ข้อมูลงานวิจัย การพัฒนาเครื่องกดแบนกล้วยตาก

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)รศ.ดร.วรินธร พูลศรี
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)รศ.ดร.Warinthon Poonsri
    • ตำแหน่งทางวิชาการ-
    • ตำแหน่งปัจจุบันรองศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานสถาบันวิจัยและพัฒนา
    • โทรศัพท์0818513XXX
    • E-Mail Addresw.yimyong@gmail.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลเกษตรและเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตผลเกษตร - ออกแบบและสร้างเครื่องมือทางอุตสาหกรรมเกษตร - พัฒนาผลิตภัณฑ์และแปรรูปผลิ
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00063
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การพัฒนาเครื่องกดแบนกล้วยตาก
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Development of Pressing Machine for Dried Banana
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมวิจัย 1. รศ.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2562
คำสำคัญ กล้วยตาก, เครื่องกดแบน, แปรรูปอาหาร
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล กล้วยเป็นผลไม้ที่คนไทยรู้จักกันมานาน นับได้ว่าเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงชนิดหนึ่ง นอกจากนี้กล้วยยังเป็นพืชเศรษฐกิจของคนไทยเพราะใช้เป็นอาหารบริโภคและมีประโยชน์ใช้สอยหลายด้าน กล้วยสามารถปลูกและมีการเจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งปริมาณการปลูกกล้วยของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของทวีปเอเชีย โดยพื้นที่การปลูกกล้วยรวมทั้งประเทศกว่า 820,000 ไร่ (Singh, 2011) สามารถผลิตออกสู่ตลาดได้ตลอดทั้งปี สำหรับกล้วยที่นิยมปลูกได้แก่ กล้วยน้ำว้า สำหรับผลผลิตกล้วยน้ำว้าปี 2555 มีประมาณ 712.27 พันตัน โดยมีแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ คือ เลย เพชรบุรี หนองคายประจวบคีรีขันธ์ และกาญจนบุรี ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 5.4 บาท/กิโลกรัม ตามด้วยกล้วยหอม มีประมาณ 177.304 พันตัน แหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ คือ เพชรบุรี หนองคาย สระบุรี ปทุมธานี และสกลนคร โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกเพื่อการค้า คือ พันธุ์กล้วยหอมทอง ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 12.69 บาท/กิโลกรัม ปริมาณส่งออก 2.169 พันตัน และสุดท้าย กล้วยไข่ ผลผลิตกล้วยไข่ มีประมาณ 130.585 พันตัน แหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ คือ นครสวรรค์ จันทบุรี เพชรบุรี และตาก ราคาที่เกษตรกร ขายได้ 14.89 บาท/กิโลกรัม ปริมาณส่งออก 15.471 พันตัน (สถาบันอาหาร, 2556) สำหรับการผลิตกล้วยเพื่อบริโภคภายในประเทศนั้น ส่วนใหญ่จะบริโภคผลสดหรือนำมาประกอบอาหารหวาน เช่น กล้วยบวชชี ส่วนผลผลิตที่เหลือเกินความต้องการบริโภคสด จะนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อขจัดปัญหาเน่าเสีย ทำให้เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ไว้ได้นาน ซึ่งวิธีที่นิยมนำมาแปรรูปอย่างหนึ่งคือ การตากหรืออบแห้ง (กานต์สุดา, 2552) กล้วยตากเป็นการแปรรูปกล้วยที่รู้จักกันดี นิยมบริโภคกันมากในประเทศไทย สามารถผลิตได้ทุกครัวเรือน กล้วยตากทำจากผลกล้วยที่สุกงอมแล้ว กล้วยที่นิยมนำมาทำกล้วยตาก คือกล้วยน้ำว้า เนื่องจากมีเนื้อสัมผัสเหนียวที่สุด มีปริมาณน้ำน้อย เมื่อตากแห้งจะให้กล้วยตากที่มีสีสวยและรสหวาน (กุลยา,2548) ปัจจุบันผู้บริโภคในเอเชียเริ่มรู้จักกล้วยน้ำว้ามากขึ้น และเห็นถึงประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของกล้วยน้ำว้าที่มีมากกว่ากล้วยอื่นๆ ประกอบกับรสชาติอร่อยไม่แพ้กล้วยไข่หรือกล้วยหอม ประกอบกับมีการส่งออกกล้วยน้ำว้าสดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะฮ่องกงและญี่ปุ่น ดังจะเห็นได้จากปี 2551 การส่งออกกล้วยน้ำว้าปริมาณ 1,287 ตัน มูลค่า 8.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 4,720 ตัน มูลค่า 56.1 ล้านบาท ในปี 2555 คิดเป็นอัตราขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 34.9 และ 59.6 ต่อปี ตามลำดับ เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ตลาดต่างประเทศให้ความสนใจและตอบรับผลิตภัณฑ์กล้วยตากจากไทยเพิ่มมากขึ้น สำหรับการส่งออกกล้วยตาก ปี 2551 ปริมาณ 928.5 ตัน มูลค่า 81.3 ล้านบาท ปี 2555 ส่งออกปริมาณ 317.4 ตัน มูลค่า 79.9 ล้านบาท หดตัวลงเฉลี่ยร้อยละ 23.5 และ 0.4 ต่อปี ตามลำดับ การที่ปริมาณส่งออกหดตัวมากกว่ามูลค่า แสดงให้เห็นถึงผลิตภัณฑ์กล้วยตากที่ส่งออกของไทยในระยะหลังเป็นสินค้ามูลค่าเพิ่ม สอดคล้องกับการขยายตลาดส่งออกของผู้ประกอบการหลายรายที่พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อขยายตลาดส่งออก ส่งผลให้ตลาดส่งออกหลักเปลี่ยนจากประเทศจีน เป็นสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ (สถาบันอาหาร, 2556) กรรมวิธีการทำกล้วยตาก คือ นำกล้วยน้ำว้าที่สุกงอมมาปลอกเปลือกเอาเนื้อไปตากแดด 1-2 วัน โดยอาศัยการตากแดดตามธรรมชาติเป็นหลักไปจนถึงการนำเทคโนโลยีการตากหรืออบโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ทันสมัยมาใช้ จากนั้นนำไปคลึงและกดแบนเพื่อให้น้ำตาลในกล้วยออกมาเคลือบที่ผิว ปัจจุบันการกดแบนกล้วยตากจะใช้แรงงานคนซึ่งวิธีนี้จะทำให้การผลิตกล้วยตากเป็นไปได้ช้า รวมทั้งแรงงานคนยังขาดแคลน และไม่สามารถควบคุมกระบวนการผลิตซึ่งทำให้ผลิตผลที่ได้มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้นจึงต้องการปรับปรุงการผลิตให้มีคุณภาพ และมีกำลังการผลิตที่สูงขึ้นเพื่อเพียงพอกับความต้องการของตลาด งานวิจัยนี้จึงได้ทำการออกแบบพร้อมสร้างเครื่องช่วยในการกดแบนกล้วยตาก เพื่อทดแทนการใช้แรงงานคน รวมทั้งทำให้การผลิตกล้วยตากกลายเป็นอุสาหกรรมระดับพื้นบ้านที่เป็นเชิงพาณิชย์มากขึ้น
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาเครื่องกดแบนกล้วยตากแบบอัตโนมัติ 2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องกดแบนกล้วยตากจากเดิม 3. พัฒนาคุณภาพของกล้วยตากที่ผ่านการกดแบนด้วยเครื่องแบบอัตโนมัติ