-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.สโรชรัตน์ ธราพร
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Sarochrus Tarapond
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะศิลปศาสตร์
- โทรศัพท์0652359XXX
- E-Mail Addrestassa.tara@gmail.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญ
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600053จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การพัฒนาหลักสูตรนานาชาติศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพนานาชาติ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Development of International Bachelor of Arts Program in English for International Professions of Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Thanya Buri |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.สโรชรัตน์ ธราพร |
ผู้ร่วมวิจัย | |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2564 |
คำสำคัญ | หลักสูตรนานาชาติศิลปศาตรบัณฑิต, ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพนานาชาติ |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | สภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่มีอย่างหลากหลายและรวดเร็วซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากอดีต สู่ยุคปัจจุบันและสถานการณ์ในอนาคตที่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงไปจนยากที่จะทำนาย อันมีเหตุปัจจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการพัฒนาความก้าวหน้าด้านปัญญาประดิษฐ์เป็นหลัก ส่งผลให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ในการใช้ชีวิตของประชากรที่ต้องมีการปรับตัวกับปัญหาและอุปสรรคและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เป็นปรากฏการณ์อยู่ในปัจจุบัน การติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างหลากหลายและเชื่อมโยงกันกับทุกประเทศในโลก ทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ในกลุ่มสังคมต่างๆเปลี่ยนวิถีไปและเพื่อให้มีชีวิตรอดและสืบทอดภูมิปัญญาสู่มนุษย์ในรุ่นต่อไป การจัดการศึกษาให้กับมนุษย์ในสังคมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความรู้ ทักษะทางปัญญา ตลอดจนทักษะการสื่อสารที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและการดำรงชีวิตในสังคมนานาชาติต่อไปได้ การที่สังคมนานาชาติที่ทุกประเทศและกลุ่มสังคมในโลกมีการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างกว้างขวาง การใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษากลางเพื่อการสื่อสารของสังคมโลกจึงเข้ามาเป็นภาษาหลักในการศึกษาและการประกอบอาชีพอย่างแท้จริง การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการศึกษา ที่เปิดโอกาสให้สถาบันการศึกษานานาชาติทั้งในกลุ่มอาเซียนและจากทั่วโลกสามารถเข้ามาตั้งสถานศึกษาเพื่อรับนักศึกษาไทยเข้าเรียนได้ โดยสถานศึกษาต่างประเทศนี้ มักจะได้เปรียบในด้านความมีชื่อเสียงของสถานศึกษา มาตรฐานระดับนานาชาติ การใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นภาษาที่เป็นที่ต้องการในการประกอบอาชีพแต่คนไทยยังขาดความรู้และทักษะในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษจึงทำให้ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อในระดับนานาชาติ แม้ว่าประเทศไทยจะมีการลงทุนด้านการศึกษามากกว่าประเทศใดในอาเซียน และเป็นประเทศที่อยู่ในระดับต้นๆของโลกที่ใช้งบประมาณเพื่อการลงทุนด้านการศึกษาประมาณ 20% ของงบประมาณประเทศ แต่ก็ยังประสบภาวะที่คนไทยขาดทักษะการสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งถือได้ว่าเป็นภาษากลางของโลกในการสื่อสารระหว่างนานาชาติ และในสภาพที่ประเทศไทยต้องแข่งขันกับนานาชาติทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม การที่แรงงานไทยไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ จึงทำให้ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพในระดับนานาชาติ ดังนั้นจึงเป็นภารกิจของสถานศึกษาในทุกระดับของประเทศ โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษาซึ่งมีภารกิจหลักในการผลิตบัณฑิตเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน ที่จะต้องจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบัณฑิตให้สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพเข้าสู่ตลาดแรงงานให้ได้ สถาบันอุดมศึกษาของไทยทั้งในภาครัฐและเอกชนต่างได้พัฒนาหลักสูตรนานาชาติซึ่งจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษในสาขาวิชาต่างๆ อันเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในประเทศและนานาชาติ ทั้งนี้ก็เพื่อการยกระดับความสามารถด้านการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษของผู้เรียนให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ ทั้งในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ โดยสถาบันการศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต เป็นต้น ซึ่งมหาวิทยาลัยเหล่านี้ก็ได้มีการจัดหลักสูตรนานาชาติที่หลากหลายในทุกระดับ มีการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ เพื่อการบริหารจัดการหลักสูตรนานาชาติอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน การพัฒนาความเป็นนานาชาติ ทั้งในด้านบุคลากร นักศึกษา หลักสูตรการศึกษา และสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างความนิยม ดึงดูดผู้มาเรียนและสร้างชื่อเสียงให้กับสถานศึกษา การจัดหลักสูตรนานาชาติในมหาวิทยาลัยภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศไทย ส่วนใหญ่ เป็นการจัดการศึกษาในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ซึ่ง จะมีลักษณะของการจัดหลักสูตรโดยมหาวิทยาลัยเอง และมีการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้ภาษาอังกฤษ มีการจัดโครงการเสริมหลักสูตรอาทิ การจัดแลกเปลี่ยนนักศึกษา บุคลากร การเยี่ยมชมงานและการฝึกงานในต่างประเทศ การจัดหลักสูตรโดยความร่วมมือกับสถานศึกษาในต่างประเทศ อาทิ หลักสูตร ปริญญาควบสองสาขา (Double or Dual Degree) หลักสูตร ปริญญาสองสถาบัน (Twin Degree) หลักสูตรปริญญาและอนุปริญญา ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบหลักสูตรและการตกลงร่วมกันของสถานศึกษาในประเทศและต่างประเทศที่ร่วมมือกันในการจัดการศึกษา อย่างไรก็ตามความต้องการศึกษาในหลักสูตรนานาชาติของผู้เรียนในประเทศไทยถือว่าอยู่ในระดับที่กำลังเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จากการศึกษาวิจัยเรื่องความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติของนักเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ (กาญจนา สมมิตรและจิณห์นิภา สุทธิกุล: 2554) พบว่านักเรียนมัธยมปลายที่เรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรีในหลักสูตรนานาชาติ โดยสาขาที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือการท่องเที่ยว รองลงมาคือภาษาอังกฤษและสาขาตลาด โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานศึกษาเพื่อการศึกษาต่อคือ เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดการเรียนการสอน ความหลากหลายของการจัดหลักสูตร การบริการและการจัดการที่ดี การจัดแหล่งค้นคว้า การสนับสนุนทุนการศึกษา จะเห็นได้ว่านักเรียนที่เรียนมัธยมปลายที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้วต้องการที่จะศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในหลักสูตรนานาชาติ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินข้อมูลจากคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยได้รับความนิยมจากนักเรียนทั่วโลกที่เข้ามาเรียนในระดับมัธยมในประเทศไทย จึงส่งผลให้จำนวนโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากการจัดการศึกษาของไทยเริ่มเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานและการบริหารจัดการหลักสูตรที่มีคุณภาพ หลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ทั้งในมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยเอกชนของไทย มหาวิทยาลัยเอกชนของต่างประเทศได้รับความนิยมในการศึกษาต่อของนักศึกษาชาวต่างประเทศ อาทิ นักศึกษาจากประเทศจีน เกาหลีใต้ เวียดนาม ภูฏาน กัมพูชา สหรัฐอเมริกา เนปาล ลาว อินเดีย เป็นต้น โดยสาขาที่ได้รับความนิยมสูงสุดตามลำดับคือ บริหารธุรกิจ วิทยาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และศิลปศาสตร์ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยสรุปประเด็นสำคัญของความนิยมในการมาศึกษาหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทยคือ คุณภาพของหลักสูตร ค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า ความเหมาะสมของสถานที่ การบริการและการจัดการ ทั้งนี้ นักศึกษาให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพของการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน และการจัดสรรทุนการศึกษาสนับสนุน เป็นประเด็นที่ทำให้นักศึกษาต่างชาติเข้ามาศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทยมากขึ้น (คณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2556) การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรี สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ โดยคณะบริหารธุรกิจ และในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขานวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรโดยคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการจัดหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการพัฒนาบุคลากรแรงงานสำหรับประเทศ ในด้านการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศและการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการด้านนวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรที่ยังขาดแคลนอยู่ และจากการประเมินคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติดังกล่าวเป็นการเบื้องต้นพบว่าหลักสูตรมีประสิทธิภาพที่ดีเหมาะสมที่จะจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาผู้ที่ประสงค์จะศึกษาต่อไป จึงสรุปได้ว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีความความพร้อมและมีศักยภาพที่จะจัดการศึกษาในหลักสูตรนานาชาติที่มีคุณภาพได้ โดยที่หลักสูตรปริญญาตรี สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นคณะที่ได้รับความนิยมของนักศึกษาในการสมัครเข้าศึกษาอย่างต่อเนื่องมาทุกปี โดยในปีการศึกษา 2563 นี้มีนักศึกษาสมัครเข้ารับการคัดเลือกทั้ง 5 รอบเป็นจำนวน 1,753 คน แต่สามารถรับนักศึกษาได้เพียง 200 คนเท่านั้น คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 13% ของจำนวนผู้ยื่นใบสมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อการศึกษาในสาขาดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากประสิทธิภาพของหลักสูตรสาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่ได้รับผลการประเมินอยู่ในระดับดีถึงดีมากมาโดยตลอด (3.8 – 4.02) และจากรวบรวมข้อมูลความพึงพอใจของนักศึกษาและบัณฑิตสาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารพบว่า มีความพึงพอใจทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอน การนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ ทั้งยังเห็นว่า การจัดหลักสูตรสาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วยการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหลักสูตรจะมีส่วนช่วยให้การพัฒนาทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษของบัณฑิตในการศึกษาต่อ การได้งานและการประกอบอาชีพมีความง่ายและสะดวกขึ้น ทั้งยังสามารถก้าวไปสู่การแข่งขันเพื่อการประกอบอาชีพในประเทศต่างๆทั่วโลกได้ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านแรงงาน และการพัฒนาคนไทยให้มีทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษกับนานาชาติได้ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่มีความพร้อมในทุกด้าน อาทิ ด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในการศึกษา ด้านการสื่อสารสังคม และมีศักยภาพในการจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรู้สติปัญญาความสามารถ มีทักษะเพื่อการสื่อสารและทักษะการใช้เทคโนโลยี การสร้างสรรค์นวัตกรรม อันจะสร้างสรรค์คุณประโยชน์ให้เกิดกับประเทศชาติได้ จึงสมควรได้พัฒนาหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรี สาขาภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพนานาชาติ ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน สำหรับจัดการศึกษาให้กับนักศึกษาไทย ประเทศกลุ่มอาเซียนและกลุ่มประเทศอื่นๆในโลกต่อไป |
วัตถุประสงค์ | 1. ศึกษารูปแบบของหลักสูตรนานาชาติศิลปศาตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพนานาชาติ 2. พัฒนาหลักสูตรนานาชาติศิลปศาตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพนานาชาติ |