-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ธงเทพ ศิริโสดา
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.Thongtep Sirisoda
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงาน*คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- โทรศัพท์0855032XXX
- E-Mail Addreswork.dew3d@gmail.com,thongtep_s@rmutt.ac.th
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญสถาปัตยกรรมภายใน
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600039จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การพัฒนาผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์จากผักตบชวา |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | The furniture product development made from Water Hyacinth |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.ธงเทพ ศิริโสดา |
ผู้ร่วมวิจัย | |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | ผักตบชวา เฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งภายใน |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หัตถกรรม จักสานปรากฏเคียงคู่มนุษย์มากว่า 4,000 ปี การค้นพบอุปกรณ์ จักสานที่เรียบง่ายหรือเครื่องใช้ในชีวิตประจําวันในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่โดดเด่น โดยการสอดประสานวัสดุต่างๆ ตามที่จะหาได้ในท้องถิ่นไปจนถึงงานจักสาน เพื่อตอบสนองความพึงพอใจด้านสุนทรียศาสตร์จากแหล่งอารยธรรม เก่าแก่ทั่วโลก ทั้งแถบลุ่มแม่น้ำไนล์ในตะวันออกกลาง อินเดีย จีน และแม้แต่ในประเทศไทยก็พบว่ามีหลักฐานทางโบราณคดีที่บ่งชี้ว่าในดินแดนนี้ได้มีการทําเครื่องจักสานมานานนับพันๆ ปี เครื่องจักสานของไทยมีพื้นฐานมาจากสังคมเกษตรกรรมโดยผู้สาน คือ เกษตรกรในชนบทซึ่งใช้เวลาว่างจากการทํางานโดยเลือกวัตถุดิบที่หาได้จากธรรมชาติภายในท้องถิ่น (วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, 2532: 129) แต่ในปัจจุบันพบว่าผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากผักตบชวาที่เคยได้รับความนิยม และสร้างรายได้เป็นอย่างดีในอดีตกลับได้รับความนิยมลดน้อยลง ซึ่งสาเหตุหลักเกิดมาจากกลุ่มลูกค้าและตลาดการส่งออกเกิดการอิ่มตัวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะข้อจํากัดในด้านรูปแบบของตัวกระเป๋าเอง พบว่า รูปแบบที่ทําการผลิตอยู่นั้นยังคงเป็น รูปแบบเดิมๆ ไม่ค่อยมีรูปแบบใหม่ๆ ที่จะเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากนัก จึงทําให้ผลิตภัณฑ์กระเป๋ามี กลุ่มผู้บริโภคเพียงเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าว สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์คุณพิมพาพรรณ ชาญศิลป์ ผู้อํานวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดําเนินงานในด้านบริหารการจัดจําหน่ายสินค้าศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านจากศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ที่กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจักสาน ที่เกิดการอิ่มตัวในปัจจุบันนั้น เกิดจากรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีความหลากหลายหรือมีรูปแบบที่ไม่ร่วมสมัย อีกทั้งผู้ผลิตเองก็ยังขาดความรู้เกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดังนั้นรูปแบบที่พบเห็นผลิตอยู่ทุกวันนี้จึงยังคงเป็นรูปแบบเดิมๆ และหากไม่มีการคิดพัฒนาแก้ไขอย่างจริงจังก็อาจก่อให้เกิดการสูญสลายของงานหัตถศิลป์ จักสานในอนาคตได้ ซึ่งในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่ยอมรับและมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค คือ รูปแบบที่ทําการผลิตขึ้นมาใหม่นั้นจะต้องมีความหลากหลาย ไม่ซ้ำของเดิม และเน้นการผลิตที่มีคุณภาพเหมาะสมกับสภาวะในปัจจุบัน ซึ่งการที่จะผลิตสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคได้นั้นต้องสร้างการรับรู้ และการให้ การยอมรับ รวมไปถึงการกระตุ้นให้เกิดการบริโภค โดยผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบและผลิตขึ้นมานั้นต้องตรงกับความต้องการของตลาด รวมถึงการคํานึงถึงประโยชน์ใช้สอยที่ผลิตภัณฑ์ที่พึงมี สอดคล้องกับองค์ความรู้ด้านหัตถศิลป์ พื้นบ้าน และตรงตามทฤษฎีการตลาดสมัยใหม่ที่จะสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ (เกษวดี ทองเนื้อสุข. 2554: 15-17) จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นประกอบกับความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการใช้ชีวิต สังคม และวัฒนธรรม ในปัจจุบันที่ทําให้กระแสความนิยมที่มีต่องานผลิตภัณฑ์จักสานเริ่มลดน้อยลง จึงเป็นเรื่องที่เสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง ต่อการสูญสลายทางศิลปหัตถกรรมแขนงนี้ อีกทั้งอาจทําให้ช่างฝีมือและผู้ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับงานจักสาน ขาดการสานต่อของงานจึงถือได้ว่างานศิลปหัตถกรรมจักสานจากผักตบชวานั้นมีความน่าสนใจอย่างยิ่งที่จะนํามาศึกษา เพื่อหาแนวทางในการออกแบบให้มีความหลากหลาย ร่วมสมัย ทั้งในด้านของรูปแบบและรูปทรง เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศได้ ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อหาแนวทางในการออกแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์จากผักตบชวา เพื่อใช้ในการพักผ่อนอาศัยภายในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ทุกบ้านเรือน มีความจําเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องมีเฟอร์นิเจอร์ไว้สําหรับใช้ในงานต่างๆ การสร้างต้นแบบเฟอร์นิเจอร์จากผักตบชวา โดยใช้หลักการทาง ภูมิปัญญาชาวบ้าน การถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลัง การเลือกใช้วัชพืชอย่างผักตบชวานั้น ผักตบชวามีการเจริญเติบโต ได้ง่ายในแหล่งน้ำจืด จึงได้เกิดการประยุกต์ใช้วัสดุเหล่านี้มาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในด้านกระบวนการ รูปแบบ และลวดลายของชุมชนกลุ่มจักสานผักตบชวา นํามาพัฒนารูปแบบ และความรู้ทางด้านเทคนิคกระบวนผลิต เฟอร์นิเจอร์จากผักตบชวา เพื่อเป็นต้นแบบให้กับกลุ่มชุมชน เป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน ในท้องถิ่นกับนักออกแบบผลิตภัณฑ์จนเกิดการสร้างรายได้ให้กับชุมชนมากยิ่งขึ้น |
วัตถุประสงค์ | 1) สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ผักตบชวาทำเฟอร์นิเจอร์จากวัสดุผักตบชวากับการประยุกต์ใช้กับวัสดุปัจจุบันเพื่อเพิ่มมูลค่า 2) เพื่อศึกษาการประเมินผลการออกแบบเฟอร์นิเจอร์จากวัสดุผักตบชวา |