-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.สุภาวดี ปาทาธนานนท์
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Supawadee Patathananone
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- โทรศัพท์0971539XXX
- E-Mail Addresjikkalobc11@gmail.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญBiochemlstry, Anticancer, Antimcrobial, Immunology, Pasten, Purifloatfow
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600065จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การจัดการวัตถุดิบ และวัสดุเหลือใช้ในชุมชน ด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างยั่งยืน |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Management raw material and waste material in the community by using the knowledge of Science and Technology for sustainable developing the quality of life and community environmental |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.สุภาวดี ปาทาธนานนท์ |
ผู้ร่วมวิจัย | |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | จัดการของเสีย, วัสดุดูดซับ, นาโนบับเบิ้ล, ผลิตภัณฑ์อินทรีย์, อาหารชีวภาพ |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | จังหวัดปทุมธานี เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่แนวยาวประกอบด้วย อำเภอ และตำบล ซึ่งในหลายพื้นที่ของจังหวัดปทุมธานี มีทั้งส่วนของเกษตรกรรม อุตสาหกรรม รวมทั้ง SME และ วิสาหกิจชุมชนหลายขนาด จากลักษณะชุมชนแบบผสมผสานเหล่านี้ ส่งผลให้ระบบการจัดการของเสียในชุมชน มีความยุ่งยากเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากพบปัญหาของการจัดการของเสียในหลายมิติ ทั้งของเสียจากบ้านเรือน ของเสียจากร้านค้าชุมชน ของเสียจากภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ของเสียที่เป็นวัตถุดิบที่ผ่านการแปลรูป โดยเฉพาะ วัตถุดิบเหลือใช้จากภาคเกษตรกรรม โดยพบว่าของเสียและวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรจากพื้นที่จังหวัดปทุมธานี มาจากหลายแหล่ง ทั้งกลุ่มผัก ผลไม้ กลุ่มที่มาจากกระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว นอกจากนั้น ยังมีวัตถุดิบที่มาจากอุตสาหกรรมแปลรูปวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น การแปลรูปไม้ การแปลรูปผัก ผลไม้ วัตถุดิบเหลือทิ้งจากการแปรรูปสัตว์น้ำ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันนี้ จังหวัดปทุมธานี มีแนวนโยบายด้านการจัดการวัสดุทางการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร และวัสดุเหลือใช้จากชุมชน เพื่อสร้างให้เมืองปทุมธานีในหลายพื้นที่ เป็นเขตพื้นที่เมืองน่าอยู่ โดยดำเนินการภายใต้แผนพัฒนาประเทศ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาชุมชนของจังหวัดปทุมธานี ทีมวิจัยจึงได้ออกแบบการจัดการด้านวัสดุเหลือใช้ในชุมชน ขยะ และของเสียจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยการนำองค์ความรู้ด้านการวิจัยทั้งในส่วนของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ บูรณาการเพื่อเข้ามาพัฒนา แปรรูป และจัดการวัสดุในชุมชน เพื่อตอบสนองต่อผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ-หลัก (Key Result) ของแพลตฟอร์ม นั่นคือ 1) เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีขีดความสามารถในการจัดการตนเอง ในมิติด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ 2) ชนชนมีศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อมของชุมชนด้วยความรู้และนวัตกรรม 3) มีการสร้างความรู้และนำความรู้ไปใช้ในการจัดการปัญหาในชุมชน และที่สำคัญคือโครงการวิจัยสามารถพัฒนาให้เกิดนักวิจัยชาวบ้าน/นวัตกรชาวบ้าน 1,000 คน/ปี งานวิจัยนี้จึงได้บูรณาการศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และด้านวิศวกรรมวัสดุ เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาของชุมชน ด้านการจัดการของเสียและวัสดุเหลือทิ้ง โดยการแปรรูปเป็นวัสดุดูดซับเพื่อใช้บำบัดน้ำในชุมชน และใช้เป็นอาหารชีวภาพให้กับพืชและสัตว์ รวมทั้งการพัฒนาเป็นวัสดุผสมที่สามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์และนำมาใช้งานในเชิงโครงสร้าง หรือสถาปัตยกรรม ให้กับชุมชนได้ ซึ่งงานวิจัยนี้ จะสามารถช่วยให้ชุมชน มีองค์ความรู้ด้านการจัดการของเสีย และวัสดุเหลือทิ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการสร้างสรรค์และออกแบบนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน ซึ่งเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนในการเรียนรู้และรับปรับใช้นวัตกรรม สามารถนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงและจัดการปัญหาในชุมชน และพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน |
วัตถุประสงค์ |