ข้อมูลงานวิจัย การพัฒนาความละเอียดของเส้นใยผักตบชวาเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์กลุ่มตลาดรักษ์โลกสู่เชิงพาณิชย์

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)รศ.ดร.สาคร ชลสาคร
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)รศ.ดร.Sakorn Chonsakorn
    • ตำแหน่งทางวิชาการ-
    • ตำแหน่งปัจจุบันรองศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
    • โทรศัพท์0866184XXX
    • E-Mail AddresCsakorn@hotmail.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญงานสอน และ งานวิจัย
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00056
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การพัฒนาความละเอียดของเส้นใยผักตบชวาเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์กลุ่มตลาดรักษ์โลกสู่เชิงพาณิชย์
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Development of Water Hyacinth Fiber Fineness for Save World Lifestyle to Commercial Products
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมวิจัย 1. ผศ.ชนากานต์ เรืองณรงค์
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ ความละเอียดเส้นใย, เส้นใยผักตบชวา, ไลฟ์สไตล์, รักษ์โลก
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล จังหวัดปทุมธานี เป็นแหล่งวัตถุดิบผักตบชวาในแม่น้ำลำคลอง จากคลองรังสิต ตำบลคลองหก อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีการตัดเก็บต้นผักตบชวาจากแม่น้ำลำคลอง หลังจากการขุดลอกจากหน่วยงานของทั้งภาครัฐและเอกชน ควรนำมาตัดเก็บต้นผักตบชวา เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยปกติการนำต้นผักตบชวาขึ้นมาจากลำคลอง ตัดส่วนรากและส่วนใบออก คงเหลือเพียงส่วนของลำต้นก้านหรือลำต้น คัดเลือกจากความยาวของลำต้นประมาณ 50 เซนติเมตร ผักตบชวาสด 1 กิโลกรัมจะมีประมาณ 12-15 ต้น นำมาล้างน้ำให้สะอาด สามารถนำมาแยกเส้นใยผักตบชวาด้วยเครื่องแยกแบบกึ่งอัตโนมัติ ใช้หลักการหมุนขูดเปลือกลำต้นชั้นนอกของผักตบชวาออก เส้นใยที่ให้ผลผลิตเส้นใยแบบยาว (long staple fiber) มีลักษณะเป็นกลุ่มเส้นใย จากนั้นนำเส้นใยผักตบชวาผึ่งลมให้แห้ง ลักษณะและสมบัติเส้นใยจากผักตบชวาที่ได้จากการแยกสกัดทางเชิงกลพบว่า เส้นใยมีความยาว 30-50 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 µm สีขาว ครีม พื้นผิวเส้นใยมีลักษณะสลับซับซ้อน ความรู้สึกนุ่มจากการจับสัมผัส มีความละเอียด 48.55 (ดีเนียร์) ความแข็งแรงต่อแรงดึงขาด 58.62 (กรัมแรงต่อดีเนียร์) และการยืดตัวก่อนขาด 7.72 (%) ผ้าถือเป็นวัตถุดิบในการผลิตอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ามวลรวมที่สูงมากประเภทหนึ่งของประเทศไทย และมีบทบาทสำคัญในการนำเงินตราเข้าประเทศอย่างต่อเนื่องเป็นรองแค่เพียงอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบเท่านั้น อุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอไทยประกอบด้วยอุตสาหกรรมย่อยหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่ต้นน้ำ (Up-stream) เช่น อุตสาหกรรมปั่นด้าย อุตสาหกรรมทอผ้าและถักผ้า อุตสาหกรรมกลางน้ำ (Mid-stream) เช่นอุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์ และตกแต่งสำเร็จ และอุตสาหกรรมปลายน้ำ (End-stream) เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นต้น ดังนั้นการสร้างต้นแบบ (Prototype) และการทดสอบ (Test) ขั้นตอนทดสอบคุณภาพเส้นใยให้มีความละเอียด พัฒนาเส้นใยผักตบชวาเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สตาร์กลุ่มตลาดรักษ์โลกสู่เชิงพาณิชย์ ต่อยอดผลิตภัณฑ์โดยคุณค่าของการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ผักตบชวาในประเทศไทย
วัตถุประสงค์ 1 เพื่อจำแนกลักษณะเส้นใยผักตบชวาในแต่ละสายพันธุ์ ด้วยเครื่องแยกทางเชิงกล 2 เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านความละเอียดของเส้นใยผักตบชวา 3 เพื่อศึกษาลักษณะและสมบัติทางกายภาพของเส้นใยผักตบชวา 4 เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ต้นแบบเพื่อตอบโจทย์กลุ่มตลาดรักษ์โลกในเชิงพาณิชย์