-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.รัฐ ชมภูพาน
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Rath Chombhuphan
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
- โทรศัพท์0818781XXX
- E-Mail Addreshut_1978@hotmail.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญด้านการฝึกอบรม, ด้านอาชีวศึกษา ด้านการศึกษาเพื่ออาชีพ ด้านวิชาชีพคหกรรมศาสตร์,ด้านการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการ, ด้านงานวิจัยเชิงคุณภาพ
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600045จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การสร้างนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการและนักวิจัยรุ่นใหม่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Creating Students to be New Entrepreneurs and Researchers of Rajamangala University of Technology Thanyaburi |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.ชนากานต์ เรืองณรงค์ 2. ผศ.รัฐ ชมภูพาน |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | ผู้ประกอบการ, นักวิจัยรุ่นใหม่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ประเทศไทย 4.0 การสร้างความเข้มแข็งภายในเศรษฐกิจของประเทศไทย (Strength from Within) เชื่อโยงสู่เศรษฐกิจโลก (Connect to the World)ให้มีการพัฒนาก้าวทันโลกในยุคปัจจุบันได้คือ การยกระดับผู้ประกอบการและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีศักยภาพทางด้านบุคลากรและองค์ความรู้ ที่มีการนำองค์ความรู้ทางบริการวิชาการมาพัฒนาเป็นผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาและต่อยอดสู่ชุมชน อีกทั้งโครงการบริการวิชาการแก่สังคม อบรมวิชาชีพผู้ประกอบการ เป็นพันธกิจหลักอย่างหนึ่ง การศึกษาวิชาการด้านการให้บริการแก่สังคมและชุมชนอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการให้ความรู้และเพิ่มทักษะให้กับผู้สนใจด้านการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความรู้ และทักษะเกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการและนักวิจัยรุ่นใหม่ อีกทั้งตระหนักถึงความสำคัญของแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายและยุทธศาสตร์หลักของการผลิตบัณฑิต คือการสร้างพลังนักคิด นักทำ นักประดิษฐ์สร้างนวัตกรรม จนกลายเป็นผู้ประกอบการและนักวิจัยร่วมกับชุมชน เกิดต้นแบบความคิดและนวัตกรรม เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้แก่ชุมชน อีกทั้งกลุ่มคนผู้สูงวัยในชุมชนมีความต้องการรายได้ระหว่างการทำอาชีพเกษตรกรรม และนับวันสังคมผู้สูงวัยจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงกับกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคตในกลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรม นวัตกรรมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากดำเนินงานโครงการเสร็จสิ้น คือ นวัตกรรมเคหะสิ่งทอ นวัตกรรมการแปรรูปอาหาร นวัตกรรมกระดาษ นวัตกรรมสื่อการสอนเพื่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงเทคนิคและเทคโนโลยีที่ช่วยให้การผลิตมีมาตรฐานโดยอยู่ภายใต้รากฐานของภูมิปัญญาเพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมและเกิดนวัตกรรมเพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตให้กลุ่มชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น และยังเป็นการเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์และช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับกลุ่มชุมชนเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ หากดำเนินโครงการเสร็จสิ้นจะส่งผลในการแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์ในชุมชนในเชิงพาณิชย์ ให้มีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น ชุมชนมีรายได้ระหว่างการประกอบอาชีพหลัก แก่บุคคล สังคม ชุมชน และประเทศไทย ชุมชนได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมและมีมาตรฐาน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเพิ่มรายได้ให้กลุ่มชุมชนภายใต้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ดังนั้นการสร้างนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ให้เป็นผู้ประกอบการ และนักวิจัยรุ่นใหม่ได้ ถือเป็นการยกระดับทางนวัตกรรม การสร้างสังคมที่มีจิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการ และการสร้างความเข้มแข็งในสังคมเครือข่าย ผู้ประกอบการจะต้องมีการรังสรรค์การสร้างนวัตกรรม (Smart Enterprise) การใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ มีการทำธุรกิจเพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมความคิดสร้างสรรค์และมีธุรกิจที่ทำเพื่อสังคม เพื่อสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งในระดับฐานราก เศรษฐกิจแบบ 4.0 เป็นการใช้ศักยภาพของดิจิทัล (Digitalization) การใช้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำใช้แรงงานต่ำ เข้าถึงโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการผลิตของนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น |
วัตถุประสงค์ | 1 เพื่อคัดเลือกนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีแนวทางในการทำธุรกิจในชุมชน จังหวัดปทุมธานี 2 เพื่อจัดทำหลักสูตรและจัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรผู้ประกอบการและนักวิจัยรุ่นใหม่จากนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 3 เพื่อนำเสนอผลงานผู้ประกอบการและนักวิจัยรุ่นใหม่จากนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช-มงคลธัญบุรี |