-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.นันท์ชนก นันทะไชย
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Nunchanok Nanthachai
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะเทคโนโลยีการเกษตร
- โทรศัพท์0851723XXX
- E-Mail Addreseaye22@yahoo.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญชีววิทยา
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600049จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากชิ้นผักตัดแต่งตกเกรดจากโรงงานตัดแต่งผักและผลไม้ |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Product development of snack from vegetable residues from fresh cut manufactory |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.นันท์ชนก นันทะไชย |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.ปาลิดา ตั้งอนุรัตน์ |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | ขนมขบเคี้ยว เส้นใย การยับยั้งอนุมูลอิสระ |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | ขนมขบเคี้ยว (snack food) หรืออาจเรียกว่า อาหารว่างเป็นอาหารที่มักรับประทาน ระหว่าง มื้อในยามพักผ่อนหรือยามว่าง หรือจัดให้รับประทานในงานเลี้ยงสังสรรค์ มักทำจากมันฝรั่ง ข้าว ข้าวโพด ถั่ว เนื้อ หรือปลา นำมาปรุงรสแล้วผ่านกรรมวิธีต่างๆ เช่น อบ หรือทอด แล้วนำมาฉีกหรือรีดเป็นเส้นหรือแผ่นบาง ขนมขบเคี้ยวเป็นรูปแบบของอาหารที่ไม่ได้เป็นมื้อหลักของวัน แต่เป็นอาหารที่มีไว้เพื่อระงับความหิวระหว่างมื้อ และให้พลังงานแก่ร่างกายได้เล็กน้อย ปัจจุบันคนไทยให้ความสนใจด้านสุขภาพมากขึ้น จึงต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวให้มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มมากขึ้น จังหวัดปทุมธานี เป็นเขตพื้นที่ที่มีการจัดตั้งธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารผักและผลไม้มากที่สุดในเขตภูมิภาค คือ 243 ราย (ข้อมูลปี 2561) และยังเป็นสถานที่ตั้งของตลาดผักและผลไม้ทั้งค้าส่งและค้าปลีกที่สำคัญของประเทศนอกจากนี้ยังมีโรงคัดแยกและบรรจุผักและผลไม้ รวมทั้งโรงงานตัดแต่งผักและผลไม้อีกด้วย บริษัท มามา เทรดดิ้ง จำกัด (MAMA TRADING CO.,LTD) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภท ผัก-ผลไม้ ตัดแต่งตามสเปค ทั้งแช่เย็นและแช่แข็ง มีประสบการณ์ในสายการผลิตอาหารเพื่อผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตามผักและผลไม้ตัดแต่งไม่ได้ตามมาตรฐานตามที่ลูกค้าต้องการก็มีอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน ทำให้เกิดเป็นเศษวัสดุเหลือทิ้งจำนวนมาก ซึ่งผักและผลไม้เหล่านี้เป็นของที่ยังมีคุณภาพดีสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและจัดจำหน่ายเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัทได้ ปัญหาที่สำคัญของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์อาหารผักและผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นในโรงงานคัดและบรรจุผักและผลไม้ หรือ โรงงานตัดแต่งผักและผลไม้ คือ การเหลือทิ้ง/ใช้ของผักและผลไม้ที่เกิดขึ้นจากการคัดเลือกและตัดแต่ง โดยมีปริมาณไม่ต่ำว่า 20-200 กิโลกรัมต่อวัน การนำผักและผลไม้เหลือทิ้ง/ใช้มาเพิ่มมูลค่าโดยการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีรายได้และกำไรที่เพิ่มสูงขึ้น ลดการเหลือทิ้งของผักและผลไม้ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนในการกำจัดของเสียของสถานประกอบการอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้อาจเกิดการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในเขตพื้นที่ชุมชนอีกด้วย ดังนั้นการนำผักตัดแต่งตกเกรดมาแปรรูปเป็นขนมขบเคี้ยว จึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตผลทางการเกษตร นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวใหม่ที่มีรสชาติอร่อย สีสันน่ารับประทาน และมีคุณค่าทางโภชนาการอาหารเพิ่มขึ้นอีกด้วย |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อศึกษาสูตรที่เหมาะสมสำหรับผลิตขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ 2. เพื่อศึกษาอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากผักรวม 3. เพื่อพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ |