ข้อมูลงานวิจัย การพัฒนาเส้นใยธรรมชาติเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าสู่เชิงพาณิชย์: กรณีศึกษาห่วงโซ่การผลิตเส้นใยผักตบชวาผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมคลองรังสิตปทุมธานี

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)รศ.ดร.สาคร ชลสาคร
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)รศ.ดร.Sakorn Chonsakorn
    • ตำแหน่งทางวิชาการ-
    • ตำแหน่งปัจจุบันรองศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
    • โทรศัพท์0866184XXX
    • E-Mail AddresCsakorn@hotmail.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญงานสอน และ งานวิจัย
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00099
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การพัฒนาเส้นใยธรรมชาติเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าสู่เชิงพาณิชย์: กรณีศึกษาห่วงโซ่การผลิตเส้นใยผักตบชวาผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมคลองรังสิตปทุมธานี
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Developing and creating value-added products from waste vinyl to generate income for communities in Pathum Thani Province
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมวิจัย
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ เส้นใยธรรมชาติ, ผักตบชวา, นวัตกรรมชุมชน, รังสิตปทุมธานี, รักษ์โลก
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล ปัญหาที่พบ คือ ต้นทุนในการผลิตเส้นใยผักตบชวามีราคาสูง อัตลักษณ์ไม่ชัดเจน เส้นใยผักตบชวาเป็นเส้นใยที่มีขนาดใหญ่ทำให้เกิดปัญหาต่ออัตราส่วนผสมในการปั่นเส้นด้าย และผิวสัมผัส จึงได้จัดทำโครงการ “เรื่องการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าสู่เชิงพาณิชย์ : กรณีศึกษาห่วงโซ่การผลิตเส้นใยผักตบชวาผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมคลองรังสิตปทุมธานี” เพื่อแก้ไขปัญหา ด้านราคาของเส้นใยผักตบชวาที่มีราคาสูง ไม่สามารถแข่งกับตลาดเส้นใยธรรมชาติชนิดอื่น ใช้การลดต้นทุนในกระบวนการต่างๆ ในการผลิตเส้นใยผักตบชวา ให้มีต้นทุนเทียบเท่ากับเส้นใยฝ้าย โดยทำการศึกษาเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำจัดแหล่งผักตบชวาของคลองรังสิตปทุมธานี และออกแบบและสร้างเครื่องแยกเส้นใยธรรมชาติแบบกึ่งอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพในการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ส่วนการแก้ปัญหาในด้านความละเอียดของเส้นใยผักตบชวาที่มีขนาดใหญ่ทำให้เกิดปัญหาต่ออัตราส่วนผสมในการปั่นเส้นด้าย ซึ่งการพัฒนาด้านความละเอียดของเส้นใยผักตบชวา พัฒนาผิวสัมผัสของเส้นใยผักตบชวา ให้มีขนาดเส้นใยผักตบชวาเล็กลง เพราะจะได้เส้นใยผักตบชวาที่ได้ปรับปรุงนำมาต่อยอดเป็นผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็ก และผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นสำเร็จรูปสู่เชิงพาณิชย์ ส่วนเส้นใยที่เหลือจากการปั่นเส้นด้ายสามารถนำมาผลิตเป็นแผ่นจักสานเพื่องานตกแต่งภายใน วัสดุผนังวอลเปเปอร์ ผลิตภัณฑ์โซฟาปรับนอน จากนั้นนำนวัตกรรมทั้ง 7 โครงการ มาถ่ายทอดองค์ความรู้ และสร้างนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการและนักวิจัยรุ่นใหม่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและสุดท้ายศึกษาเรื่องคุณค่าของผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมในการเสริมสร้างพฤติกรรมการซื้อสีเขียวของลูกค้า
วัตถุประสงค์ 3.1 สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำจัดแหล่งผักตบชวาของคลองรังสิตปทุมธานี 3.2 ออกแบบและสร้างเครื่องแยกเส้นใยธรรมชาติแบบกึ่งอัตโนมัติ 3.3 พัฒนาความละเอียดของเส้นใยผักตบชวาเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์กลุ่มตลาดรักษ์โลกสู่เชิงพาณิชย์ 3.4 ผลิตแผ่นจักสานจากเส้นใยผักตบชวาเพื่องานตกแต่งภายใน 3.5 พัฒนาวัสดุผนังวอลเปเปอร์จากเส้นใยผักตบชวา 3.6 พัฒนาผลิตภัณฑ์โซฟาปรับนอนจากเส้นใยผักตบชวา 3.7 ผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นสำเร็จรูปจากผ้าผักตบชวาสู่เชิงพาณิชย์ 3.8 พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กจากเส้นใยผักตบชวา 3.9 สร้างนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการและนักวิจัยรุ่นใหม่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 3.10 คุณค่าเชิงนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ในการเสริมสร้างพฤติกรรมการซื้อสีเขียวของลูกค้า : กรณีศึกษาคุณค่าของการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ผักตบชวาในประเทศไทย