-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.กัญญาณัฐ เปลวเฟื่อง
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Kanyanat Peawfaeng
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
- โทรศัพท์061-5299XXX
- E-Mail Addresp.kanyanat@gmail.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญนวัตกรรมการเรียนรู้ เทคโนโลยีสื่อ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600035จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การบริหารจัดการสื่อและจัดสรรข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและพัฒนาแนวทางส่งเสริมสุขภาวะชุมชนพื้นที่ต้นแบบเคหะคลองหก |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Media management and spatial allocation data to study the community context and develop a guideline on promoting community health in the Kheha Rangsit Khlong 6 |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.กัญญาณัฐ เปลวเฟื่อง |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.เดชรัชต์ ใจถวิล |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | แพลตฟอร์ม แหล่งเรียนรู้ ฐานชุมชน การบริหารจัดการสื่อ |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | สำหรับพื้นฐานของชุมชนที่พบว่า ยังไม่มีกระบวนการทำงานภายในชุมชนที่เป็นลักษณะแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่เป็นระบบในลักษณะที่สามารถจะบูรณาการในการใช้งานได้ครบรูปแบบของชุมชนในสุขภาวะเป้าประสงค์ที่ชุดงานวิจัยต้องการศึกษาเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบองค์รวมของชุมชนได้ ซึ่งโครงสร้างการพัฒนาพื้นฐานเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือ ที่อาจประกอบไปด้วยสิ่งที่เป็นความรู้สึกภายในหรือจุดร่วมที่เกิดจากชุมชนเองทั้งในเรื่องของการใช้ประโยชน์ทั้งสินค้า บริการ ในลักษณะต่างๆ เพื่อให้สามารถทำให้เกิดกระบวนการบูรณาการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ด้วยการเริ่มต้นจากการมีส่วนร่วมของชุมชนเอง เพื่อให้พัฒนาการของชุมชนดำรงอยู่และก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป ปัจจุบัน “ภูมิทัศน์สื่อ” เปลี่ยนไปอย่างมากและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนรวมถึงประชาชนส่วนใหญ่มากขึ้น จากสื่อที่เคยอยู่ในการกำกับของรัฐ หรือสื่อของภาคธุรกิจที่โฆษณาสินค้าเพื่อทำกำไรที่เกิดขึ้นโดยที่ชุมชนเป็นเพียงผู้รับสื่อเพียงอย่างเดียว การเกิดสื่อใหม่นั้นทำให้ชุมชนสามารถสื่อสารเรื่องราวของตนเองได้ด้วยตนเองอย่างมากขึ้นตามลำดับ แม้กระทั่งการถ่ายทอดสดที่ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์หรืองบประมาณที่มีมูลค่ามหาศาลก็สามารถทำได้จากโทรศัพท์สมาร์ทโฟนหรือมือถือที่สามารถทำได้ทุกคน ทำให้ชุมชนมีโอกาสที่สร้างพลังการสื่อสารได้ด้วยตนเอง การประยุกต์แนวคิดนี้เพื่อจะนำมาสู่การพัฒนาพัฒนารูปแบบอัตลักษณ์ของชุมชนตลาดเคหะ คลองหก จังหวัดปทุมธานี เพื่อนำไปสู่แนวทางการจัดการด้วยตนเองของชุมชนพื้นที่ต้นแบบเคหะรังสิต ซึ่งพบว่า เป็นชุมชนที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันของกลุ่มคนหลายกลุ่มทั้งที่เป็นกลุ่มที่เป็นชุมชนดั้งเดิมประจำและกลุ่มที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยที่จะไม่ได้อยู่ประจำ ทำให้เรื่องราวความเป็นไปของชุมชนมีการเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลง อีกทั้งมีกิจกรรมสังคมที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาและอาจทำให้ขาดความต่อเนื่องและเชื่อมโยงคนแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกัน ความหลากหลายและความแตกต่างของคนทำให้เกิดสังคมเดี่ยวที่ต่างคนต่างอยู่ การพัฒนารูปแบบเพื่อให้มีเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่คนในชุมชนหรือในกลุ่มนั้นมีความเห็นพ้องต้องการและเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวจึงจะทำให้ชุมชนเกิดความเข็มแข็งและสามารถพัฒนาตนเองต่อไปได้อย่างยั่งยืน โดยการนำเอาแนวคิดเรื่องการพัฒนาเอกลักษณ์ชุมชนรูปแบบของ Melewar and Jenkins (2002) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้เกิดการเชื่อมโยงชุมชนตลาดเคหะโดยใช้อัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมลักษณะเฉพาะตนของชุมชนเมืองน่าอยู่อย่างสร้างสรรค์ โดยเน้นในส่วนของรูปแบบของการสื่อสารและอัตลักษณ์ ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมชุมชน วัฒนธรรมองค์กรหรือกลุ่มชุมชน ในสภาวการณ์ของชุมชนตลาด |
วัตถุประสงค์ | 1.เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและพัฒนาแนวทางส่งเสริมสุขภาวะชุมชนพื้นที่ต้นแบบเคหะคลองหก 2.พัฒนารูปแบบอัตลักษณ์ของชุมชนตลาดเคหะ คลองหก จังหวัดปทุมธานี 3.เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการเชื่อมโยงชุมชนตลาดเคหะโดยใช้อัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมลักษณะเฉพาะตนของชุมชน |