ข้อมูลงานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไป

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.สุพิศ บุญลาภ
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Supit Boonlab
    • ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะศิลปศาสตร์
    • โทรศัพท์0899387XXX
    • E-Mail Addressupitwongyanon@yahoo.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญสามารถใช้คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำนักงานได้ดี
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00090
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไป
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ The development for the development of teaching and learning model to promote digital citizenship for general education course.
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ ผศ.สุพิศ บุญลาภ
ผู้ร่วมวิจัย 1. ผศ.ปรรฐมาศ์ พสิษฐ์ภคกุล
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2564
คำสำคัญ รูปแบบการเรียนการสอน พลเมืองดิจิทัล หลักสูตรศึกษาทั่วไป
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในหลากหลายมิติ เช่น การเพิ่มรายได้ การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การเข้าถึงบริการของรัฐ (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร , 2559) ตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมถึงการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัลของประชาชนและภาคสังคม โลกยุคดิจิทัลได้สร้างโอกาสและความท้าทายใหม่ ๆ ให้กับพลเมืองในศตวรรษที่ 21 ทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจ การเมืองและการเรียนรู้ อาจกล่าวได้ว่าเราใช้อินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว กลุ่มอายุ 15-34 ปี เป็นกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ เป็นเครื่องมือการเรียนรู้และการศึกษาในชีวิตประจำวัน ดังเช่นจำนวนคนไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ที่สามารถพกพาได้สะดวก ได้แก่ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต คนไทยเข้าถึงและใช้อินเทอร์เน็ต สถิติ พ.ศ. 2560 คนไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 57 ล้านคนจากประชากรทั้งหมดประมาณ 68 ล้านคน หรือร้อยละ 83.5 (Internet World Stats, 2018) และใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยต่อวันที่ 6 ชั่วโมง 24 นาที หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของเวลาแต่ละวันเลยทีเดียว (สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, 2561) นอกจากนั้นกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราทำล้วนเกี่ยวพันกับอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งปันห้วงเวลาดี ๆ กับเพื่อนในโซเชียลมีเดีย การติดตามข่าวสารบ้านเมือง การค้นหาข้อมูลสุขภาพ การดูทีวีและฟังเพลงออนไลน์ การซื้อสินค้าออนไลน์ รวมถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองในฐานะพลเมือง ต่อมา พ.ศ. 2562 ประเทศไทย มีประชากร 69.24 ล้านคน โดย 50% ของจำนวนประชากรทั้งหมด อาศัยอยู่ในเขตเมือง 57 ล้านคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดย 55 ล้านคนเป็นกลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นประจำ 51 ล้านคนใช้งาน Social Media เป็นประจำ 49 ล้านคน ใช้ Social Media ผ่านโทรศัพท์มือถือ (Marketingoops, 2019) ถ้าจะกล่าวว่าในระดับการใช้งาน อินเทอร์เน็ตคือสื่อที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ อีเมล โซเชียลมีเดีย บล็อก วิดีโอสตรีมมิ่ง ระบบการส่งข้อความทันที (instant messaging) บริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (Voice over Internet Protocol หรือ VOIP) กระดานข่าวออนไลน์ และรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งไม่เพียงแต่สร้างช่องทางการสื่อสารและการเข้าถึงข้อมูลในราคาที่ถูกมาก แต่ยังเป็นเครื่องมือในการปฏิสัมพันธ์ การมีส่วนร่วม และการสร้างความร่วมมือระหว่างกันในระดับโลกอีกด้วย John P. Barlow (2010) กล่าวว่า “ด้วยพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต และความแพร่หลายของการสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรากำลังอยู่ในห้วงเวลาแห่งเทคโนโลยีที่จะนำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดตั้งแต่ที่เรารู้จักการใช้ไฟ” แต่ดูเหมือนคนจำนวนมากจะยังขาดทักษะและความรู้ที่จำเป็นต่อการใช้ประโยชน์จากโอกาสดังกล่าว ยังไม่รู้วิธีลดผลกระทบจากความเสี่ยงในโลกออนไลน์ รวมถึงขาดความเข้าใจเรื่องสิทธิและความรับผิดชอบในโลกยุคดิจิทัล การเป็นพลเมืองดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 จำเป็นอย่างยิ่งต่อบริบทที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติ อายุ ภาษาและวัฒนธรรม พลเมืองดิจิทัลจึงต้องเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม เห็นอกเห็นใจและเคารพผู้อื่น มีส่วนร่วมมุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม เป็นต้น คุณลักษณะเหล่านี้ได้ปรากฎขึ้นอย่างชัดเจนในสังคมไทยแล้วหรือไม่ ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (digital citizenship) คือแนวคิดและแนวปฏิบัติที่สำคัญซึ่งจะช่วยให้พลเมืองเรียนรู้ว่าจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและปกป้องตนเองจากความเสี่ยงต่าง ๆ อย่างไร รวมทั้งรู้จักเคารพสิทธิของตนเองและมีความรับผิดชอบต่อสังคมในโลกสมัยใหม่ ไปจนถึงเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีต่อสังคม และใช้มันเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงบวก ดังนั้นการเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 นั้นแตกต่างจากการเป็นพลเมืองในศตวรรษก่อนหน้า การใช้ชีวิตในสังคมโลกและในสังคมออนไลน์ได้ขยับขยายแนวคิดความเป็นพลเมืองออกไป ความเป็นพลเมืองทุกวันนี้จึงไม่ได้ถูกตีกรอบแคบ ๆ ว่า หมายถึงการไปเลือกตั้งหรือการมีส่วนร่วมกับรัฐบาลของชาติเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับโลกไปพร้อม ๆ กัน ไปจนถึงการใช้ชีวิตในโลกออนไลน์อย่างมีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม และปลอดภัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมีเป้าหมายผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพที่ควบคู่ไปกับสมรรถนะ ทักษะทางสังคม (แผนยุทธศาสตร์ มทร.ธัญบุรี 20 ปี, 2563) บัณฑิตหนึ่งคนที่จะก้าวออกไปเพื่อสร้างประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติไม่ใช่เพียงแค่มีสมรรถนะทางวิชาชีพเท่านั้นสมรรถนะทางสังคมที่พร้อมจะแสดงความรับผิดชอบต่อผู้อื่นที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล นั่นคือ การเป็นพลเมืองดิจิทัลอย่างไรให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร สังคม ประเทศชาติและโลก ดังนั้นการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่ขนานไปกับทักษะวิชาชีพของหลักสูตรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเน้นให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และการที่จะพัฒนาให้ตรงจุดและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนจริง ๆ จึงต้องเป็นการสะท้อนมาจากตัวบัณฑิตที่จบออกไปแล้ว และประชาชนรอบมหาวิทยาลัยที่ได้สัมผัสหรือได้รับผลกระทบจากนักศึกษาในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นการศึกษาหัวข้อ การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล เป็นประเด็นเร่งด่วนที่ต้องศึกษา นำผลการวิเคราะห์ที่ได้เป็นรูปแบบการพัฒนาที่มีนัยสำคัญไปประกอบการสร้างหลักสูตรของมหาวิทยาลัยต่อไป
วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 5.1 เพื่อสำรวจทักษะการเรียนรู้ดิจิทัลของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 5.2 เพื่อวิเคราะห์รูปแบบที่มีประสิทธิภาพของการเป็นพลเมืองดิจิทัลในยุคศตวรรษที่ 21