ข้อมูลงานวิจัย นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผิวหนังจากสารสกัดว่านร่อนทองที่กักเก็บในอนุภาคนีโอโซม

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)รศ.ดร.กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)รศ.ดร.Korawinwich Boonpisuttinant
    • ตำแหน่งทางวิชาการ-
    • ตำแหน่งปัจจุบันรองศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงาน*คณะการแพทย์บูรณาการ
    • โทรศัพท์0909501XXX
    • E-Mail Addreskorawinwich_b@rmutt.ac.th
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญเคมี ชีวเคมี เทคโนโลยีชีวภาพ เภสัชศาสตร์
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00148
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผิวหนังจากสารสกัดว่านร่อนทองที่กักเก็บในอนุภาคนีโอโซม
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Innovative cosmetic for skin from Ludisia dicolor (Ker Gawl.) A. Rich. extracts entrapped in niosome
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมวิจัย
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ ว่านร่อนทอง, เครื่องสำอาง, ความเป็นพิษ, นีโอโซม, ความคงตัว
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล เนื่องด้วยปัจจุบันแนวโน้มการส่งออกเครื่องสำอางของประเทศไทยได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และตลาดอุตสาหกรรมเครื่องสำอางกำลังเป็นที่ต้องการทั้งในกลุ่มอาเซียน (AEC) และกลุ่มสหภาพยุโรป โดยเฉพาะเครื่องสำอางชะลอวัยและเพื่อผิวขาวซึ่งมีแนวโน้มเป็นที่ต้องการและมีมูลค่าการตลาดสูง อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอางในประเทศไทยยังเป็นแบบอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้ซื้อที่มีกำลังซื้อระดับน้อยและปานกลาง ซึ่งแย่งส่วนแบ่งการตลาดของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางขนาดใหญ่ อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นได้น้อย เนื่องจากต้นทุนการผลิตและการนำเข้าวัตถุดิบเครื่องสำอางจากต่างประเทศค่อนข้างสูง คิดเป็นร้อยละ 20-40 ของต้นทุนทั้งหมด ส่วนมากวัตถุดิบและสารสำคัญที่นำมาใช้ผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี ซึ่งบางตัวอาจจะมีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง และบางชนิดอาจต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสูงขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งเทคโนโลยีการผลิตและการพัฒนาสารออกฤทธิ์ รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์การผลิตบางชนิดก็ต้องเรียนรู้และนำเข้าจากต่างประเทศอีกด้วย ดังนั้นประเทศไทยจึงมักเสียเปรียบด้านกลยุทธ์ทางการตลาดกับต่างประเทศ ดังนั้นหากจะยกระดับการผลิตวัตถุดิบเครื่องสำอางให้กลายเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ซื้อทุกระดับก็ควรต้องมีเทคโนโลยีและวัตถุดิบที่เป็นของตนเอง เพื่อลดต้นทุนการผลิตและการนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้น จึงมีงานวิจัยที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการนำพืชและสมุนไพรไทยมาใช้เพื่อผลิตเป็นสารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ในเครื่องสำอางเป็นจำนวนมาก ว่านวงศ์ ORCHIDACEAE มีจำนวนมากถึง 360 ชนิด กล้วยไม้ พืชวงศ์ ORCHIDACEAE มีจำนวนมากถึง 360 ชนิด โดยมีพืชอนุรักษ์ในบัญชีไซเตส (CITES) ประกอบไปด้วยอนุสัญญาไซเตส 3 บัญชี ดังนี้ บัญชีที่ 1 ชนิดพันธุ์ในบัญชีที่ 1 เป็นชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ห้ามทำการค้าขายโดยเด็ดขาด ยกเว้นที่ได้จากการขยาย พันธุ์เทียม หรือเพาะพันธุ์ และเพื่อการศึกษาวิจัย มีจำนวน 250 ชนิด บัญชีที่ 2 ชนิดพันธุ์ในบัญชีที่ 2 เป็นชนิดพันธุ์ที่อนุญาติให้ค้าได้แต่อยู่ภายใต้มาตรการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ จำนวน 58 ชนิด และบัญชีที่ 3 เป็นชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองในประเทศภาคี ประเทศใดประเทศหนึ่งและประเทศนั้นขอให้ประเทศภาคีอื่น ๆ ช่วยควบคุมการค้า ชนิดพันธุ์นั้นด้วย ซึ่งในประเทศไทยไม่มีพันธุ์พืช ซึ่งจากข้อมูลข้างต้นจะคงเหลือพืชวงศ์ ORCHIDACEAE ที่สามารถนำมาเพาะปลูกได้ จำนวน 52 ชนิด จากโครงการวิจัยก่อนหน้าผู้วิจัยได้ทำการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพทางเครื่องสำอางของพืชวงศ์ ORCHIDACEAE 5 ชนิด คือ ว่านเพชรหึง ว่านร่อนทอง หวายแดง ว่านอึ่ง และลิ้นมังกร ซึ่งคัดเลือกจากพืชจากแหล่งวัตถุดิบที่หาได้ง่าย มีราคาถูก เป็นพืชพันธุ์ที่สามารถเพาะปลูกได้ในดิน ขยายพันธุ์ได้ง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งพบว่า ว่านร่อนทองที่สกัดด้วยการหมักเอทานอล มีผลรวมคะแนนของผลการทดสอบทางฤทธิ์ชีวภาพดีที่สุด โดย สารสกัดจากว่านร่อนทอง มีต้านอนุมูลอิสระ เทียบเท่าสารมาตรฐานวิตามินซี และมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเกิดเปอร์ออกซิเดชันของไขมันได้มากกว่าสารมาตรฐานวิตามินอี ประมาณ 8 เท่า มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสมากกว่าสารละลายมาตรฐาน Kojic acid ประมาณ 2 เท่า และสามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้ดีเทียบเท่ากับสารละลายวิตามินซี 18.8 นอกจากนี้สารสกัดไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังอีกด้วย ดังนั้นสารสกัดนี้จึงมีโอกาสสูงที่จะถูกพัฒนาให้เป็นสารสำคัญที่ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้ ขณะเดียวกันการพัฒนาตำรับเครื่องสำอางให้มีประสิทธิภาพการนำส่งสารและส่งเสริมการออกฤทธิ์ทางชีวภาพให้ดียิ่งขึ้น สามารถใช้เทคโนโลยีนีโอโซมซึ่งเป็นเทคโนโลยีนาโน (Nanotechnology) ซึ่งนิยมนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง นีโอโซมมีลักษณะโครงสร้างเป็นถุงขนาดเล็ก ประกอบไปด้วย สารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ (non-ionic surfactant) และ คอเลสเตอรอล ซึ่งภายในถุงสามารถบรรจุและกักเก็บตัวยาหรือสารสำคัญได้ โดยนีโอโซมสามารถเพิ่มการซึมผ่าน การกระจาย และการปลดปล่อยตัวยาหรือสารสำคัญผ่านทางผิวหนังได้ดี ช่วยให้สารสำคัญคงตัวสูงขึ้น อีกทั้งนีโอโซมยังมีความปลอดภัยสูง มีต้นทุนการผลิตต่ำ ดังนั้นเทคโนโลยีนีโอโซมจึงเป็นที่สนใจและนิยมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและยาทางผิวหนัง ซึ่งหากมีการประยุกต์ใช้นีโอโซมในการกักเก็บสารสำคัญจะทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมีความแปลกใหม่ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และสามารถแข่งขันได้ในตลาดทั้งในไทยและต่างประเทศ ดังนั้น ทางคณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะนำสารสกัดว่านร่อนทอง มาพัฒนาต่อยอดด้วยการกักเก็บในนีโอโซม จะได้มีการศึกษาสมบัติทางกายภาพต่างๆ เช่น size, zeta, PDI, รูปร่างอนุภาค เป็นต้น ประสิทธิภาพการกักเก็บด้วยเทคนิค Ultracentrifuge ประสิทธิภาพการซึมผ่านผิวด้วยเทคนิค Franze cell diffusion ความคงตัวของสารสกัดที่กักเก็บในนีโอโซม นอกจากนี้ยังจะได้ทดสอบความเป็นพิษในระดับเซลล์อีกด้วย หลังจากนั้นจะทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารสกัดว่านร่อนทองที่กักเก็บในนีโอโซม และจะมีการทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาด้วย โครงการนี้เป็นนอกจากจะเป็นการนำเทคโนโลยีนีโอโซมมาเพิ่มประสิทธิภาพของสารสกัดว่านร่อนทองแล้ว ยังสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้ประกอบการ SMEs เพื่อที่จะสามารถใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ สามารถช่วยลดการนำเข้าสินค้ากลุ่มวัตถุดิบ สารออกฤทธิ์ และผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ สามารถส่งเสริมการปลูกพืชวงศ์กล้วยไม้เพื่อเป็นรายได้เสริมรองจากพืชเศรษฐกิจ เกิดการพึ่งพาตนเองในสังคมได้อีกด้วย
วัตถุประสงค์ 1 เพื่อศึกษาการกักเก็บสารสกัดว่านร่อนทองในอนุภาคนีโอโซม 2 เพื่อศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดว่านร่อนทองที่กักเก็บในอนุภาคนีโอโซม 3 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารสกัดว่านร่อนทองที่กักเก็บในอนุภาคนีโอโซม