ข้อมูลงานวิจัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรพื้นบ้านของไทยเพื่อส่งเสริมการเจริญของเส้นผมในรูปแบบไมโครอิมัลชั่น

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.มนสิชา ขวัญเอกพันธุ์
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.Monsicha Khuanekkaphan
    • ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงาน*คณะการแพทย์บูรณาการ
    • โทรศัพท์0828694XXX
    • E-Mail Addrespamzayo@hotmail.com
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญงานบริการด้านสุขภาพและความงามและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00102
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรพื้นบ้านของไทยเพื่อส่งเสริมการเจริญของเส้นผมในรูปแบบไมโครอิมัลชั่น
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Development of cosmetic product containing Thai folk herbs for hair growth promotion in micromulsions
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ ผศ.สุรัติวดี ทั่งมั่งมี
ผู้ร่วมวิจัย 1. ผศ.มนสิชา ขวัญเอกพันธุ์
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ สมุนไพรพื้นบ้านไทย ไมโครอิมัลชัน การเจริญของเส้นผม ความคงตัว
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล ปัญหาผมร่วง เป็นปัญหาที่พบได้มากทั้งในเพศชายและเพศหญิง ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งปัญหานี้มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพจิต ทั้งการสูญเสียความมั่นใจในตนเอง การเข้าสังคม ความวิตกกังวล และยังส่งผลให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ปัญหาผมร่วงอาจมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ คือระดับฮอร์โมนเพศชายที่เพิ่มมากขึ้น หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อรา แบคทีเรีย หรือมีการเพิ่มจำนวนของเชื้อรามากขึ้น และทำให้เกิดรังแค หรือกลากเกลื้อน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เซลล์ขนอ่อนแอ และนำไปสู่การขาดหลุดร่วงของผมได้ในที่สุด นอกจากนี้ปัญหาผมร่วงและหัวล้านยังเกิดจาก dermal papilla ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของต่อมรากผมสำหรับเป็นแหล่งสำรองเซลล์ในการเจริญของเส้นผม ได้ตายหรือฝ่อไป ทำให้เส้นผมจะขาดอาหารและหลุดร่วงโดยไม่มีการงอกใหม่เส้นผม ทั้งนี้ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการแก้ไขปัญหาผมร่วมและหัวล้านได้ เช่น PRP (Platelet-rich Plasma) คือวิธีการลดผมร่วงและกระตุ้นผมเกิดใหม่จากเกล็ดเลือดความเข้มข้นสูง โดยการนำเอาเลือดตัวเอง มาปั่นตกตะกอน และแยกเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดมาใช้ แล้วฉีด PRP ซึ่งประกอบไปด้วย Vascular Endothelial Growth Factor (VEGF) กลับไปบริเวณที่มีปัญหา เพื่อไปกระตุ้นสเต็มเซลล์บริเวณ dermal papilla พัฒนาต่อไปเป็นเส้นผม จากงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่า สมุนไพรพื้นบ้านของไทยที่มีการใช้ในทางการแพทย์แผนไทยมาช้านาน ได้แก่ ดอกคำฝอย มะขามป้อม ตะไคร้ ข่า ขิง อัญชัน แสมทะเล และเจตมูลเพลิงแดง มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5?-reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เปลี่ยนแปลงเทสโทสเทอโรนไปเป็นไดไฮโดรเทสโทสเทอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายที่แรงกว่าเดิมประมาณ 10 เท่า เป็นผลให้รูขุมขนฝ่อตัวลงและเส้นผมบริเวณหนังศีรษะเส้นเล็กลง เส้นผมที่ผลิตขึ้นมีลักษณะบางและสั้นลง และเกิดอาการผมบางและหลุดร่วง จนกระทั่งนำไปสู่ภาวะศีรษะล้าน (androgenic alopecia) (Kumar et al., 2011; Jain et al., 2014; Ishiguro et al., 2002) อย่างไรก็ตามสมุนไพรดังกล่าวยังไม่มีงานวิจัยที่ทดสอบความสามารถในการแบ่งตัวของเซลล์รากผม ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อกระตุ้นให้เกิดการเจริญของเส้นผมได้ รวมทั้งความเป็นพิษต่อเซลล์รากผม ซึ่งจะเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความปลอดภัยจากการใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นได้ ดังนั้นทางคณะผู้วิจัยจึงได้สนใจที่จะศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสมุนไพรพื้นบ้านของไทย ได้แก่ ดอกคำฝอย มะขามป้อม ตะไคร้ ข่า ขิง แสมทะเล เหงือกปลาหมอ เจตมูลเพลิงแดง และอัญชัน โดยการศึกษาฤทธิ์การแบ่งตัวของเซลล์รากผม และศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดต่อเซลล์รากผม รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบไมโครอิมัลชันที่มีสารสกัดสมุนไพรพื้นบ้านของไทยเป็นองค์ประกอบเพื่อใช้กระตุ้นการเจริญของเส้นผม ทางคณะผู้วิจัยมุ่งหวังที่จะพัฒนาสมุนไพรและยกระดับสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญของเส้นผมที่มีประสิทธิภาพ มีความคงตัว และมีความปลอดภัย สามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไปได้
วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อศึกษาฤทธิ์การแบ่งตัวของเซลล์รากผม (human hair follicle dermal papilla cells proliferation) ของสมุนไพรพื้นบ้านของไทย 1.2 เพื่อศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์รากผม โดยวิธี in vitro 1.3 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรพื้นบ้านของไทยในรูปแบบไมโครอิมัลชันที่สามารถส่งเสริมการเจริญของรากผม