-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ดร.อัครวัฒน์ จตุพัฒน์วโรดม
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ดร.Akkarawat Jatuphatwarodom
- ตำแหน่งทางวิชาการ-
- ตำแหน่งปัจจุบันอาจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะบริหารธุรกิจ
- โทรศัพท์0844339XXX
- E-Mail Addresakarawat1988@hotmail.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญ
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600022จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | คุณค่าของผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมในการเสริมสร้างพฤติกรรมการซื้อสีเขียวของลูกค้า: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมผักตบชวา คลองรังสิต-ปทุมธานี |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | The Value of Innovative Product on Enhancing Customers’ Green Purchase Behavior: A Case Study of Water Hyacinth Innovative Products in Khlong Rangsit-Patum Thani |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.กรณัท สุขสวัสดิ์ 2. ผศ.ณัฐวัฒน์ จตุพัฒน์วโรดม |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | การรับรู้ และทัศนคติของลูกค้า, เส้นใยธรรมชาติ, ผักตบชวา, นวัตกรรมชุมชน, ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม, พฤติกรรมการซื้อสีเขียวของลูกค้า |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | ผักตบชวามีชื่อสามัญว่า Water Hyacinth, Floating Water Hyacinth เป็นวัชพืชที่มีแหล่งกำเนิดในทวีปอเมริกาแถบประเทศบราซิล แพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ ในหลายทวีปทั่วโลกผักตบชวาจัดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามาแพร่ระบาดรุกรานจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศในประเทศไทย ประเทศไทยเริ่มมีการกำจัดผักตบชวามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 มีการออกพระราชบัญญัติสำหรับกำจัดผักตบชวา พ.ศ. 2456 ปัจจุบันมีหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ได้เข้ามาช่วยเหลือในการกำจัด เช่น นำไปผลิตเป็นของใช้ อาหารสัตว์ ทำปุ๋ย ฯลฯ และมีการนำแมลงมวนผักตบจากแหล่งกำเนิดที่ทวีปอเมริกาใต้ เข้ามาทดลองปล่อยในประเทศไทย เพื่อควบคุมจำนวนประชากรของผักตบชวา อย่างไรก็ตามปัญหาผักตบชวาในประเทศก็มิได้ลดลง เนื่องจากผักตบชวาเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว จึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ แม้ผักตบชวาจะสามารถดูดซึมธาตุอาหารที่เป็นตัวการทำให้น้ำเสีย แต่เมื่อมีปริมาณมากเกินไปจะส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ กล่าวคือ สัตว์ใต้น้ำจะขาดออกซิเจนและตายลงรวมถึงการบดบังแสงแดดที่เป็นส่วนหนึ่งของการสังเคราะห์แสงของพืชใต้น้ำจะทำให้พืชเหล่านั้นเน่าและตายไปในที่สุด ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่มาจากผักตบชวาอยู่จำนวนมาก แต่งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมที่ผลิตมาจากผักตบชวายังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ดังนั้น งานวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาถึงความตระหนักรู้ในคุณค่าของผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมที่ผลิตจากผักตบชวา จากมุมมองของผู้ประกอบการชุมชน และมุมมองของผู้ซื้อสินค้า และศึกษาส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมผักตบชวา ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงต้องการพัฒนาองค์ความรู้ดังกล่าวเพื่อให้ก่อให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์สีเขียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ผลิตมาจากผักตบชวา ในบริบทของประเทศไทย อันจะเป็นการเสริมสร้างอาชีพและสร้างรายได้ ให้สามารถประกอบอาชีพช่วยเหลือตนเอง มีงานทำ ทำให้ชุมชนมีความสุขได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป |
วัตถุประสงค์ | 1: เพื่อศึกษาความตระหนักรู้ และการรับรู้ในคุณค่าของผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมผักตบชวาในมุมมองของผู้ประกอบชุมชน และผู้ซื้อสินค้า 2: เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมผักตบชวาที่สามารถช่วยเสริมสร้างความพึงพอใจของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ 3: เพื่อวิเคราะห์ และสังเคราะห์กรอบแนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม, ทัศนคติต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม, ทัศนคติต่อผลประโยชน์เชิงนิเวศน์ และข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สีเขียวที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า โดยได้รับอิทธิพลจากการรับรู้ถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมผักตบชวา |