ข้อมูลงานวิจัย การวิเคราะห์และพัฒนาสมรรถนะรายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หลักสูตร ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)รศ.ดร.ปริญญา มีสุข
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)รศ.ดร.Parinya Meesuk
    • ตำแหน่งทางวิชาการ-
    • ตำแหน่งปัจจุบันรองศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
    • โทรศัพท์0813467XXX
    • E-Mail Addresparinya_m@rmutt.ac.th
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญการวิจัยทางการศึกษา สถิติ
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00091
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การวิเคราะห์และพัฒนาสมรรถนะรายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หลักสูตร ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Analysis and development of the course competencies in the research for learning development course of bachelor of science in technical educational program
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมวิจัย
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2564
คำสำคัญ สมรรถนะรายวิชา, การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้, ครูอาชีวศึกษา, คุรุศึกษา, คุรุอาชีวศึกษา
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล การจัดการอาชีวศึกษาของประเทศไทย มีหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ผลิตและพัฒนาครูเพื่อปฏิบัติงานในสถานศึกษาอาชีวศึกษา คือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการครุศึกษา ครุศึกษาได้ถูกกล่าวถึงในลักษณะของการผลิตและพัฒนาครู ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ ระบบการรับนิสิตนักศึกษาครู ระบบการผลิตครู ระบบการส่งเสริมครูใหม่ ระบบการพัฒนาครูประจำการ ทั้งนี้ได้มีการดำเนินการมาอย่างยาวนาน เริ่มตั้งแต่สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เป็นการฝึกหัดครู เช่น โรงเรียนฝึกหัดครูมูลในมณฑลต่าง ๆ จนกระทั่งหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มีกรมหรือกระทวงศึกษาธิการ และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทำหน้าที่ผลิตครูระดับปริญญา และถึงแม้ว่าจะมีการดำเนินการมาถึงปัจจุบัน ครุศึกษาก็ยังคงประสบปัญหาทั้งในเรื่องขจองระบบการรับนิสิตนักศึกษาครู ระบบการผลิตครู ระบบการส่งเสริมครูใหม่ ระบบการพัฒนาครูประจำการ และระบบการพัฒนาครูของครู (ชาตรี ฝ่ายคำตา, 2018) ซึ่งปัญหาดังกล่าว วิธีการหนึ่งที่ถูกนำมาแก้ไขในทุกกระบวนการก็คือการวิจัย (ชาตรี ฝ่ายคำตา, 2018; ปริญญา มีสุข และบรรเลง สระมูล, 2561; Meesuk, 2019; Niyomphol & Meesuk, 2019) แนวทางในการพัฒนาครูได้ดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพครู ที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน ไว้อย่างชัดเจน (ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562, 2562) เพื่อให้สถาบันผลิตครูสามารถดำเนินการผลิตครูได้อย่างมีมาตรฐาน และมาตรฐานดังกล่าวมีการกำหนดสาระความรู้และสมรรถนะที่เกี่ยวกับการวิจัยไว้อย่างชัดเจนเช่นกัน ว่ามาตรฐานความรู้ ต้องมีความรู้และเข้าใจในเรื่องการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน และครูจะต้องสามารถจัดการเรียนรู้โดยการวิจัย สร้างนวัตกรรม และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน สอดคล้องกับสมรรถนะครูอาชีวศึกษาจากการศึกษาของอานนท์ นิยมผล, ปริญญา มีสุข, นนทลี พรธาดาวิทย์, ณัฐพงษ์ โตมั่น, ดวงเดือน ภูตยานันท์, บรรเลง สระมูล และอังค์วรา วงษ์รักษา (2561) และอานนท์ นิยมผล, ปริญญา มีสุข, ต้องลักษณ์ บุญธรรม, บรรเลง สระมูล, และณัฐพงษ์ โตมั่น (2560) ที่ระบุว่าครูต้องมีสมรรถนะด้านการวิจัยทางการศึกษา นอกจากนี้หลักสูตรหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต ของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในปี 2563 ได้มีการกำหนดรายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นวิชาชีพบังคับให้นักศึกษาทุกคนในหลักสูตรต้องลงทะเบียน และที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาว่าการศึกษารายวิชาดังกล่าวสามารถผลิตบัณฑิตครูให้มีสมรรถนะด้านการวิจัยได้ตามเป้าหมายของหลักสูตร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ตรงกับความต้องการใช้จริงในอนาคตในบริบทการอาชีวศึกษาที่นักศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมครูอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพในอนาคตจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์และพัฒนาสมรรถนะรายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูอาชีวศึกษาที่จะนำไปใช้ผลิตครูอาชีวศึกษาในกระบวนการของหลักสูตรครั้งนี้
วัตถุประสงค์ 1. วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของสมรรถนะรายวิชา ของวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2. พัฒนาสมรรถนะรายวิชา ของวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี