-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)รศ.ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Kiattisak Sangpradit
- ตำแหน่งทางวิชาการรองศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันรองศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานสถาบันวิจัยและพัฒนา
- โทรศัพท์0814932XXX
- E-Mail Addresk.sangpradit@gmail.com, k.sangpradit@rmutt.ac.th
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญการออกแบบและวิเคราะห์เครื่องจักรกล, smart farm, renewable energy, robotics, medical device, irrigation design, manufacturing design, The application o
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600096จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การพัฒนาเครื่องกดแบนกล้วยตาก |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Development of Pressing Machine for Dried Banana |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. รศ.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2562 |
คำสำคัญ | กล้วยตาก, เครื่องกดแบน, แปรรูปอาหาร |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | กล้วยเป็นผลไม้ที่คนไทยรู้จักกันมานาน นับได้ว่าเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงชนิดหนึ่ง นอกจากนี้กล้วยยังเป็นพืชเศรษฐกิจของคนไทยเพราะใช้เป็นอาหารบริโภคและมีประโยชน์ใช้สอยหลายด้าน กล้วยสามารถปลูกและมีการเจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งปริมาณการปลูกกล้วยของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของทวีปเอเชีย โดยพื้นที่การปลูกกล้วยรวมทั้งประเทศกว่า 820,000 ไร่ (Singh, 2011) สามารถผลิตออกสู่ตลาดได้ตลอดทั้งปี สำหรับกล้วยที่นิยมปลูกได้แก่ กล้วยน้ำว้า สำหรับผลผลิตกล้วยน้ำว้าปี 2555 มีประมาณ 712.27 พันตัน โดยมีแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ คือ เลย เพชรบุรี หนองคายประจวบคีรีขันธ์ และกาญจนบุรี ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 5.4 บาท/กิโลกรัม ตามด้วยกล้วยหอม มีประมาณ 177.304 พันตัน แหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ คือ เพชรบุรี หนองคาย สระบุรี ปทุมธานี และสกลนคร โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกเพื่อการค้า คือ พันธุ์กล้วยหอมทอง ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 12.69 บาท/กิโลกรัม ปริมาณส่งออก 2.169 พันตัน และสุดท้าย กล้วยไข่ ผลผลิตกล้วยไข่ มีประมาณ 130.585 พันตัน แหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ คือ นครสวรรค์ จันทบุรี เพชรบุรี และตาก ราคาที่เกษตรกร ขายได้ 14.89 บาท/กิโลกรัม ปริมาณส่งออก 15.471 พันตัน (สถาบันอาหาร, 2556) สำหรับการผลิตกล้วยเพื่อบริโภคภายในประเทศนั้น ส่วนใหญ่จะบริโภคผลสดหรือนำมาประกอบอาหารหวาน เช่น กล้วยบวชชี ส่วนผลผลิตที่เหลือเกินความต้องการบริโภคสด จะนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อขจัดปัญหาเน่าเสีย ทำให้เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ไว้ได้นาน ซึ่งวิธีที่นิยมนำมาแปรรูปอย่างหนึ่งคือ การตากหรืออบแห้ง (กานต์สุดา, 2552) กล้วยตากเป็นการแปรรูปกล้วยที่รู้จักกันดี นิยมบริโภคกันมากในประเทศไทย สามารถผลิตได้ทุกครัวเรือน กล้วยตากทำจากผลกล้วยที่สุกงอมแล้ว กล้วยที่นิยมนำมาทำกล้วยตาก คือกล้วยน้ำว้า เนื่องจากมีเนื้อสัมผัสเหนียวที่สุด มีปริมาณน้ำน้อย เมื่อตากแห้งจะให้กล้วยตากที่มีสีสวยและรสหวาน (กุลยา,2548) ปัจจุบันผู้บริโภคในเอเชียเริ่มรู้จักกล้วยน้ำว้ามากขึ้น และเห็นถึงประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของกล้วยน้ำว้าที่มีมากกว่ากล้วยอื่นๆ ประกอบกับรสชาติอร่อยไม่แพ้กล้วยไข่หรือกล้วยหอม ประกอบกับมีการส่งออกกล้วยน้ำว้าสดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะฮ่องกงและญี่ปุ่น ดังจะเห็นได้จากปี 2551 การส่งออกกล้วยน้ำว้าปริมาณ 1,287 ตัน มูลค่า 8.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 4,720 ตัน มูลค่า 56.1 ล้านบาท ในปี 2555 คิดเป็นอัตราขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 34.9 และ 59.6 ต่อปี ตามลำดับ เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ตลาดต่างประเทศให้ความสนใจและตอบรับผลิตภัณฑ์กล้วยตากจากไทยเพิ่มมากขึ้น สำหรับการส่งออกกล้วยตาก ปี 2551 ปริมาณ 928.5 ตัน มูลค่า 81.3 ล้านบาท ปี 2555 ส่งออกปริมาณ 317.4 ตัน มูลค่า 79.9 ล้านบาท หดตัวลงเฉลี่ยร้อยละ 23.5 และ 0.4 ต่อปี ตามลำดับ การที่ปริมาณส่งออกหดตัวมากกว่ามูลค่า แสดงให้เห็นถึงผลิตภัณฑ์กล้วยตากที่ส่งออกของไทยในระยะหลังเป็นสินค้ามูลค่าเพิ่ม สอดคล้องกับการขยายตลาดส่งออกของผู้ประกอบการหลายรายที่พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อขยายตลาดส่งออก ส่งผลให้ตลาดส่งออกหลักเปลี่ยนจากประเทศจีน เป็นสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ (สถาบันอาหาร, 2556) กรรมวิธีการทำกล้วยตาก คือ นำกล้วยน้ำว้าที่สุกงอมมาปลอกเปลือกเอาเนื้อไปตากแดด 1-2 วัน โดยอาศัยการตากแดดตามธรรมชาติเป็นหลักไปจนถึงการนำเทคโนโลยีการตากหรืออบโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ทันสมัยมาใช้ จากนั้นนำไปคลึงและกดแบนเพื่อให้น้ำตาลในกล้วยออกมาเคลือบที่ผิว ปัจจุบันการกดแบนกล้วยตากจะใช้แรงงานคนซึ่งวิธีนี้จะทำให้การผลิตกล้วยตากเป็นไปได้ช้า รวมทั้งแรงงานคนยังขาดแคลน และไม่สามารถควบคุมกระบวนการผลิตซึ่งทำให้ผลิตผลที่ได้มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้นจึงต้องการปรับปรุงการผลิตให้มีคุณภาพ และมีกำลังการผลิตที่สูงขึ้นเพื่อเพียงพอกับความต้องการของตลาด งานวิจัยนี้จึงได้ทำการออกแบบพร้อมสร้างเครื่องช่วยในการกดแบนกล้วยตาก เพื่อทดแทนการใช้แรงงานคน รวมทั้งทำให้การผลิตกล้วยตากกลายเป็นอุสาหกรรมระดับพื้นบ้านที่เป็นเชิงพาณิชย์มากขึ้น |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อพัฒนาเครื่องกดแบนกล้วยตากแบบอัตโนมัติ 2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องกดแบนกล้วยตากจากเดิม 3. พัฒนาคุณภาพของกล้วยตากที่ผ่านการกดแบนด้วยเครื่องแบบอัตโนมัติ |