-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)อ.ณัฏฐกฤษฏ์ ศุภกรพินธคุปต์
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)อ.Nattakit Supagornpintakup
- ตำแหน่งทางวิชาการ-
- ตำแหน่งปัจจุบันอาจารย์
- คณะ/หน่วยงาน*กองกลาง (ผู้บริหาร)
- โทรศัพท์0818746XXX
- E-Mail AddresNattakrist_s@rmutt.ac.th, Nattakrist.hui@gmail.com, wonderhui@yahoo.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600046จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | แนวทางการออกแบบและพัฒนาพื้นที่คลองและพื้นที่ว่าง เพื่อส่งเสริมสุขภาวะชุมชนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | The Management and Design Guidelines of Canals and free space for Promoting well-being and Public space Community, Thanyaburi. |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.กัญญาณัฐ เปลวเฟื่อง 2. ผศ.วรุณศิริ จักรบุตร 3. ผศ.ธิปัตย์ โสตถิวรรณ์ 4. ผศ.สุรัติวดี ทั่งมั่งมี 5. ผศ.สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์ |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | การจัดการพื้นที่รกร้าง, ที่ว่างสาธารณะริมคลอง, ความปลอดภัย, ส่งเสริมสุขภาวะ, การสื่อสารอย่างมีส่วนร่วม |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | จังหวัดปทุมธานี สามารถแบ่งได้เป็นปทุมธานีฝั่งตะวันตกและปทุมธานีฝั่งตะวันออก โดยปทุมธานีฝั่งตะวันตก มีเส้นทางการคมนาคมหลักคือถนนพหลโยธิน และมีเขตปกครอง 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอสามโคก และอำเภอลาดหลุมแก้ว มีศูนย์ราชการหลายแห่ง เป็นศูนย์กลางระบบโลจิสติกซึ่งมีระบบการขนส่งทางบก โดยรถบัส รถบรรทุก รถไฟและในอนาคตมีแผนการสร้างระบบรถไฟฟ้า ระบบการขนส่งทางน้ำอาศัยแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีเรือด่วนเพื่อการคมนาคม จึงถือว่าปทุมธานีตะวันตกมีบทบาทเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและศูนย์กลางการบริหารของจังหวัดปทุมธานี ปทุมธานีฝั่งตะวันออกนั้นตั้งอยู่บริเวณ "ทุ่งหลวงรังสิต" ของมณฑลกรุงเทพ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองธัญบุรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะพัฒนาที่ดินในทุ่งหลวงรังสิต ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาราษฎรด้วยการสร้างคลองขึ้นในบริเวณทุ่งนี้ ท่านโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการขุดคลองเพื่อบุกเบิกพื้นที่ทำการเกษตรตั้งแต่ปี พ.ศ.2433 เป็นต้นมา และได้พระราชทานนามว่าคลองสายหลักว่า “คลองรังสิตประยูรศักดิ์” และได้ขุดคลองย่อย 16 คลองบริเวณตอนกลางของพื้นที่ และมีพระบรมราชโองการให้สถาปนา เมืองธัญญบูรี ขึ้น ประกอบด้วย 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอคลองหลวง อำเภอหนองเสือ และ อำเภอลำลูกกา โดยพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดที่ทำการเมืองด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2445 โดยคำว่า "ธัญญบูรี" หมายถึง “เมืองแห่งข้าว” อันเป็นอัตลักษณ์สำคัญของพื้นที่ที่กล่าวได้ว่าเป็น “เมืองแห่งคลองเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่เกษตร” เป็นศูนย์กลางการชลประทานและเกษตรกรรมที่ใช้พื้นที่กว่าร้อยละ 70 ของฝั่งตะวันออก ปัจจุบันเมืองธัญบุรีเป็นชุมชนชานเมืองหลวง มีความหลากหลายและซับซ้อนก่อตั้งมายาวนานเป็นย่านชุมชนเมืองที่ประกอบด้วยเทศบาล จำนวน 4 แห่ง 6 ตำบล เทศบาลนครรังสิต (ตำบลประชาธิปัตย์) เทศบาลเมืองบึงยี่โถ (ตำบลบึงยี่โถ) เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ (ตำบลบึงน้ำรักษ์ ตำบลบึงสนั่น) เทศบาลตำบลธัญบุรี (ตำบลรังสิต ตำบลลำผักกูด) มีการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่ทับซ้อนกันมามากมาย หากแต่ในอนาคตเป็นเมืองที่มีแนวโน้มในการพัฒนาเป็นเมืองที่มีความเจริญและหนาแน่น จากปัจจัยการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะขนาดใหญ่โดยรอบ (ทางยกระดับกาญจนาภิเษกและบางปะอิน รถไฟฟ้าสายสีเขียว) การเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ (พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ฯลฯ) และการย้ายเข้ามาของสวนสัตว์ดุสิต อีกทั้งการเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่หลายแห่งในพื้นที่โดยรอบ ปัจจัยเหล่านี้แสดงให้เห็นได้ว่าอนาคตของชุมชนเคหะรังสิตคลองหก และพื้นที่เมืองธัญบุรีในอนาคต จะมีการพัฒนาเป็นเมืองที่มีความเจริญมากยิ่งขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่ได้เริ่มส่งผลบริเวณที่เดิมเคยทำกสิกรรมถูกเปลี่ยนแปลงเป็นนิคมอุตสาหกรรม โรงงาน และบริเวณที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ยังกำเนิดสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ทำให้กลุ่มประชากรในบริเวณประกอบด้วยคนทุกช่วงวัยทั้งนักศึกษา บุคลากรโรงงาน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และผู้สูงวัย ชุมชนที่ขยายตัวกำเนิดเป็นหมู่บ้านหลายแห่ง และเป็นชุมทางการสัญจรระหว่างจังหวัดภาคกลางฝั่งตะวันออกเช่นนครนายก ปราจีนบุรี เส้นทางคมนาคมสายหลักหลายเส้นในเวลาต่อมา ได้แก่ ถนนรังสิต-นครนายก ถนนพหลโยธิน ถนนรังสิต-ปทุมธานี ตัวเมืองที่ขยายอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดปัญหา จากทั้งมลพิษทางสิ่งแวดล้อมทั้งทางน้ำและในอากาศปริมาณมากขึ้น คุณภาพชีวิต และสุขภาวะของผู้คนที่อ่อนแอลง อีกทั้งปัญหาจากการคมนาคมที่หนาแน่นขึ้น และการขาดการเชื่อมโยงระบบคมนาคมสายหลักกับสายย่อยที่ต่อไปยังชุมชนที่สะดวก จากเบื้องต้น คณะผู้วิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เล็งเห็นศักยภาพของจังหวัดปทุมธานีฝั่งตะวันออกซึ่งมีพื้นที่กว้างขวาง ในการสนับสนุนมหานครกรุงเทพที่มีพื้นที่แออัดไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น โดยการเป็นเมืองท่องเที่ยวพักผ่อนและสนับสนุนกิจกรรมการบริโภค โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ดังนั้นจังหวัดปทุมธานีจึงมีความสำคัญต่อประเทศและกรุงเทพมหานครในฐานะเมืองปริมณฑล โดย มทร.ธัญบุรี มีวิสัยทัศน์และความพร้อมในการวางแผนพัฒนาเมืองปทุมฐานีตะวันออกร่วมกับภาครัฐและชุมชนอย่างมีทิศทางและยั่งยืน ซึ่งในโครงการนี้แผนการดำเนินงานจะริเริ่มด้วยการสร้างธัญบุรี ชุมชนน่าอยู่ โดยการหาแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมและออกแบบเมืองอย่างมีอัตลักษณ์ เพื่อนำไปสู่เป้าปทุมธานีเมืองอัจฉริยะในอนาคต คณะนักวิจัยต้องการใช้โอกาสและอัตลักษณ์ของพื้นที่ที่มีเครือข่ายคลองเป็นตัวเชื่อมทั้งชุมชน พื้นที่เกษตรกรรม และระบบเมือง ให้เป็นจุดเด่นของการท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ecotourism) เพื่อพัฒนาไปสู่ปทุมธานีเมืองอัจฉริยะ ด้านการสร้างเครือข่ายคลองรังสิตและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Smart canal for recreation and ecotourism) โดยการออกแบบและพัฒนาพื้นที่คลองและพื้นที่ว่างเพื่อส่งเสริมสุขภาวะชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น แผนการดำเนินงานเริ่มจากการศึกษาศักยภาพพื้นที่กิจกรรมและพื้นที่ว่างสาธารณะริมคลอง เพื่อพัฒนาสู่การออกแบบและพัฒนาพื้นที่คลองและพื้นที่ว่าง วางระบบโครงข่ายคูคลอง พลิกฟื้นการใช้ประโยชน์และบทบาทลำคลองให้คงวิถีดั้งเดิมที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของพื้นที่ บริหารจัดการสัดส่วนพื้นที่ริมคลองให้สังคมเกษตรกรรมและสังคมเมืองอยู่ร่วมกันได้โดยรักษาพื้นที่เกษตรกรรมที่ยังไม่ถูกรุกล้ำ จัดการสภาพแวดล้อมส่วนที่เปลี่ยนแปลงให้เอื้อประโยชน์ต่อชุมชน และผสานรอยต่อให้เป็นตัวอย่างวิถีเก่าและใหม่เพื่อให้ปทุมธานีตะวันออกเป็นเมืองมีเสน่ห์น่ารื่นรมย์ การออกแบบพื้นที่จะควบคู่กับการศึกษาเพื่อหาแนวทางการใช้พืชบำบัดมลภาวะในอากาศ การใช้ชีวเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง และศึกษาแนวทางออกแบบจุดเชื่อมต่อระบบคมนาคมเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของคนทุกกลุ่ม เพื่อตอบวิสัยทัศน์ปทุมธานีเมืองอัจฉริยะ ด้านชุมชนน่าอยู่ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Smart livable community) จากนั้นจึงทำการศึกษาถึงแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดเป็นแนวทางการพัฒนาพื้นที่ว่างสาธารณะสำหรับประกอบกิจกรรมเชื่อมโยงคนในชุมชน ช่วยลดมลภาวะ ส่งเสริมสุขภาวะ รวมไปถึงคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่เมือง และสร้างคุณประโยชน์ด้านสภาพแวดล้อม สุขภาวะทางร่างกายและจิตใจ อันจะนำไปสู่การดูแลจัดการพื้นที่ต่อเนื่องและยั่งยืนที่สามารถเป็นแบบอย่างการบูรณาการทางด้านลักษณะทางกายภาพ ก่อให้เกิดการรับรู้ของคนในชุมชนเมืองมีอัตลักษณ์ ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี และก่อให้เกิดเป็นเมืองน่าอยู่ ที่ขยายผลยังชุมชนเมืองอื่นๆ ได้ต่อไป |
วัตถุประสงค์ | 1 เพื่อศึกษาศักยภาพพื้นที่คลองและพื้นที่ว่าง 2 เพื่อศึกษาแนวทางออกแบบและพัฒนาพื้นที่คลองและพื้นที่ว่างเพื่อส่งเสริมสุขภาวะชุมชน 3 เพื่อศึกษาแนวทางการใช้พืชบำบัดมลภาวะในอากาศ และการใช้ชีวเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ในเขตเมือง 4 เพื่อศึกษาแนวทางออกแบบจุดเชื่อมต่อระบบคมนาคมเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ ที่เหมาะสมกับ การใช้ งานของคนทุกกลุ่ม 5 เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่คลองและพื้นที่ว่าง |