-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.นันท์ชนก นันทะไชย
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Nunchanok Nanthachai
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะเทคโนโลยีการเกษตร
- โทรศัพท์0851723XXX
- E-Mail Addreseaye22@yahoo.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญชีววิทยา
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600046จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การใช้กรดออกซาลิกและเมทิลจัสโมแนสหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดอาการสะท้านหนาวในโหระพา |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Use of oxalic acid and methyl jasmonate after harvesting for chilling Injury reduction of sweet basil |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.นันท์ชนก นันทะไชย 2. ผศ.ปาลิดา ตั้งอนุรัตน์ |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | กรดออกซาลิก เมทิลจัสโมแนส โหระพา |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | ในจังหวัดปทุมธานีนั้นมีตลาดผักและผลไม้ขนาดใหญ่ ทั้งตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไอยรา และตลาดรังสิต เป็นต้น ซึ่งตลาดเหล่านี้เป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ทั้งยังมีโรงคัดแยกและบรรจุผักและผลไม้ รวมทั้งโรงงานตัดแต่งผักและผลไม้อีกด้วย นอกจากภาคธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารผักและผลไม้แล้ว ยังมีกลุ่มวิสาหกิจประกอบการด้านผลิตภัณฑ์อาหารผักและผลไม้ที่อยู่ในพื้นที่ มีรายงานว่าหนึ่งในปัญหาที่สำคัญของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์อาหารผักและผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นในโรงงานคัดและบรรจุผักและผลไม้ หรือ โรงงานตัดแต่งผักและผลไม้ คือ การเหลือทิ้ง/ใช้ของผักและผลไม้ที่เกิดขึ้นจากการคัดเลือกและตัดแต่ง โดยมีปริมาณไม่ต่ำว่า 20-200 กิโลกรัมต่อวัน ใบโหระพาเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่ได้รับความนิยมและมีประโยชน์ ใบสดใช้เป็นเครื่องปรุงหรือเครื่องเทศในซอสสตูว์สลัดผักดองน้ำส้มสายชูและน้ำมันหอม โหระพาสดหรือแห้งใช้ในการปรุงแต่งรสชาติอาหารอิตาเลี่ยนเมดิเตอร์เรเนียนเวียดนามและไทย ในอาหารไทยใบอ่อนและยอดอ่อนจะถูกกินเป็นผักสดเสิร์ฟพร้อมกับอาหารรสเผ็ดเช่น ลาบ (สลัดเนื้อกับมิ้นต์), ก๋วยเตี๋ยวเนื้อหรือแกงเผ็ด นอกจากนี้ใบโหระพายังเป็นแหล่งสำคัญของคลอโรฟิลล์ สารต้านอนุมูลอิสระ คุณค่าทางโภชนาการของใบโหระพานี้ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค ปริมาณโหระพาที่ส่งออกจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศมีมูลค่าประมาณ 4.7 ล้านบาท ประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญคือ สหราชอาณาจักรฝรั่งเศส ไต้หวัน เยอรมนี เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ดังนั้นศักยภาพในการส่งออกของโหระพาจึงมีแนวโน้มที่ดี อย่างไรก็ตามความสำเร็จในการเพิ่มการค้าต่างประเทศของใบโหระพาขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ผลิตในการรักษาและควบคุมคุณภาพของการผลิต ปัญหาหลักของโหระพามีอายุการเก็บรักษาสั้น ใบมีสีน้ำตาล เกิดอาการสะท้านหนาวเมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ สภาพการเก็บและระยะเวลาการขนส่งที่ไม่เหมาะสมซึ่งส่งผลให้อายุการเก็บรักษา วิธีการลดอาการสะท้านหนาว และการเกิดสีน้ำตาลรวมทั้งการยืดอายุการเก็บรักษามีรายงานว่าการใช้กรดออซาลิก และสารเมทิลจัสโมแนสเพื่อช่วยยืดอายุในหน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี่ แครอท ผักกาดหอมห่อ ผักชีฝรั่ง ถั่ว มันฝรั่ง และมะเขือเทศ โดยกรดออกซาลิก (oxalic acid) เป็นสารธรรมชาติที่อยู่ในพืช กรดดังกล่าวสามารถไปจับกับโลหะทองแดงของเอนไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดส ทำให้เอนไซม์ไม่สามารถที่จะทำงานได้ มีรายงานว่ากรดออกซาลิกแสดงการยับยั้งแบบแข่งขันต่อเอนไซม์ โพลีฟีนอลออกซิเดสที่สกัดได้จากเห็ด อาร์ติโชค ขึ้นฉ่าย ผลลิ้นจี่ ผลท้อ และผลลองกองได้ ส่วน เมทิลจัสโมแนสเป็นสารที่กระตุ้นให้พืชเกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในการป้องกันตัวเอง ควบคุมการเกิดอาการสะท้านหนาวในผลสับปะรด และผลพีช มีการใช้สารนี้ในการรักษาคุณภาพผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวและถูกยอมรับว่าเป็นสารเคมีที่มีความปลอดภัย ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กรดออกซาลิกและเมทิลจัสโมแนสหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดอาการสะท้านหนาวในใบโหระพา |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อศึกษาผลของกรดออกซาลิกและเมทิลจัสโมแนสต่อคุณภาพของใบโหระพา 2. เพื่อศึกษาผลของการใช้กรดออกซาลิกและเมทิลจัสโมแนสร่วมกับสภาพบรรยากาศดัดแปลงต่อคุณภาพของใบโหระพา 3. เพื่อศึกษาสภาวะการเก็บรักษาต่อคุณภาพของใบโหระพา |