ข้อมูลงานวิจัย นวัตกรรมการจัดการน้ำทางการเกษตรเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยพลังงานทางเลือก จังหวัดปทุมธานี

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.วรากร สงวนทรัพย์
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Varakorn Saguansup
    • ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงาน*คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
    • โทรศัพท์XXX
    • E-Mail Addresaee_varakorn@hotmail.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญงานสอน
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00060
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ นวัตกรรมการจัดการน้ำทางการเกษตรเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยพลังงานทางเลือก จังหวัดปทุมธานี
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Innovation of Water Management for Good Agricultural Practice to Prepare for Climate Change by Using Alternative Energy.
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ ผศ.วรากร สงวนทรัพย์
ผู้ร่วมวิจัย 1. ผศ.สุกัญญา ชัยพงษ์
2. ผศ.กุลยา สาริชีวิน
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ นวัตกรรม การจัดการน้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานทางเลือก
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จัดว่าเป็นภัยคุกคามที่กัดกร่อนความมั่นคงและการพัฒนาของ นานาประเทศ อีกทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชากรโดยรวม ผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ พบว่า ภายในปี ค.ศ. 2100 (พ.ศ. 2643) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อาจจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของภูมิภาค ตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ลดลงถึงร้อยละ 7 ต่อปี ระดับน้ำทะเลอาจจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 50 เซนติเมตร และสภาวะ สุดขีดของลมฟ้าอากาศ จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งล้วนแต่จะ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความมั่นคงทางด้านอาหาร (food security) และเกิดการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ (อัสมน, 2554) สอดคล้องกับรายงานแนวโน้วการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยของศูนย์วิจัยและฝึกอบรมผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( SEA START) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า อุณหภูมิสูงขึ้น เล็กน้อย พื้นที่ที่จะมีอากาศร้อนจัดจะแพร่ขยายขึ้นมาก ช่วงเวลาอากาศร้อนจะยาวนานขึ้น ฤดูหนาวหดสั้นลง ฤดูฝนคงระยะเวลาเดิม แต่ปริมาณน้ำฝนรายปีเพิ่มสูงขึ้น และความผันผวนระหว่างฤดู และระหว่างปีเพิ่มสูงขึ้น (ศุภกร, 2557) ผลกระทบจากการเกิดภาวะโลกร้อนโลกร้อนทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอีก 0.1-0.3 องศา ในทุก 10 ปี ทำให้ปริมาณน้ำฝนโดยรวมมีแนวโน้มลดลง และความรุนแรงของสภาพ ภูมิอากาศมีมากขึ้น ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป สภาพพื้นที่แห้งแล้งจะเพิ่มขึ้นทำ มีการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศของพืช พื้นที่ที่เคยแห้งแล้งก็จะแห้งแล้ง นานขึ้น (จงรัก วัชรินทร์รัตน์, 2554 ; นิพนธ์ ตั้งธรรม, 2549 ; องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก , 2560) ผลกระทบต่อภาคการเกษตร เช่น พื้นที่เกษตรเสียหายจากภัยแล้งหรือน้ำท่วม ส่งผลต่อการ ผลิตภาคการเกษตรของประเทศ ความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงรายได้ (รัชนีสนกกนก, 2553) ประกอบกับวิกฤตการณ์พลังงานและราคานน้ำมันี่่มีความผันผวนสูงก่อให้เกิดผลกระทบในทุกภาคส่วนทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าในอนาคตประมาณปีพ.ศ. 2583 สังคมโลกคงต้องเผชิญหน้ากับภาวะการขาดแคลนน้ำมนอย่างแน่นอน(ปัทมา ศิริธัญญา, 2549: 2) ปัญหาดงกล่าวทำให้ทั่วโลกให้ความสําคญกับปัญญหาการขาดแคลนพลังงานเพิ่มมากขึ้น และมีการคิดและพัฒนาพลังงานทดแทนจากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่โดยการนาแหล่งพลังงานจากธรรมชาติเช่น ความร้อนจากดวงอาทิตย์ แรงขบดันของน้ำ คลื่น แรงลม รวมทั้งความร้อนใต้พิภพมาพัฒนาประยุกต์ ให้เป็นพลังงานที่สามารถนามาบริโภคได้เพื่อแก้ปัญหาการหมดไปของพลังงานประเภทสิ้นเปลือง (Non Renewable Energy) และผลกดันพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของพลังงานทางเลือก (Alternative Energy) ให้เป็นพลงงานหลักในอนาคตต่อไป อย่างไรก็ตาม แนวทางการปรับตัวต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศในภาพรวมของประเทศแล้ว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำนโยบายมาประยุกต์สู่ การปฏิบัติ โดยเฉพาะในบริบทการบริหารจัดการภาคการเกษตรและทรัพยากรป่าไม้ เพื่อตอบสนอง การพัฒนาที่ยั่งยืนและความมั่นคงของประเทศ เพราะฉะนั้นการรู้เท่าทัน การเตรียมพร้อม และการ ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทยที่เป็นประเทศที่การเกษตรยังคงมีความสำคัญระบบเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการทำการเกษตรโดยอาศัยน้ำทางธรรมชาติเป็นหลัก ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ และสภาพแวดล้อมของประเทศไทยมีความแตกต่างกัน คนในแต่ละภูมิภาคจำเป็นต้องมีการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นของตน ในส่วนของภาคกลางเกิดปัญหาน้ำท่วมขัง บางพื้นที่มีระดับน้ำต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมขังอย่างต่อเนื่อง และภาคกลางยังประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินที่มีผลต่อคุณภาพของน้ำถึงแม้ว่าน้ำที่มีอยู่มีปริมาณเพียงพอต่อการใช้แต่ปัญหาที่ตามมาคือการปล่อยน้ำเสียจากการครัวเรือนและอุตสาหกรรมทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทำให้เกษตรกรต้องมีการจัดการเพื่อการนำน้ำมาใช้เพื่อการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ จังหวัดปทุมธานีเป็นจังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินอย่างต่อเนื่อง การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรของจังหวัดมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากจังหวัดปทุมธานีเป็นเขตปริมณฑลอยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจจึงเข้ามาอย่างรวดเร็ว รวมทั้งในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย ได้แก่โครงการบ้านจัดสรรที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จังหวัดปทุมธานีไม่มีแหล่งน้ำต้นทุนขนาดใหญ่ นอกจากแม่น้ำเจ้าพระยาเฉพาะช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดปทุมธานี ดังนั้น น้ำที่ใช้ทางการเกษตร ได้จากระบบคลองส่งน้ำชลประทานและคลองธรรมชาติ โดยพื้นที่รับน้ำชลประทาน ประมาณ 535,058ไร่ หรือร้อยละ 56.11 ของพื้นที่จังหวัดมีการส่งน้ำผ่านคลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลองหกวาสายล่าง และคลองระบายน้ำ ต่างๆ ตั้งแต่คลองหนึ่งจนถึงคลองสิบสี่ ทั้งสายบนและสายล่าง ครอบคลุมพื้นที่อำเภอธัญบุรี (สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปทุมธานี, 2559) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ของคลองรังสิตโดยตรง ทั้งนี้การใช้ประโยชน์จะแตกต่างกันไปตามสภาพการใช้ที่ดินโดยรอบคลองแต่ละคลอง พบว่าบริเวณคลองหนึ่งถึงคลองห้า ซึ่งเป็นย่านที่มีการค้าพาณิชย์และชุมชนหนาแน่นปานกลาง คุณภาพน้ำในคลองอยู่ในระดับต่ำ ไม่เหมาะแก่การบริโภค-อุปโภค การใช้ประโยชน์จะเป็นการใช้เพื่อการเกษตรกรรมบางส่วนและเพื่อการสัญจรไปมา ตลอดจนถึงการใช้เป็นสถานที่ค้าขาย สำหรับพื้นที่คลองหกถึงคลองสิบสี่ คุณภาพน้ำยังอยู่ในเกณฑ์เพื่อการอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม และจะค่อนข้างสะอาดกว่าน้ำในคลองต้นๆ การใช้น้ำในแถบนี้จึงใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภค-บริโภคเป็นหลัก ปัญหาความขัดแย้งต่อการใช้น้ำ โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับคุณภาพน้ำ ทั้งนี้เนื่องจากอุตสาหกรรมและหมู่บ้านที่พัฒนาในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา จะใช้คลองรังสิตเป็นแหล่งระบายน้ำทิ้ง จึงมีผลต่อคุณภาพน้ำใช้ของชาวบ้านดั่งเดิม(จันทรา ทองคำเภา และคณะ, 2541) ถึงแม้การทำการเกษตรจะลดลงตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินแต่ยังคงพบว่ามีการใช้ที่ดินด้านการเกษตรมากกว่า 50% ของพื้นที่ทั้งหมด (กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน, 2560) โดยการทำการเกษตรในจังหวัดปทุมธานีมีทั้งการพึ่งพิงระบบคลองที่มีอยู่ และการพึ่งพิงระบบบ่อน้ำซึ่งยังคงเป็นระบบที่พึ่งพิงสภาพภูมิอากาศเป็นหลักในขณะที่สภาพภูมิอากาศมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแห้งแล้งมากขึ้น รุนแรงมากขึ้น ประกอบการการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินที่เกิดจากการเป็นเมืองขยายของตัวจังหวัดเองที่ติดกับเมืองหลักอย่างกรุงเทพมหานครทำให้เกิดการนำน้ำที่มีมลพิษมาใช้ทำการเกษตร ดังนั้นการวางแผนการจัดการด้านการเกษตรให้สามารถมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรตลอดทั้งปีตามความเหมาะสมในบริบทของพื้นที่จึงเป็นเรื่องจำเป็นโดยเฉพาะการเกษตรในพื้นที่ใกล้เมืองชุมชนเมืองเพื่อเป็นอาหารที่มีคุณภาพให้กับคนเมือง ประกอบกับการมีคุณภาพของการเกษตรก็เป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะการมีน้ำที่มีคุณภาพสำหรับการทำการเกษตร และเพื่อให้การลดการพึ่งพิงพลังงานไฟฟ้าจึงมีแนวคิดในการจัดการระบบการให้น้ำกับพืชโดยใช้พลังงานทางเลือกเพื่อลดต้นทุน และใช้ทางเลือกที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ต่อไป
วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระบบบำบัดน้ำเพื่อการเกษตร และรูปแบบการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรที่เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ 2) เพื่อทดสอบระบบบำบัดน้ำเพื่อการเกษตร และระบบการจัดการน้ำที่เหมาะสมต่อการทำการเกษตร 3) เพื่อนำเสนอนวัตกรรมการจัดการน้ำทางการเกษตรโดยการเลือกใช้พลังงานทางเลือก