ข้อมูลงานวิจัย ศึกษาคุณสมบัติทางแสงสำหรับการสร้างโคมไฟหลอดแอลอีดีกำลังสูงเพื่อการจัดแสงแบบเจาะค่าสีเทาในฉากภาพยนตร์และโทรทัศน์

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.จิรศักดิ์ ปรีชาวีรกุล
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Jirasak Prechawerakul
    • ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
    • โทรศัพท์0895008XXX
    • E-Mail Addresjirasakaod@hotmail.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญการจัดการพลังงาน
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00077
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ ศึกษาคุณสมบัติทางแสงสำหรับการสร้างโคมไฟหลอดแอลอีดีกำลังสูงเพื่อการจัดแสงแบบเจาะค่าสีเทาในฉากภาพยนตร์และโทรทัศน์
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Study Optical Properties for Design and Control High Power LED Fresnel in Chroma Key Gray Screen Lighting for Film and Television
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ ผศ.จิรศักดิ์ ปรีชาวีรกุล
ผู้ร่วมวิจัย
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ การเจาะค่าสีในฉาก, ฉากผ้าสีเทา, หลอดเปล่งแสงจากอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลังสูง
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล ปัจจุบันการถ่ายทำสื่อต่างๆ อาทิเช่น โฆษณา มิวสิควิดีโอ ภาพยนตร์ ละครทางโทรทัศน์ รายการข่าวทางโทรทัศน์ทั้งภายในและภายนอกสตูดิโอ มีการนำระบบการทำฉากแทนการทำฉากด้วยไม้ เป็นวิธีสร้างฉากใหม่เรียกว่า การทำโคร มาคีย์ (Chroma Key) ด้วยการซ้อนบนผ้าสีน้ำเงิน (Blue Screen) หรือ ผ้าสีเขียว (Green Screen) และทำการดูดสีดังกล่าวออกด้วยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ และซ้อนฉากที่ต้องการลงบนตัวแบบ (Subject) ที่ต้องการซ้อน เพื่อช่วยในกระบวนการถ่ายทำได้เร็วขึ้น และประหยัดงบประมาณ ประกอบกับสามารถสร้างจินตนาการต่างๆ ที่เหนือความจริง ตามบททางภาพยนตร์ และโทรทัศน์ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ สำหรับหลักการทำเทคนิคโคร มาคีย์ หรือในปัจจุบันเรียกว่า เทคโนโลยีฉากเสมือน (Virtual Set) เป็นเทคนิคการประมวลผลภาพที่มีการพัฒนามาจากการใช้งานฉากสีฟ้า (Blue screen) ในวิธีการเบื้องต้นคือต้องมีการจัดแสง ให้กับ ฉากบนผ้าสีเขียว (Green Screen) หรือ ผ้าสีน้ำเงิน (Blue Screen) ตามหลักการจัดแสงที่เรียกว่า ตำแหน่งไฟส่องฉาก (Background Light) จำนวน 2 โคม วางในทิศทาง ซ้าย และ ขวา มือ ของตำแหน่งการขึงผ้า และจะต้องมีการวัดค่าความส่องสว่าง (Luminance) ในหน่วย ลักษ์ (Lux) หรือ ฟุต-แคนเดิล (Foot Candle) หรือ ค่ารูรับแสง (F-Stop) ที่เท่ากันตลอดพื้นที่บนผ้า หลักการให้ความส่องสว่างมาจากโคมไฟแหล่งกำเนิดแสงประเภทหลอดไฟทังสเตน-ฮาโรเจน (Tungsten-Halogen Lamp) ที่มีขนาดกำลังวัตต์ ตั้งแต่ 500 วัตต์ ถึง 2,000 วัตต์ ให้อุณหภูมิของแสงประมาณ 3,200องศาเคลวิน หรือ โคมไฟแหล่งกำเนิดแสงหลอดไฟคอมแพ็คฟลูออเรสเซนท์ หรือ แหล่งกำเนิดแสงประเภทหลอดไฟอาร์ก (Halogen Metal Iodide lames ; HMI) ที่มีขนาดกำลังวัตต์ ตั้งแต่ 75 วัตต์ ถึง 10,000 วัตต์ ให้อุณหภูมิสีของแสงประมาณ 5,600 องศาเคลวิน จากนั้นบันทึกภาพ ของวัตถุ หรือ บุคคล ที่อยู่ด้านหน้าของฉากผ้าที่มีการจัดแสงเรียบ เมื่อได้ข้อมูลของภาพเคลื่อนไหว หรือ ภาพนิ่ง เป็นนามสกุลไฟล์ AVI หรือ JPEG เป็นต้น นำมาประมวลผล เพื่อตัดส่วนที่เป็นฉากหลังสีน้ำเงินหรือสีเขียว ออก และนำไปซ้อนทับกับภาพฉากหลังที่เตรียมไว้ เพื่อให้เกิดเป็นภาพที่ดูเหมือนกับวัตถุ หรือบุคคลอยู่ในสถานที่เดียวกับภาพฉากที่เตรียมไว้ ตัวอย่างเช่น การใช้งานฉากสีฟ้า หรือสีเขียว สำหรับซ้อนในรายการนำเสนอข่าวพยากรณ์อากาศ ซึ่งมีผู้ทำหน้าที่พยากรณ์อากาศยืนอยู่ด้านหน้าของแผนที่แสดงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตามที่กำหนด วิธีการถ่ายทำคือ ถ่ายภาพของผู้พยากรณ์อากาศที่ยืนอยู่ด้านหน้าของฉากหลัง แล้วจึงลบส่วนที่เป็นฉากหลังออกแล้วนำไปซ้อนทับลงบนภาพแผนที่ที่เตรียมไว้ จากหลักการโคร มาคีย์ ดังกล่าวยังมีข้อจำกัดเรื่องของการติดตั้งผ้าที่ขึ้นอยู่กับ ฉากใดต้องการซ้อนผ้าสีน้ำเงิน บนตัววัตถุ หรือ ตัวแบบ จะต้องไม่ปรากฏโทนสีน้ำเงิน หรือ หากมีการซ้อนผ้าสีเขียวจะต้องไม่ปรากฏโทนสีเขียว เช่นกัน จึงต้องทำให้มีการเตรียมผ้า จำนวน 2 ผืน 2 สี ทุกครั้งเมื่อมีการถ่ายทำ ทำให้เสียเวลาสำหรับการถ่ายทำ และ มีเรื่องของค่าใช้จ่ายของโคมไฟสำหรับการจัดแสงตำแหน่งไฟส่องฉาก ซึ่งแหล่งกำเนิดแสงทั้ง 2 ประเภท มีขนาดกำลังไฟฟ้า (วัตต์) สูง และใช้อย่างน้อย 2 โคม เพื่อการจัดแสงให้ฉากผ้ามีความส่องสว่างเท่ากัน และการถ่ายทำต้องใช้เวลาการถ่ายทำหลายชั่วโมง ต่อ 1 ฉาก ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับการถ่ายทำและเกิดความร้อนสูญเสียที่เกิดจากการระเหยของแหล่งกำเนิดไฟ เช่น หลอดไฟทังสเตน-ฮาโรเจน หรือ หลอดไฟอาร์ก เห็นได้จากข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับการผลิตรายการโทรทัศน์สถานี BBC Television Centre ประเทศอังกฤษ ตามตารางที่ 1 นำมาใช้ในการพิจารณาแนวทางในการประหยัดพลังงานในการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์และนำข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าของหลอดไฟมาตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนการทดแทนหลอดไฟที่ใช้พลังงานน้อยลงแต่ยังคงค่าความส่องสว่างที่เทียบเท่าหรือสูงขึ้นนั่นคือการทดแทนด้วยหลอดแอลอีดี จากการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมากสำหรับการจัดแสงด้วยหลอดไฟที่กล่าวมาในข้างต้น จึงได้มีการนำหลอดแอลอีดี (Light Emitting Diode ; LED ) โดยเฉพาะแอลอีดีกำลังสูง (High Power LED) มาใช้ในการให้แสงสว่างทดแทนหลอดไฟดังกล่าวและมีการพัฒนาขึ้นและมีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กว่าหลอดฟลูออเรสเซนท์ และ หลอดประเภทอื่น เนื่องจากมีค่าการสูญเสียสำหรับการกระจายของแสงคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำ ส่งผลให้เกิดค่าความร้อนสูญเสียของหลอดมีเปอร์เซ็นต์ที่สูงมากทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบปรับอากาศภายในสตูดิโอลดลงเช่นกัน แสดงดังตารางที่ 2 ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจข้อมูลการเปรียบเทียบแหล่งกำเนิดแสงประเภทต่างๆ เมื่อเทียบกับการนำหลอดแอลอีดี มาใช้ทดแทน แสดงข้อมูลดัง ตารางที่ 3 พบว่าอุณหภูมิแสงที่ค่าเท่ากันและกำหนดให้ค่ากำลังไฟฟ้าของหลอดไฟใกล้เคียงกันเพื่อเทียบค่าความส่องสว่างพบว่าหลอดแอลอีดีมีความส่องสว่างที่ไม่สูง แต่ชั่วโมงการใช้งานสูงซึ่งระยะคืนทุนมาก และมีข้อดี อายุการใช้งานนาน สามารถปิด เปิด บ่อย โดยไม่ส่งผลต่ออายุการใช้งานของหลอด และทนทานต่อการสั่นสะเทือนไม่เปาะบางอย่างเช่นหลอดไฟประเภทอื่นและค่าความถูกต้องสีของแสง ค่าประสิทธิภาพความส่องสว่างมีค่าสูง ดังนั้นจากเหตุผลการใช้พลังงานไฟฟ้าของแหล่งกำเนิดแสงประเภทหลอดไฟทังสเตนฮาโลเจน และ หลอดไฟปล่อยประจุในก๊าซความดันสูง เอช เอม ไอ ที่มีค่าใช้จ่ายและค่าการสูญเสียความร้อน ค่อนข้างมาก ผู้วิจัยจึงได้มีแนวคิดสำหรับการประดิษฐ์โคมไฟสปอตไลท์หลอดแอลอีดีกำลังสูง ที่มีค่าความยาวคลื่นแสงสีน้ำเงิน (460-465 nm) และ ความยาวคลื่นแสงสีเขียว (520-525 nm) จากนั้นนำไปจัดแสงในตำแหน่งไฟส่องฉาก (Background Light) จำนวน 2 โคม วางในทิศทาง ซ้าย และ ขวา ของตำแหน่งการขึง ผ้าสีเทา (Gray Screen) เพื่อให้แสงจากหลอดแอลอีดีกำลังสูง 2 โคม ตกกระทบบนผ้าสีเทาเปลี่ยนเป็น สีน้ำเงิน หรือ สีเขียว ทดแทนการใช้ผ้าสีน้ำเงิน หรือ สีเขียว เพื่อประหยัดเวลาสำหรับการถ่ายทำ และสะดวกรวดเร็ว
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาหลักการทำงานของหลอดแอลอีดีกำลังสูง (High Power LED) 100 W ความยาวคลื่นแสงสีน้ำเงิน (460-465 nm) และ ความยาวคลื่นแสงสีเขียว (520-525 nm) สำหรับการสร้างชุดโคมไฟสปอตไลท์หลอดแอลอีดีกำลังสูง 100 W ที่ใช้ในขั้นตอนการจัดแสงสำหรับการถ่ายทำแบบโคร มาคีย์ 2. เพื่อศึกษาขั้นตอนการถ่ายทำโคร มาคีย์ โดยใช้ผ้าสีน้ำเงิน (Blue Screen) และผ้าสีเขียว (Green Screen) และ ร่วมกับโคมไฟแหล่งกำเนิดแสง ประเภทหลอดไฟทังสเตนฮาโลเจน (Tungsten-Halogen Lamp) และ หลอดไฟปล่อยประจุในก๊าซความดันสูง เอช เอม ไอ (Halogen Metal Iodide Lamp) 3. เพื่อศึกษาขั้นตอนการถ่ายทำโคร มาคีย์ โดยใช้ผ้าสีเทา (Gray Screen) ร่วมกับชุดโคมไฟสปอตไลท์หลอดแอลอีดีกำลังสูง 100 W ความยาวคลื่นแสงสีน้ำเงิน และ ความยาวคลื่นแสงสีเขียว 4. เพื่อเปรียบเทียบขั้นตอนการจัดแสงสำหรับการถ่ายทำแบบโคร มาคีย์ สำหรับ ผ้าสีน้ำเงิน และผ้าสีเขียว ร่วมกับโคมไฟแหล่งกำเนิดแสงประเภทหลอดไฟทังสเตนฮาโลเจน และ หลอดไฟ เอช เอม ไอ ระหว่าง ผ้าสีเทา ร่วมกับชุดโคมไฟสปอตไลท์หลอดแอลอีดีกำลังสูง 100 W ความยาวคลื่นแสงสีน้ำเงิน และ คลื่นแสงสีเขียว