-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.วีระศักดิ์ ละอองจันทร์
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Weerasak Laoangjan
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะวิศวกรรมศาสตร์
- โทรศัพท์0867127XXX
- E-Mail Addreswerasaky@yahoo.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญวิศวกรรมโยธา
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600037จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การดูดซับโลหะหนักในน้ำเสียโดยใช้พอลิเมอร์ชีวภาพที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งจากการปลูกข้าว |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Heavy Metal Adsorption in Wastewater by Using Biopolymer Produced from Rice Cultivation Waste |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.กุลยา สาริชีวิน |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.วีระศักดิ์ ละอองจันทร์ 2. ผศ.สมพิศ ตันตวรนาท |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2562 |
คำสำคัญ | การดูดซับโลหะหนัก, พอลิเมอร์ชีวภาพ, วัสดุเหลือทิ้งจากการปลูกข้าว |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | ในปีพ.ศ. 2561 ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 6 ของประเทศที่เป็นผู้ผลิตข้าวที่สำคัญของโลก โดยสามารถผลิตข้าวได้ถึง 21.4 ล้านตันต่อปี [1] ทำให้มีผลพลอยได้จากการเก็บเกี่ยวและการสีข้าวเป็นปริมาณมาก โดยเฉพาะฟางข้าว ซึ่งมีมากถึง 117 ล้านตันต่อปี ดังนั้นจึงมีนักวิจัยและโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ พยายามนำเอาฟางข้าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น การนำฟางข้าวมาเป็นแหล่งของสารอินทรีย์ในการผลิตปุ๋ยซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์ที่ไม่คุ้มค่าเท่าที่ควร เนื่องจากฟางข้าวประกอบด้วยเซลลูโลสปริมาณสูงถึงร้อยละ 43.30 [2] จึงควรนำฟางข้าวที่เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวมาสกัดเซลลูโลสบริสุทธิ์ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสหรือซีเอ็มซี (Carboxymethyl cellulose; CMC) ซึ่งเป็นอนุพันธ์เซลลูโลสอีเทอร์ที่อยู่ในรูปเกลือโซเดียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่ละลายได้ในน้ำ ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสและไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และมีคุณสมบัติช่วยในการดูดซับโลหะหนักได้อีกด้วย [3] โรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภทเป็นแหล่งกำเนิดของน้ำเสียที่มักมีการปนเปื้อนโลหะหนัก อาทิ สารตะกั่ว ปรอท เหล็ก สังกะสี นิกเกิล โครเมียม ทองแดง การกำจัดโลหะหนักปนเปื้อนออกจากน้ำเสียอุตสาหกรรมก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะมีหลายวิธี และวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน คือ การดูดซับโดยใช้วัสดุจากพอลิเมอร์ชีวภาพ (Biopolymer Adsorbents) อาทิ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส หรือซีเอ็มซี เนื่องจากมีข้อดีที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ สามารถปรับแต่งสมบัติต่างๆได้ จึงเป็นวัสดุที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในงานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพของคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่ผลิตจากฟางข้าวมาทำการดูดซับโลหะหนัก ได้แก่ ตะกั่ว (Pb2+) และ นิเกิล (Ni2+) และได้ทำการศึกษาถึงสภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับโลหะ ได้แก่ ค่า pH, ปริมาณของคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส และระยะเวลาทำปฏิกิริยา เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมทางน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรม และลดปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศจากการเผานาข้าวซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดปัญหา PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับฟางข้าวที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากการทำนาข้าวอีกด้วย |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อศึกษาคุณสมบัติของคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่ผลิตจากฟางข้าว 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับโลหะหนัก ได้แก่ ตะกั่ว (Pb2+) และ นิเกิล (Ni2+) โดยใช้คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากฟางข้าว 3. เพื่อศึกษาสภาวะต่างๆ ที่เหมาะสมของการดูดซับโลหะหนัก ได้แก่ ตะกั่ว (Pb2+) และ นิเกิล (Ni2+) ของคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากฟางข้าว โดยแปรผันค่า pH, ปริมาณซีเอ็มซี และระยะเวลาสัมผัส |