ข้อมูลงานวิจัย การพัฒนาการผลิตแผ่นมาสก์หน้านาโนเซลลูโลสจากข้าวไทยผสมสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)รศ.ดร.ธนศักดิ์ ล้อมทอง
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)รศ.ดร.Thanasak Lomthong
    • ตำแหน่งทางวิชาการ-
    • ตำแหน่งปัจจุบันรองศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • โทรศัพท์0879318XXX
    • E-Mail Addresscience_thanasak@hotmail.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ เทคโนโลยีชีวภาพ
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00240
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การพัฒนาการผลิตแผ่นมาสก์หน้านาโนเซลลูโลสจากข้าวไทยผสมสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Development of nano cellulose facial mask production from Thai’s rice mixed with bioactive substances
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมวิจัย
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ แผ่นมาสก์หน้านาโนเซลลูโลส เอนไซม์ ข้าวไทย สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล ข้าวเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงโดยเฉพาะข้าวสายพันธุ์ไทยที่ยังไม่ผ่านการขัดสี ซึ่งมีทั้งสารต้านอนุมูลอิสระ กรดอะมิโน ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และวิตามิน ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ตลอดจนมีคุณสมบัติในการบำรุงผิวพรรณ และชะลอความแก่ให้กับผู้บริโภค โดยในปัจจุบันนั้นผู้บริโภคได้หันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น การผลิตผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์เวชสำอาง จึงเป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพที่ปลอดภัยจากสารเคมี และคงความเป็นธรรมชาติของผลิตภัณฑ์ไว้ให้มากที่สุด โดยพบว่าในปัจจุบันได้มีการนำข้าวมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต่าง ๆ มากมาย แต่ยังไม่มีรายงานการใช้เอนไซม์ย่อยแป้งดิบในการย่อยข้าวเพื่อใช้ผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพโดยปกติการผลิตน้ำตาลไซรัปจากวัตถุดิบที่มีแป้งเป็นองค์ประกอบ จะใช้เอนไซม์ย่อยที่อุณหภูมิสูงประมาณ 80 – 100 องศาเซลเซียส โดยขั้นตอนนี้ส่งผลให้สิ้นเปลืองพลังงานต่ออุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก ซึ่งนอกจากจะสิ้นเปลืองพลังงานแล้ว การใช้อุณหภูมิสูงยังทำลายสารอาหารที่มีอยู่ในธรรมชาติของวัตถุดิบอีกด้วย จากงานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่าการใช้เอนไซม์ในการเร่งปฏิกิริยาการย่อยซับสเตรตในผลผลิตทางการเกษตรนอกจากจะได้น้ำตาลเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว ยังช่วยปลดปล่อยสารประกอบฟีนอลิก วิตามิน และ สารสีซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่จับเป็นสารประกอบเชิงซ้อนอยู่กับน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ออกมายังสารละลายในปฏิกิริยาได้อีกด้วย การใช้เอนไซม์ในการเร่งปฏิกิริยาเปลี่ยนแป้งในข้าวไทยที่มีสีให้เป็นน้ำตาลจึงช่วยเพิ่มคุณค่าทางสารอาหารและคุณสมบัติทางชีวภาพให้กับผลิตภัณฑ์ได้ จากแผนยุทธศาสตร์ชาติที่สนับสนุนให้พัฒนางานวิจัยเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S curve) โดยหนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ งานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดที่จะผลิตแผ่นมาสก์หน้าเซลลูโลสจากข้าวไทย โดยนำข้าวไทยที่มีสีสามชนิด ได้แก่ ข้าวเหนียวลืมผัว ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวหอมมะลิดำ มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำตาลไซรัปด้วยเอนไซม์ย่อยแป้งดิบ น้ำตาลไซรัปที่ได้จะนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย A. xylinum เพื่อผลิตเป็นแผ่นเซลลูโลสต่อไป ซึ่งเป็นการเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพให้กับผู้บริโภค ลดต้นการใช้พลังงานให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ และเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวไทยซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชาติต่อไป
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลของเอนไซม์ย่อยแป้งดิบและเอนไซม์กลูโคอะไมเลสทางการค้าต่อการผลิตน้ำตาลไซรัปจากข้าวไทยทั้ง 3 ชนิด 2. เพื่อศึกษาอัตราส่วนของข้าวที่เหมาะสมต่อการผลิตน้ำตาลไซรัปโดยใช้การออกแบบการทดลองแบบผสม (Mixture design) 3. เพื่อศึกษาการหมักแผ่นเซลลูโลสจากน้ำตาลไซรัปที่ได้จากการย่อยข้าวไทยเพื่อผลิตเป็นแผ่นมาสก์หน้านาโนเซลลูโลสซึ่งเป็นนวัตกรรมเพื่อสุขภาพและความงาม 4. เพื่อศึกษาการผสมสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพกับการคงอยู่ของผลิตภัณฑ์และสารต้านอนุมูลอิสระหลังการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่าง ๆ