-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)รศ.ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Kiattisak Sangpradit
- ตำแหน่งทางวิชาการรองศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันรองศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานสถาบันวิจัยและพัฒนา
- โทรศัพท์0814932XXX
- E-Mail Addresk.sangpradit@gmail.com, k.sangpradit@rmutt.ac.th
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญการออกแบบและวิเคราะห์เครื่องจักรกล, smart farm, renewable energy, robotics, medical device, irrigation design, manufacturing design, The application o
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600095จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | ต้นแบบการบริหารจัดการขยะภายใน มทร.ธัญบุรี |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | A Prototype of waste management in RMUTT |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | รศ.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ |
ผู้ร่วมวิจัย | |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | ระบบแยกขยะ, การทำความสะอาดขยะ, นำขยะกลับมาใช้, ขบวนการไพโรไลซีส, |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | ปัญหาขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศไทยทวีความรุนแรงมากขึ้นตลอดทุกปี เป็นผลเนื่องมาจากขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการการจัดขยะมูลฝอย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) หลายแห่งประสบปัญหาพื้นที่การกำจัดขยะไม่เพียงพอจึงมีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยวิธีเทกองกลางแจ้ง (Open Dump) แต่การการจัดขยะมูลฝอยด้วยวิธีเทกองกลางแจ้ง (Open Dump) มีปัญหาเรื่องกลิ่นรบกวนรุนแรง เป็นการรบกวนผู้ที่อาศัยใกล้เคียง ก่อปัญหาเกี่ยวกับทัศนียภาพ การแพร่กระจายของเชื้อโรค สัตว์และแมลงพาหะนำโรค ได้แก่ หนู แมลงวัน ยุง แมลงสาบ และยังพบปัญหาน้ำชะขยะจากกองขยะ เกิดความเน่าเสียแก่น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน ประกอบกับองค์ประกอบของขยะมูลฝอยในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากอดีตอย่างมาก เศษวัสดุบางอย่างในกองขยะใช้เวลานานกว่าจะย่อยสลาย เช่น โฟม ไม่ย่อยสลาย ผ้าอ้อมเด็ก ชนิดสำเร็จรูปใช้เวลา 500 ปี ถุงพลาสติกใช้เวลา 450 ปี โลหะ กระป๋อง อะลูมิเนียมใช้เวลา 80 - 100 ปี รองเท้าหนังใช้เวลา 25 - 40 ปี ก้นกรองบุหรี่ใช้เวลา 15 ปี ถ้วยกระดาษเคลือบใช้เวลา 5 ปี กระดาษใช้เวลา 2 - 5 เดือน และผ้าฝ้ายใช้เวลา 1 - 5 เดือน เป็นต้น จึงส่งผลให้ปัจจุบันมีปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างสะสม อยู่ในสถานที่กำจัดแบบเทกองกลางแจ้ง (Open Dump) จำนวนมาก และส่งผลกระทบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา เช่น กลิ่นเหม็นรบกวน น้ำเน่าเสีย และเพลิงไหม้สถานที่กำจัดขยะ ดังที่เห็นเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 –2564) มีแนวทางในการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ตามหลักการ 3Rs คือ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ แต่ภายใต้หลัก 3Rs นี้สามารถบริหารจัดการขยะได้เพียงร้อยละ 20 เท่านั้นส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 80 จึงต้องถูกกำจัดด้วยวิธีการแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า แต่ก็ยังประสบปัญหาเรื่องการยอมรับจากชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศมีอยู่ 7,852 แห่ง จะถูกแบ่งให้รวมเป็นกลุ่มพื้นที่ (Cluster) 324 กลุ่ม แบ่งตามปริมาณขยะที่เกิดขึ้น L1 ปริมาณขยะมากกว่า 700 ตัน/วัน L2 ปริมาณขยะมากกว่า 300-700 ตัน/วัน M1 ปริมาณขยะมากกว่า 100-300 ตัน/วัน M2 ปริมาณขยะมากกว่า 50-100 ตัน/วัน และ S ปริมาณขยะมากน้อยกว่า 50 ตัน/วัน ในกลุ่ม L1,L2 ถือว่าเป็นกลุ่มขนาดใหญ่สามารถเลือกเทคโนโลยีเตาเผา(Incinerator) จากต่างประเทศมาใช้กำจัดขยะได้ ในกลุ่ม M1-M2 เป็นกลุ่มขนาดกลางแต่มีปริมาณขยะส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่สามารถลงทุนด้วยเทคโนโลยีเตาเผาจากต่างประเทศได้เนื่องจากมีงบประมาณการลงทุนที่สูง ไม่คุ้มค่าในการลงทุน ดั้งนั้นจึงเป็นโอกาสที่เราจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการกำจัดขยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมขึ้นเองภายในประเทศเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาขยะในภูมิภาคนี้ในอนาคตได้ จากการศึกษาของกรมควบคุมมลพิษพบว่าเทคโนโลยีในการกำจัดขยะที่เหมาะสมในกลุ่ม M1-M2 นี้คือเทคโนโลยี Pyrolysis และ Gasification ซึ่งเหมาะสมทั้งในด้านงบประมาณการลงทุน และ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีหน่วยงานต่างๆที่ทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวมาแล้วในระดับหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีโรงงานต้นแบบที่ให้ชุมชนเข้ามาศึกษาดูงานโรงงานกำจัดขยะที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างโรงงานกำจัดขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของ นักศึกษา และของประชาชนทั่วไปได้เข้ามาศึกษาดูงานจนเกิดการยอมรับของชุมชน มทร. ธัญบุรี มีขยะเกิดขึ้นมากว่า 2000 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการจัดการขยะที่เกิดภายในมหาวิทยาลัย แต่เป็นการจัดจ้างขนไปกำจัดภายนอกมหาวิทยาลัย และการกำจัดดังกล่าวคือการขนไปทิ้งที่บ่อขยะ หรือ เรียกว่า ขบวนการ landfill นั้นเอง ทว่าขบวนการดังกล่าวนั้นเป็นขบวนการที่ไม่เหมาะสมในการกำจัดขยะ อีกทั้งภายในมหาวิทยาลัยเองนั้นยังไม่มีขบวนการหรือวิธีการการจัดการขยะ จึงจำดป็นที่ต้องมีการบริหารการจัดการขยะที่เหมาะสม ดังนั้นโครงการนี้จะมีรูปแบบการบริหารจัดการคือ การแยกขยะ และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบขบวนการ pyrolysis และ Gasification ซึ่งขบวนการดังกล่าวได้มีคณะอาจารย์ นักวิจัยที่ทำเป็น lab scale อยู่แล้ว ฉะนั้นโครงการนี้จะทำการแยกขยะ และ ทำความสะอาด ขยะพลาสติกที่มีจำนวนมากกว่า 60% ของขยะที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย ในรูปแบบ lab scale เข้าไปจัดการกับขบวนการ pyrolysis หรือ Gasification เมื่อโครงการสำเร็จ จะทำการขยายเป็นต้นแบบในการจัดการขยะในมหาวิทยาลัย และ เป็น รูปแบบการกำจัดขยะของมหาวิทยาลัย RMUTT model |
วัตถุประสงค์ | • เป็นศูนย์การเรียนรู้ของนักศึกษา ในหลักสูตรปริญญา ตรี โท และ เอก ของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ • เป็นศูนย์วิจัยด้านการกำจัดขยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม • เป็นแหล่งศึกษาดูงาน ของนักศึกษา อาจารย์ของมหาวิทยาลัย นักวิชาการ และประชาชนที่สนใจ ในการกำจัดขยะโดยการแปรรูปเป็นนำมันดิบหรือ พลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |