเป็นหนึ่งในชุมชนขนาดใหญ่ของการเคหะแห่งชาติซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตคลองหก อำเภอธัญบุรี ที่ในปัจจุบันจัดได้ว่าเป็นย่านที่ตั้งมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนหลายแห่งของจังหวัดปทุมธานี มีพื้นที่โดยประมาณ 94 ไร่ โครงการฯ ได้เริ่มก่อตัวเป็นชุมชนที่พักอาศัยที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลมุ่งเน้นสำหรับการจัด สวัสดิการให้กับประชาชนผู้อยู่อาศัยในเขตคลองหก อำเภอธัญบุรีมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2447 โดยเป็นอาคารพักอาศัยมีจำนวน 1,430 หลังคาเรือน อนึ่งหากพิจารณาถึงอายุของการดำเนินโครงการที่พักอาศัยของโครงการชุมชนเคหะรังสิต คลองหก อาจพิจารณาได้ว่ามีการดำเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 115 ปี สภาพของอาคารที่สร้างในสมัยนั้น เริ่มต้นมีสภาพทรุดโทรม ที่สำคัญสภาพอาคารและสภาพแวดล้อมของทุกอาคารที่พักอยู่ใกล้ศูนย์กลางสถาบันการศึกษา มีระบบขนส่งมวลชนที่เข้าถึง นอกจากนี้ด้วยการที่สังคมอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานีในภาพรวมมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในบริเวณของเขตเศรษฐกิจและบริการธุรกิจ สถานที่บันเทิง และสถานที่ราชการฯลฯ จึงมีผลทำให้ชุมชนมีลักษณะคล้ายกับชุมชนที่มีความหนาแน่นทาง ประชากรสูง สถานการณ์ปัจจุบันของเคหะชุมชนรังสิต คลองหก พบว่า มีปัญหาด้านสุขาภิบาล อาทิ น้ำเสียและขยะมูลฝอย พื้นที่ส่วนกลางที่เป็นพื้นที่สาธารณะไม่เพียงต่อต่อจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นผลสะท้อนทั้งจากปัจจัยภายในชุมชนเอง อาจจะได้แก่ สภาพ อาคารทรุดโทรม คณะกรรมการบริหารชุมชนขาดประสบการณ์ในการจัดการพื้นที่แนวใหม่ ระเบียบประกาศและข้อกำหนดของการเคหะแห่งชาติ คุณลักษณะทาง ประชากรและสังคม พร้อมกับบุคลิกภาพทางเศรษฐานะของผู้อยู่อาศัย ฯลฯ และเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกที่อาจจะประกอบด้วยการเจริญเติบโตของย่านธุรกิจรายรอบเคหะชุมชนรังสิต การตัดและเชื่อมต่อถนนหนทางสายใหม่ ๆ การมีเส้นทางเดินรถเมล์สาธารณะขององค์กรขนส่งมวลชน การมีสถานบันเทิงอยู่ในบริเวณ ใกล้เคียง ฯลฯ จากสภาพการณ์ดังกล่าวสามารถชี้ได้ว่าเคหะชุมชนรังสิต คลองหกมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำการปรับปรุงสภาพพื้นที่ทุกภาคส่วนให้ครบวงจรเพื่อนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนผู้พักอาศัย หากไม่ทำการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นตามความเจริญเติบโตของอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จะทำให้ชุมชนที่มีความโดดเด่นในอดีตกลายเป็นซากอาคารที่เสื่อมโทรม เป็นผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดแม้จะเป็นในลักษณะแนวตั้งก็ตาม ปัญหาทางสุขภาพจิต ปัญหาด้านอาชญากรรม แหล่งเพาะพันธุ์โรคต่างๆ ก็จะเกิดขึ้น สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ตลอดจนสัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้น ปัญหามลภาวะทางน้ำจะเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กับปัญหามลภาวะทางอากาศ ฯลฯ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนเคหะรังสิต การพัฒนาพื้นที่ชุมชนต้นแบบเคหะคลองหกโดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรในชุมชน ชุมชนเคหะรังสิต ดังนั้นการศึกษาและวิจัยชุมชนเคหะรังสิต คลองหก จึงเป็นการศึกษาเพื่อแก้ปัญหา และวางแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน จากกรอบแนวคิดการดูแลสุขภาวะของชุมชนอย่างรอบด้าน ทั้งการมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต การวางแผนจัดการอย่างเป็นระบบในการดูแลพัฒนาชุมชน การคำนึงถึงการสร้างสังคมภายในที่จะร่วมดูแลซึ่งกันและกันต่อไป รวมทั้งพิจารณาถึงสถานการณ์ปัญหาที่มีอยู่ดั้งเดิมในพื้นที่ และการวางแผนถึงอนาคตของชุมชนที่จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะหล่อเลี้ยงตั้งแต่ภาพรวมของชุมชน ตลอดจนถึงส่วนย่อยภายในชุมชน และการสร้างอัตตลักษณ์ตัวตนที่จะพัฒนาสู่ความเข้มแข็งของชุมชนต่อไป โดยมีกรอบแนวคิดการวิจัย ที่คำนึงถึงการวางแผนพัฒนาชุมชน และการพัฒนาทางกายภาพ ที่สอดคล้องกับแนวคิดสุขภาวะของชุมชน ที่จะส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมี คุณภาพชีวิต และสุขภาพที่ดีขึ้นอันจะนำไปสู่การลดรายจ่ายด้านสุขภาพลงร้อยละ 15 และการพัฒนาเพื่อสร้างรายได้ที่คำนึงถึงอนาคตของชุมชน ทั้งในระดับภาพรวม และส่วนย่อย ที่จะสร้างการเพิ่มค่าเฉลี่ยรายได้ต่อครัวเรือนร้อยละ 10 และการพัฒนาระบบการจัดการอย่างมีส่วนร่วมควบคู่กันอันจะนำไปสู่ ชุมชนสุขภาวะ ที่มีความยั่งยืนต่อไป |
วัตถุประสงค์ | 1.เพื่อปฏิรูปการจัดระบบการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคสําหรับประชาชนในพื้นที่เคหะชุมชนรังสิตให้ สามารถตอบสนองต่อความจําเป็นด้านสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัยและทุกสิทธิในพื้นที่ซึ่งมี บริบทต่างกันได้อย่างครอบคลุม มีประสิทธิผล และรับผิดชอบ 2.เพื่อปรับมโนทัศน์ด้านสุขภาพจากมิติสุขภาพในด้านลบ (illness and disease) ไปยังสุขภาพในมิติที่กว้าง และด้านบวก (health and wellness) ทั้งทางกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และจิตวิญญาณ เพื่อให้ ภาคส่วนต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมในการเข้ามาในการจัดการปัญหาสุขภาพร่วมกันในพื้นที่เคหะชุมชนรังสิต 3.เพื่อสร้างพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการสนับสนุนการให้บริการและการวางแผนกํากับติดตามการ ดําเนินงาน ทั้งข้อมูลการให้บริการและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของเคหะชุมชน 4.เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการการแพทยแผนไทยในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่เคหะชุมชนรังสิต 5.เพื่อลดรายจ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือนของเคหะชุมชนลงร้อยละ 15 และการพัฒนาเพื่อที่จะสร้างการเพิ่มค่าเฉลี่ยรายได้ต่อครัวเรือนร้อยละ 10 |