ข้อมูลงานวิจัย พัฒนาชุดตรวจภาคสนามสำหรับแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)รศ.ดร.จิราภรณ์ อนันต์ชัยพัทธนา
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)รศ.ดร.Chiraporn Ananchaipattana
    • ตำแหน่งทางวิชาการ-
    • ตำแหน่งปัจจุบันรองศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • โทรศัพท์0926923XXX
    • E-Mail Addres
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญMicrobiology
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00071
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ พัฒนาชุดตรวจภาคสนามสำหรับแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Develop on-site detection kit for foodborne bacteria
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมวิจัย
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2564
คำสำคัญ แบคทีเรียก่อโรคในอาหาร, แลมป์, ชุดตรวจแบคทีเรีย
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล ปัญหาการปนเปื้อนของแบคทีเรียก่อโรคในอาหารนับเป็นปัญหาที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขไปจนกระทั่งถึงระบบเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก ทำให้หลายประเทศต่างพยายามหาแนวทางในการแก้หรือลดปัญหาดังกล่าวซึ่งที่ผ่านมาได้ใช้มาตรการต่างๆมากมายเพื่อให้ช่วยในการลดหรือแก้ปัญหาการปนเปื้อนของแบคทีเรียในอาหาร ซึ่งมาตรการหนึ่งที่จะช่วยลดหรือแก้ปัญหาการปนเปื้อนของแบคทีเรียก่อโรคได้นั้นก็คือมาตรการการตรวจติดตามการปนเปื้อนของแบคทีเรียในสายโซ่ของการผลิตอาหารตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการผลิต การเก็บรักษา การขนส่ง รวมถึงการจัดจำหน่าย ซึ่งการตรวจติดตามแบคทีเรียก่อโรคในอาหารนับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการผลิตอาหารตั้งแต่ฟาร์มจนกระทั่งถึงการจัดจำหน่ายสู่ผู้บริโภคซึ่งผลการตรวจสอบสามารถบอกได้ถึงต้นต่อของการปนเปื้อนซึ่งจะช่วยให้แก้ไขปัญหาการปนเปื้อนได้ได้ถูกต้องตรงจุดจึงจะทำให้สามารถควบคุมแบคทีเรียก่อโรคในอาหารไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ปัจจุบันการตรวจสอบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในบริเวณสายการผลิตหรือผลิตภัณฑ์อาหารส่วนใหญ่ใช้วิธีตรวจสอบโดยการเพาะเลี้ยงเซลล์ ซึ่งใช้เวลาตั้งแต่ 5-10 วันและต้องตรวจสอบได้ภายในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ด้วยข้อจำกัดที่ใช้เวลานานในการตรวจสอบและต้องตรวจสอบภายในห้องปฏิบัติการเท่านั้น จึงเป็นวิธีที่ไม่เหมาะที่จะใช้สำหรับติดตามเพื่อควบคุมแบคทีเรียก่อโรคในอาหารในระดับสุขาภิบาลเพื่อคัดกรอกแบคทีเรียที่เป็นอันตรายก่อนกระจายอาหารสู่ผู้บริโภค ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบจุลินทรีย์โดยใช้เทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุลซึ่งเป็นเทคนิคที่มีความจำเพาะ ถูกต้องแม่นยำสูง และให้ผลการตรวจสอบที่รวดเร็วกว่าวิธีตรวจสอบด้วยการเพาะเลี้ยงเซลล์ แต่อย่างไรก็ตามเทคนิคการตรวจสอบด้วยเทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุลจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาสูงและต้องตรวจสอบได้เพียงในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสนใจนำเทคนิคการตรวจสอบจุลลินทรีย์ด้วยเทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุลมาพัฒนาให้มีความสามารถตรวจสอบให้สามารถตรวจสอบในภาคสนามโดยใช้อุปกรณ์ที่ไม่ยุ่งยากและราคาไม่สูง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการใช้สำรวจติดตามแบคทีเรียเพื่อคัดกรองแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคตั้งแต่ระดับสายโซ่การผลิตจนกระทั้งถึงผู้บริโภค ซึ่งแบคทีเรียก่อโรคในอาหารที่จะทำการตรวจวิเคราะห์นี้คือแบคทีเรีย Salmonella spp. ซึ่งเป็นแบคทีเรียก่อโรคมักจะก่อปัญหาให้กับผู้ประกอบการอาหารในประเทศไทยอยู่เสมอ และข้อกำหนดมาตรฐานอาหารทั่วไปก็มีข้อกำหนดให้อาหารจะต้องไม่พบแบคทีเรีย Salmonella spp. เลยในอาหารตัวอย่าง โดยเทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุลพื้นฐานที่นำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจคือเทคนิค loop mediated isothermal amplification (LAMP) โดยมีการปรับขั้นตอนในการตรวจสอบผลที่สะดวกและรวดเร็วกว่าเดิมสามารถพร้อมใช้งานในภาคสนามได้ เหมาะกับการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมอาหาร
วัตถุประสงค์ 1. พัฒนาชุดตรวจสอบจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหารสายพันธุ์ Salmonella spp. ภาคสนามโดยเทคนิค loop mediated isothermal amplification (LAMP) 2. เปรียบเทียบประสิทธิภาพของชุดทดสอบที่พัฒนาขึ้นกับเทคนิคการตรวจสอบด้วยวิธีอื่น