ข้อมูลงานวิจัย นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลเส้นผมจากข้าวไรเบอร์รี่อินทรีย์และวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของชุมชนบึงสมบูรณ์ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)รศ.ดร.กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)รศ.ดร.Korawinwich Boonpisuttinant
    • ตำแหน่งทางวิชาการ-
    • ตำแหน่งปัจจุบันรองศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงาน*คณะการแพทย์บูรณาการ
    • โทรศัพท์0909501XXX
    • E-Mail Addreskorawinwich_b@rmutt.ac.th
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญเคมี ชีวเคมี เทคโนโลยีชีวภาพ เภสัชศาสตร์
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00327
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลเส้นผมจากข้าวไรเบอร์รี่อินทรีย์และวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของชุมชนบึงสมบูรณ์ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Innovative hair care products of the extracts from organic riceberry and its wastes from processing of Bueng Som Boon community, Nong Sue, Pathumthani
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมวิจัย
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ ฤทธิ์ทางชีวภาพ, ข้าวอินทรีย์, ของเหลือใช้, เครื่องสำอาง, ผลิตภัณฑ์เส้นผม
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล ด้วยค่านิยมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้คนจำนวนมากเริ่มดูแลตัวเองมากขึ้น ทั้งในด้านของการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพผิว รูปร่าง หน้าตา การแต่งกาย รวมไปถึงการดูแลเส้นผมเพื่อเพิ่มความโดดเด่น และดึงดูดความสนใจ นอกจากนี้แนวคิดวัฒนธรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ยังส่งเสริมให้ผู้คนกล้าแสดงออก สามารถแสดงความเป็นตัวของตัวเองได้มากขึ้น ดังนั้นการตกแต่งทรงผม ย้อมผม ดัด ผม เปลี่ยนสีผมจึงเริ่มมีบทบาทและมีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือลักษณะภายนอกของเส้นผมล้วนต้องใช้สารเคมีทั้งสิ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาผมหงอกก่อนวัยผมร่วง หรือผมบางเกิดขึ้นได้ในบางราย (ณฐพัชร์, 2557) นอกจากนี้สาเหตุอาจเกิดจากพันธุกรรม อายุที่เพิ่มขึ้น การลดจำนวนลงของเมลาโนไซท์ (melanocytes) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการผลิตเม็ดสีเมลานิน (melanin) การลดการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน การขาดเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase enzyme) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เปลี่ยนสารตั้งต้นไทโรซีน (tyrosine) ให้เป็นเมลานินที่รากผม (Hideakin et al., 2004) หรือ เกิดจากความเครียด (oxidative stress) ส่งผลให้ร่างกายสร้างสารอนุมูลอิสระไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในปริมาณมาก ทำให้เซลล์เมลาโนไซท์ลดจำนวนลง และตายอย่างรวดเร็ว (apoptosis) (Karin et al., 2004; Petra et al., 2006) การใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของสารชะล้างที่รุนแรง การที่เส้นผมและหนังศีรษะสัมผัสกับน้ำยาดัด ยืด หรือย้อมผมที่มีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide) ซิลเวอร์อะซิเตท (Silver acetate) หรือซิลเวอร์ไนเตรท (Silver nitrate) หากมีการดูแลที่ไม่ถูกวิธีจะทำให้สารเคมีตกค้าง ชั้นขี้ผึ้งของหนังศีรษะจะถูกทำลายไป รากผมจึงไม่แข็งแรง ทำให้ผมหงอกเร็วกว่าวัย และเกิดอาการผมร่วงหรือผมบางลงได้ง่าย (ฉันทมน, 2555) ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจ เกิดการสูญเสียบุคลิกภาพ สูญเสียความมั่นใจ หรืออาจเกิดภาวะหลีกหนีจากสังคมขึ้นได้ในบางราย (ณฐพัชร์, 2557) ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในสังคมไทยและทั่วโลก โดยมีอัตราการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจประมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าในกลุ่มเครื่องสำอางต่างๆ เช่น เครื่องสำอางเพื่อผิวขาวและต้านริ้วรอย และ ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม เป็นต้น อย่างไรก็ตามสารสกัดจากพืชและสมุนไพรธรรมชาติที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมักจะนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีจุดเด่นในด้านทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งจะสามารถใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นฐานความรู้ในการสร้างสรรค์สารออกฤทธิ์ชนิดใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ รวมไปถึงการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติในรูปแบบใหม่เพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของไทยมีความแปลกใหม่ ลดการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ และสามารถแข่งขันได้ในตลาดต่างประเทศ และมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่มีนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านบึงสมบูรณ์ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี มีรายได้ส่วนใหญ่ของประชากรมาจากการทำการเกษตรและพืชเศรษฐกิจ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่จะทำการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจากเดิมเกษตรกรใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมากทำให้เพิ่มต้นทุนในการผลิต และทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของชาวนา ปัจจุบันจึงได้เปลี่ยนแนวคิดมากขึ้นจากเกษตรเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ที่มีต้นทุนต่ำ และเพิ่มปริมาณผลผลิตได้ข้าวปลอดจากสารเคมี และชาวนามีสุขภาพที่ดีขึ้น เนื่องจากไม่สัมผัสกับสารเคมี นอกจากนี้ การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่ได้จากการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ยังมีปริมาณผลผลิตมาก หากมีการนำวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลเส้นผม จะช่วยเพิ่มมูลค่าของเหลือใช้หรือของเหลือทิ้งได้ ลดของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมชุมชนได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับองค์ประกอบทางด้านฤทธิ์ทางชีวภาพ และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ที่จะนำมาใช้ประยุกต์ทางเครื่องสำอางสำหรับดูแลเส้นผม ดังนั้น ทางคณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะทำการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับการนำไปประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลเส้นผม เช่น การกระตุ้นการงอกของเส้นผม และการยับยั้งเอนไซม์ 5α-reductase สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลเส้นผม จากนั้นจะนำสารสกัดที่คัดเลือกไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลเส้นผม เช่น แชมพู ครีมนวด และโทนิค เป็นต้น นอกจากนี้ยังจะได้มีการตรวจสอบสารพฤกษเคมีของสารสกัดที่คัดเลือก เพื่อใช้ในการควบคุมคุณภาพของสารสกัดที่ได้อีกด้วย โครงการนี้ยังสามารถช่วยลดการนำเข้าสินค้ากลุ่มวัตถุดิบ สารออกฤทธิ์ และผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ใช้ออกสู่ชุมชนเพื่อที่จะสามารถเกิดการพึ่งพาตนเองในสังคม และส่งเสริมการแปรรูปวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิต ข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ เพื่อเป็นรายได้เสริม หลังจากเสร็จสิ้นโครงการวิจัยนี้สามารถนำผลงานวิจัยที่ได้ไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ นอกจากนี้ยังถือว่าโครงการนี้เป็นการเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ อีกด้วย
วัตถุประสงค์ 3.1 เพื่อศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากวัสดุเหลือใช้ของการแปรรูปข้าวอินทรีย์ 3.2 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมจากสารสกัดจากวัสดุเหลือใช้ของการแปรรูปข้าวอินทรีย์ที่คัดเลือกในรูปแบบต่างๆ