-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)รศ.ดร.นริศร์ บาลทิพย์
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) Assoc.Prof.Dr.Naris Barnthip
- ตำแหน่งทางวิชาการรองศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันรองศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- โทรศัพท์0814206XXX
- E-Mail Addresnaris_b@rmutt.ac.th
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญBiomaterials, Medical Materials, Nanofiber, Hydrogel, Protein Adsorption
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600055จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | แหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบพกพาเพื่อกระตุ้นการปลดปล่อยสารออกฤทธิ์จากไฮโดรเจลสำหรับการรักษาบาดแผล |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Portable Power Supply to Stimulate the Active Compound Release from Hydrogel for Wound Healing |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | รศ.นริศร์ บาลทิพย์ |
ผู้ร่วมวิจัย | |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | แหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบพกพา การกระตุ้นการปลอดปล่อยสารยา ไฮโดรเจล |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | ในปัจจุบันมีการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำมาใช้ต่อยอดในกระบวนการรักษาบาดแผลในรูปแบบต่าง ๆ โดยการรักษาบาดแผลที่ถูกต้องนั้นจะต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรวมถึงการดูแลรักษาความสะอาดบาดแผลให้ปราศจากเชื้อโรค และสามารถช่วยเร่งการสมานของบาดแผล สำหรับตัวช่วยในการรักษาบาดแผลที่นิยมนำมาใช้ คือ วัสดุปิดและสมานแผล ซึ่งสามารถดูดซับน้ำเลือดและน้ำหนองที่ออกมาจากบาดแผลได้ ป้องกันการสูญเสียความชื้นจากบาดแผล ทำให้เกิดการสมานแผล และเร่งการสร้างเนื้อเยื่อบริเวณบาดแผลให้ดีขึ้น โดยในวัสดุดังกล่าวจะมีสารออกฤทธิ์หรือตัวยาที่ช่วยในการรักษาบาดแผล อย่างไรก็ตามวัสดุปิดและสมานแผลทั่วไป เมื่อปลดปล่อยตัวยาไปได้สักระยะหนึ่งจะมีการหยุดการแพร่ของตัวยาไปที่แผล เนื่องจากความเข้มข้นของตัวยาในแผ่นแปะแผลมีค่าใกล้เคียงกับความเข้มข้นของตัวยาบริเวณแผล หรือหากโมเลกุลของตัวยามีขนาดใหญ่และเป็นขั้ว จะทำให้ตัวยาไม่สามารถปลดปล่อยออกมาจากวัสดุปิดและสมานแผลได้ ส่งผลให้ประสิทธิภาพของวัสดุปิดและสมานแผลลดลง จากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้มีการพัฒนาการกระตุ้นการปลดปล่อยตัวยาด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งวิธีที่กำลังเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ การกระตุ้นสารออกฤทธิ์หรือตัวยาด้วยไฟฟ้า (Iontophoresis) เพื่อปลดปล่อยสารออกฤทธิ์หรือตัวยาจากวัสดุปิดและสมานแผลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การกระตุ้นการปลดปล่อยสารออกฤทธิ์หรือตัวยาด้วยไฟฟ้ามีหลักการทำงาน คือ การใช้ประจุไฟฟ้าที่เหมือนกันกับสารออกฤทธิ์หรือตัวยา ผลักสารออกฤทธิ์หรือตัวยาจากแผ่นปิดและสมานแผลด้วยแรงผลักทางไฟฟ้า ทำให้สามารถปลดปล่อยสารออกฤทธิ์หรือตัวยาออกมาให้มีปริมาณและเวลาที่เหมาะสมต่อความต้องการได้ อย่างไรก็ตามเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่ใช้ในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูง และเคลื่อนย้ายไม่สะดวก ส่งผลให้การรักษาด้วยวิธีนี้ไม่สามารถเข้าถึงผู้บาดเจ็บทุกรายได้ โดยเฉพาะผู้บาดเจ็บที่มีรายได้น้อย ดังนั้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเทคนิคการรักษาบาดแผลด้วยการกระตุ้นสารออกฤทธิ์หรือตัวยาจากไฮโดรเจลด้วยไฟฟ้า ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะประดิษฐ์แหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบพกพาที่มีต้นทุนต่ำ น้ำหนักเบา พกพาสะดวก และมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าแบบตั้งโต๊ะหรือเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าแบบพกพาที่มีราคาแพง โดยจะทำการออกแบบวงจร และประกอบกันเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบพกพา แล้วนำไปทำการทดสอบผลของแรงดันไฟฟ้าต่อการปลดปล่อยสารออกฤทธิ์หรือตัวยาจากไฮโดรเจลเทียบกับผลการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบตั้งโต๊ะ |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อประดิษฐ์แหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบพกพาต้นทุนต่ำสำหรับการกระตุ้นการปลดปล่อยสารออกฤทธิ์จากไฮโดรเจลปิดแผล 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบพกพาที่ประดิษฐ์ได้ในการกระตุ้นการปลดปล่อยสารออกฤทธิ์จากไฮโดรเจลปิดแผล และเปรียบเทียบกับผลที่ได้กับการกระตุ้นสารออกฤทธิ์เมื่อใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบตั้งโต๊ะ |