ข้อมูลงานวิจัย การต้านทานการถูกกัดเซาะคันตลิ่งของดินกระจายตัวโดยใช้นวัตกรรมแผ่นผสมโพลิเมอร์ชีวภาพจากฟางข้าวเคลือบด้วยไคโตซาน

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.สมพิศ ตันตวรนาท
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.Sompit Deeboonno
    • ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะวิศวกรรมศาสตร์
    • โทรศัพท์0835435XXX
    • E-Mail Addressompit.t@en.rmutt.ac.th
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญสอน
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00039
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การต้านทานการถูกกัดเซาะคันตลิ่งของดินกระจายตัวโดยใช้นวัตกรรมแผ่นผสมโพลิเมอร์ชีวภาพจากฟางข้าวเคลือบด้วยไคโตซาน
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ THE RESISTANCE OF DISPERSIVE SOILS TO RIVERBANK EROSION BY USING INNOVATIVE BIOPOLYMER CHITOSAN BLEND SHEETS INCORPORATED WITH RICE STRAW
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ ผศ.วีระศักดิ์ ละอองจันทร์
ผู้ร่วมวิจัย 1. ผศ.กุลยา สาริชีวิน
2. ผศ.สมพิศ ตันตวรนาท
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2562
คำสำคัญ การกัดเซาะคันตลิ่ง, ดินกระจายตัว, โพลิเมอร์ชีวภาพ, ไคโตซาน, ฟางข้าว
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล พื้นที่จังหวัดปทุมธานีเป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ตั้งอยู่บนสองฝั่งของลำน้ำเจ้าพระยา ซึ่งไหลผ่านใจกลางจังหวัด มีคลองแยกออกมาก เป็นคลองซอยไหลผ่านอาณาบริเวณต่างๆ มีถนนหลักเลียบริมฝั่งคลองหลายเส้นทาง รวมทั้งอัตราการขยายตัวของสังคมเมือง จึงนำมาซึ่งปัญหาเกี่ยวกับ ดินทรุด ตลิ่งพัง เนื่องมาจากกระแสน้ำกัดเซาะ อีกทั้งการจราจรที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงสภาพดินบริเวณจังหวัดปทุมธานีทางด้านเทคนิคธรณีเป็น ดินกระจายตัว (dispersive soil) ดินชนิดนี้เป็นดินเหนียวมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเม็ดดินดี น้ำซึมผ่านได้ยาก (impervious) แต่เมื่อมีน้ำซึมผ่านเข้าไปในรอยแยกระหว่างดิน (fissure) ก็จะทำให้เกิดความไม่สมดุลของประจุบวกที่เกาะอยู่บนผิวของอนุภาคดินเหนียว ระบบจึงมีการจัดเรียงตัวใหม่ทำให้เม็ดดินอยู่ในสภาพที่แยกออกจากกันโดยง่าย ซึ่งเมื่อดินกระจายตัวออกแล้วน้ำจะสามารถไหลซึมผ่าน เข้าไปในเนื้อดินได้เพิ่มขึ้นกลายเป็นดินพังง่าย (erodible soil) จนเกิดกระบวนการกัดเซาะและพัดพาซึ่งก่อให้เกิดปัญหาขึ้น ปัญหาจากกระบวนการกัดเซาะนี้อาจจะเกิดอยู่ใต้ดินหรือผิวดิน เมื่อเกิดที่ผิวดินก็จะเห็นเป็นร่องรอยการถูกกัดเซาะอย่างชัดเจน แต่ถ้ากระบวนการกัดเซาะอยู่ใต้ผิวดินก็มักจะก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรงมากกว่า งานวิจัยนี้จะเริ่มจากการศึกษาถึงคุณสมบัติและพฤติกรรมทางวิศวกรรมของดินบริเวณริมตลิ่งจังหวัดปทุมธานีที่เกิดปัญหาการทรุดตัวและการพังทลาย เพื่อนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยใช้การพัฒนานวัตกรรมที่ทำมาจากวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรในพื้นที่คือ ฟางข้าว นำมาสร้างนวัตกรรมแผ่นผสมโพลิเมอร์ชีวภาพจากฟางข้าวเคลือบไคโตซานที่ได้จากเปลือกกุ้งซึ่งเป็นเศษเหลือทิ้งจากโรงงานอาหารแช่แข็ง โดยนำนวัตกรรมที่ได้นี้ไปปรับปรุงคุณภาพดินทางวิศวกรรมให้ดีขึ้นและยังสามารถลดปัญหาดินทรุด ดินพังทลาย ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ที่มีแม่น้ำไหลผ่านโดยมีทั้งแหล่งน้ำผิวดินและใต้ผิวดิน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและหน่วยงานของรัฐ ให้คำนึงถึงสิ่งปลูกสร้างที่ใกล้น้ำ เช่น เขื่อน ฝาย คลอง อาคาร ถนน ให้มีความปลอดภัย แข็งแรง และสิ่งปลูกสร้างที่จะเกิดขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพทางวิศวกรรมของดินบริเวณนี้ เพื่อให้สิ่งปลูกสร้างมีอายุการใช้งานที่นานขึ้น รวมทั้งนวัตกรรมที่ใช้เป็นนวัตกรรมที่ได้จากสิ่งเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่เป็นหลักและสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ จึงเป็นการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อีกด้วย
วัตถุประสงค์ 1. ศึกษารูปแบบและลักษณะของปัญหาเนื่องจากการกัดเซาะโดยน้ำของโครงสร้างดินเหนียวบริเวณจังหวัดปทุมธานี 2. ศึกษาคุณสมบัติและพฤติกรรมทางวิศวกรรมของดินเหนียวกระจายตัวบริเวณจังหวัดปทุมธานี 3. พัฒนานวัตกรรมแผ่นผสมโพลิเมอร์ชีวภาพจากฟางข้าวเคลือบไคโตซานเพื่อเพิ่มเสถียรภาพทางด้านกำลังรับแรงภายนอกและการต้านทานการถูกกัดเซาะโดยน้ำของดินเหนียวกระจายตัวบริเวณจังหวัดปทุมธานี

เว็บไซต์ มทร.ธัญบุรี ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้