ข้อมูลงานวิจัย การพัฒนาอุปกรณ์วัดคุณภาพอากาศแบบเคลื่อนที่และระบบติดตามบนคลาวด์แบบทันทีทันใด

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.อนุชา ตุงคัษฐาน
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Auncha Tungkasthan
    • ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • โทรศัพท์0814999XXX
    • E-Mail Addresaimdala@hotmail.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญImage Processing, Object Recognitions,Image Retrieval, Networking, Computer Education, Expost Systems
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00054
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การพัฒนาอุปกรณ์วัดคุณภาพอากาศแบบเคลื่อนที่และระบบติดตามบนคลาวด์แบบทันทีทันใด
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Development of Portable Air Quality Monitor Devices and a Real Time Monitoring Cloud-Based System and a Real Time Monitoring Cloud-Based System
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ ผศ.นิพัทธ์ จงสวัสดิ์
ผู้ร่วมวิจัย 1. ผศ.อนุชา ตุงคัษฐาน
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ ดัชนีคุณภาพอากาศ, อุปกรณ์วัดคุณภาพอากาศ, ระบบติดตามบนคลาวด์แบบทันทีทันใด, เมืองอัจฉริยะ, ระบบนิเวศน์ดิจิทัล
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหามลพิษทางอากาศในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ของประเทศ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ประสพวิกฤติหนักปัญหาฝุ่นควันละอองขนาดเล็ก PM 2.5 สูงกว่ามาตรฐาน 4-5 เท่า (ที่ระดับค่าเท่ากับ 253 US AQI) โดยขึ้นเป็นอันดับ 1 เมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก (ข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2563) เนื่องจากปัญหาไฟป่า ทำให้ส่งผลกระทบไปยังหลายจังหวัดในภาคเหนือ ประชาชนในพื้นที่เริ่มมีปัญหาสุขภาพ มีอาการไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา อ่อนเพลีย และมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ จังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑลก็ประสบกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กและอากาศเป็นพิษเช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นเมืองเศรษฐกิจ มีประชาการอาศัยอยู่มาก และมีการจราจรหนาแน่น ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศพบว่าค่าที่ตรวจวัดได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและยังคงเกินค่ามาตรฐาน อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพไปจนถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ (ข้อมูลวันที่ 18 มีนาคม 2563) แม้ว่ากรุงเทพมหานครได้เดินหน้าดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาในบริเวณที่พบปริมาณฝุ่นละอองเกินมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง โดยการเพิ่มความถี่ในการล้างถนน ฉีดพ่นละอองน้ำในอากาศ ขอความร่วมมือจากโครงการก่อสร้างอาคาร และโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ตรวจวัดควันดำรถยนต์ รถโดยสารสาธารณะ และรถยนต์ทั่วไป ก็ยังพบว่าระดับค่าฝุ่นละอองอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติ นอกจากนั้นค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index) ที่รายงานโดยกรมควบคุมมลพิษ ว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือดีนั้น พบว่าบางองค์ประกอบเช่น ค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) สูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน (> 30 ppm. /1 ชั่วโมง) หรือค่าก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) สูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน (> 0.17 ppm./1 ชั่วโมง) ในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่อุตสาหกรรม พื้นที่แผ้วถางหญ้าปลูกพืช และชุมชนที่อยู่อาศัยที่มีการจราจรคับคั่ง ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากประชาชนวางใจในข้อมูลตัวเลขที่รายงาน แต่แท้จริงแล้วพบว่ายังคงมีปริมาณมลพิษในอากาศที่ยังคงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชานโดยตรง โดยประชาชนไม่ทราบ ไม่รู้เท่าทัน และไม่ได้ระวังตัว ข้อมูลคุณภาพอากาศที่รายงานโดยกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านเว็บไซด์ air4thai.pcd.go.th นั้น เป็นการรายงานข้อมูลจากที่ตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในจุดพื้นที่หลักๆ ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถเรียกดูข้อมูลคุณภาพอากาศหรือค่าต่าง ๆ อาทิ เช่น ค่า PM2.5, PM10, CO, O3, SO2, NO2 ในรูปแบบตารางข้อมูลและกราฟได้ ตามช่วงเวลาที่กำหนด หากแต่ไม่สามารถวัดและแสดงค่าในพื้นที่เฉพาะจุดที่เจาะจงหรือต้องการทราบตามแต่ละช่วงเวลาได้ เช่น บริเวณรถไฟฟ้าสยามแสควร์ หน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นต้น ผู้วิจัยจึงเสนอวิธีการแก้ปัญหานี้ โดยพัฒนาชุดอุปกรณ์วัดคุณภาพอากาศแบบเคลื่อนที่ที่มีขนาดเล็ก สามารถวัดข้อมูลคุณภาพอากาศและพารามิเตอร์ต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ สามารถพกพาไปกับรถยนต์หรือหน่วยเคลื่อนที่ได้ สามารถวัดข้อมูลในพื้นที่เฉพาะจุดและรายงานข้อมูลแบบทันทีทันใด (real-time) ผ่านเครือข่ายไร้สายไปยังระบบคคลาวด์ ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถแสดงแผนที่คุณภาพอากาศเฉพาะตำแหน่งที่เจาะจงหรือ เฉพาะจุดที่เข้าทำการตรวจวัด แสดงผลข้อมูลที่ได้จากเซ็นเซอร์แบบทันทีทันใด (real-time) เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จะได้ทราบข้อมูลที่เป็นจริง ณ ปัจจุบัน ในพื้นที่นั้น ๆ ทราบถึงระดับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตนเอง ตลอดจนทราบคำแนะนำและวิธีการป้องกันตนเองจากปัญหามลพิษในอากาศเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับสุขภาพ รวมถึงหน่วยงานจะได้ข้อมูลคุณภาพอากาศที่สำคัญที่วัดได้จากในพื้นที่ที่เจาะจง พื้นที่ที่มีความเสี่ยง เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ 1. พัฒนาชุดอุปกรณ์วัดคุณภาพอากาศแบบเคลื่อนที่ขนาดเล็กที่สามารถวัดค่าคุณภาพอากาศในพื้นที่เป้าหมายได้อย่างถูกต้องแม่นยำ 2. สร้างหน่วยวัดคุณภาพอากาศแบบเคลื่อนที่เพื่อเก็บข้อมูลคุณภาพอากาศในพื้นที่เป้าหมายหรือเฉพาะจุด และรายงานข้อมูลแบบทันทีทันใดผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย 3. สร้างและพัฒนาระบบติดตาม จัดเก็บ และประมวลผลข้อมูลแบบทันทีทันใดบนคลาวด์ 4. แสดงผลข้อมูลคุณภาพอากาศในพื้นที่ให้ประชาชนทราบ เพื่อทราบถึงระดับผลกระทบ ตลอดจนข้อแนะนำในการปฏิบัติต่าง ๆ ในการป้องกัน