-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.วีระศักดิ์ ละอองจันทร์
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Weerasak Laoangjan
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะวิศวกรรมศาสตร์
- โทรศัพท์0867127XXX
- E-Mail Addreswerasaky@yahoo.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญวิศวกรรมโยธา
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600048จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การต้านทานการถูกกัดเซาะคันตลิ่งของดินกระจายตัวโดยใช้นวัตกรรมแผ่นผสมโพลิเมอร์ชีวภาพจากฟางข้าวเคลือบด้วยไคโตซาน |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | THE RESISTANCE OF DISPERSIVE SOILS TO RIVERBANK EROSION BY USING INNOVATIVE BIOPOLYMER CHITOSAN BLEND SHEETS INCORPORATED WITH RICE STRAW |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.วีระศักดิ์ ละอองจันทร์ |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.กุลยา สาริชีวิน 2. ผศ.สมพิศ ตันตวรนาท |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2562 |
คำสำคัญ | การกัดเซาะคันตลิ่ง, ดินกระจายตัว, โพลิเมอร์ชีวภาพ, ไคโตซาน, ฟางข้าว |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | พื้นที่จังหวัดปทุมธานีเป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ตั้งอยู่บนสองฝั่งของลำน้ำเจ้าพระยา ซึ่งไหลผ่านใจกลางจังหวัด มีคลองแยกออกมาก เป็นคลองซอยไหลผ่านอาณาบริเวณต่างๆ มีถนนหลักเลียบริมฝั่งคลองหลายเส้นทาง รวมทั้งอัตราการขยายตัวของสังคมเมือง จึงนำมาซึ่งปัญหาเกี่ยวกับ ดินทรุด ตลิ่งพัง เนื่องมาจากกระแสน้ำกัดเซาะ อีกทั้งการจราจรที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงสภาพดินบริเวณจังหวัดปทุมธานีทางด้านเทคนิคธรณีเป็น ดินกระจายตัว (dispersive soil) ดินชนิดนี้เป็นดินเหนียวมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเม็ดดินดี น้ำซึมผ่านได้ยาก (impervious) แต่เมื่อมีน้ำซึมผ่านเข้าไปในรอยแยกระหว่างดิน (fissure) ก็จะทำให้เกิดความไม่สมดุลของประจุบวกที่เกาะอยู่บนผิวของอนุภาคดินเหนียว ระบบจึงมีการจัดเรียงตัวใหม่ทำให้เม็ดดินอยู่ในสภาพที่แยกออกจากกันโดยง่าย ซึ่งเมื่อดินกระจายตัวออกแล้วน้ำจะสามารถไหลซึมผ่าน เข้าไปในเนื้อดินได้เพิ่มขึ้นกลายเป็นดินพังง่าย (erodible soil) จนเกิดกระบวนการกัดเซาะและพัดพาซึ่งก่อให้เกิดปัญหาขึ้น ปัญหาจากกระบวนการกัดเซาะนี้อาจจะเกิดอยู่ใต้ดินหรือผิวดิน เมื่อเกิดที่ผิวดินก็จะเห็นเป็นร่องรอยการถูกกัดเซาะอย่างชัดเจน แต่ถ้ากระบวนการกัดเซาะอยู่ใต้ผิวดินก็มักจะก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรงมากกว่า งานวิจัยนี้จะเริ่มจากการศึกษาถึงคุณสมบัติและพฤติกรรมทางวิศวกรรมของดินบริเวณริมตลิ่งจังหวัดปทุมธานีที่เกิดปัญหาการทรุดตัวและการพังทลาย เพื่อนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยใช้การพัฒนานวัตกรรมที่ทำมาจากวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรในพื้นที่คือ ฟางข้าว นำมาสร้างนวัตกรรมแผ่นผสมโพลิเมอร์ชีวภาพจากฟางข้าวเคลือบไคโตซานที่ได้จากเปลือกกุ้งซึ่งเป็นเศษเหลือทิ้งจากโรงงานอาหารแช่แข็ง โดยนำนวัตกรรมที่ได้นี้ไปปรับปรุงคุณภาพดินทางวิศวกรรมให้ดีขึ้นและยังสามารถลดปัญหาดินทรุด ดินพังทลาย ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ที่มีแม่น้ำไหลผ่านโดยมีทั้งแหล่งน้ำผิวดินและใต้ผิวดิน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและหน่วยงานของรัฐ ให้คำนึงถึงสิ่งปลูกสร้างที่ใกล้น้ำ เช่น เขื่อน ฝาย คลอง อาคาร ถนน ให้มีความปลอดภัย แข็งแรง และสิ่งปลูกสร้างที่จะเกิดขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพทางวิศวกรรมของดินบริเวณนี้ เพื่อให้สิ่งปลูกสร้างมีอายุการใช้งานที่นานขึ้น รวมทั้งนวัตกรรมที่ใช้เป็นนวัตกรรมที่ได้จากสิ่งเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่เป็นหลักและสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ จึงเป็นการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อีกด้วย |
วัตถุประสงค์ | 1. ศึกษารูปแบบและลักษณะของปัญหาเนื่องจากการกัดเซาะโดยน้ำของโครงสร้างดินเหนียวบริเวณจังหวัดปทุมธานี 2. ศึกษาคุณสมบัติและพฤติกรรมทางวิศวกรรมของดินเหนียวกระจายตัวบริเวณจังหวัดปทุมธานี 3. พัฒนานวัตกรรมแผ่นผสมโพลิเมอร์ชีวภาพจากฟางข้าวเคลือบไคโตซานเพื่อเพิ่มเสถียรภาพทางด้านกำลังรับแรงภายนอกและการต้านทานการถูกกัดเซาะโดยน้ำของดินเหนียวกระจายตัวบริเวณจังหวัดปทุมธานี |