-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.จันทิมา ฑีฆะ
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Jantima Teeka
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- โทรศัพท์0627539XXX
- E-Mail Addres่jan_pokpong@yahoo.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญ
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600084จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การพัฒนาสารสกัดจากเปลือกกล้วยอินทรีย์เพื่อผลิตสารเสริมอาหารเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามผสมหัวเชื้อโปรไบโอติก |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Development of Organic Banana Peel Extract for Producing Shrimp Feeding Supplement Mixed Probiotic Inoculant |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.อัษฎาวุธ อารีสิริสุข |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.จันทิมา ฑีฆะ |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2562 |
คำสำคัญ | |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | นปัจจุบันการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) ได้มีการพัฒนาและและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความต้องการบริโภคกุ้งก้ามกรามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรจึงเพิ่มปริมาณการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามมากขึ้น ทำให้ประชากรกุ้งที่เลี้ยงต่อพื้นที่มีจำนวนหนาแน่น ส่งผลให้กุ้งมีโอกาสติดเชื้อระหว่างกันได้ง่ายทำให้ผลผลิตลดลงเนื่องจากการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ซึ่งส่งผลเสียต่อการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเป็นอย่างมาก ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในระหว่างกระบวนการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเป็นจำนวนมาก เพื่อลดการติดเชื้อก่อโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันและเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต รวมถึงเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของกุ้งให้สูงขึ้น อย่างไรก็ตามหากมีการใช้ยาปฏิชีวนะในการเพาะเลี้ยงกุ้งมากเกินความจำเป็นจะส่งผลให้เกิดการตกค้างและส่งผลเสียต่อผู้บริโภคได้ประกอบกับในปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารที่มีปลอดภัย หรืออาหารที่ใช้กระบวนการผลิตแบบอินทรีย์ที่มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวงานวิจัยนี้จึงมุ่งพัฒนาการผลิตสารเสริมอาหารกุ้งที่มีความปลอดภัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามให้สูงขึ้น โปรไบโอติก (Probiotic) เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งเมื่อสัตว์บริโภคเข้าไปในปริมาณที่เหมาะสมจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยช่วยในการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ต่าง ๆ ในระบบทางเดินอาหาร ทำหน้าที่ช่วยย่อยอาหารและผลิตสารบางชนิดที่มีประโยชน์ เช่น กรดอะมิโน กรดแลคติก แบคเทอริโอซิน และวิตามิน เป็นต้น โดยในปัจจุบันมีการนำโปรไบโอติกมาใช้เป็นส่วนประกอบเสริมในอาหารสัตว์ เพื่อส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยอาหาร รวมทั้งลดจำนวนจุลินทรีย์ก่อโรคในระบบทางเดินอาหารสัตว์ (Chiu et al., 2007) อย่างไรก็ตามโปรไบโอติกไม่ทนต่อความร้อนในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ และยังถูกย่อยสลายในระบบทางเดินอาหารอีกด้วย ทำให้จำนวนโปรไบโอติกที่มีชีวิตไม่เพียงพอต่อการทำงานในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ จึงจำเป็นต้องใช้หัวเชื้อโปรไบโอติกที่มีจำนวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตเริ่มต้นสูงให้เพียงพอต่อการทำงานในระบบทางเดินอาหารสัตว์ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารสกัดจากพืชบางชนิดมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในสัตว์ เนื่องจากมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเป็นส่วนประกอบหลายชนิด โดยเฉพาะสารประกอบฟีนอลิก (phenolic compound) หรือสารประกอบฟีนอล ซึ่งเป็นสารที่พบได้ในพืชหลายชนิด เช่น ผัก ผลไม้ เครื่องเทศ และสมุนไพร เป็นต้น โดยสารดังกล่าวมีคุณสมบัติเป็นสารต้านออกซิเดชัน (antioxidant) และกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการเพาะเลี้ยงสัตว์ได้ กล้วยเป็นพืชที่มีสารประกอบฟีนอลิกเป็นส่วนประกอบ ซึ่งพบมากในส่วนของเปลือกกล้วย ซึ่งมีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งเชื้อก่อโรคและช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันในกุ้งก้ามกรามได้ (Rattanavichai and Cheng, 2014) ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะประยุกต์ใช้โปรไบโอติกร่วมกับสารสกัดจากพืชเพื่อเป็นสารเสริมในอาหารสัตว์เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต เพิ่มอัตราการรอดชีวิต และกระตุ้นภูมิคุ้มกันของสัตว์ที่เพาะเลี้ยงได้ และประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเพาะปลูกกล้วยเพื่อการบริโภคและการค้าในระดับสูง จึงส่งผลให้มีปริมาณเปลือกกล้วยเหลือทิ้งจำนวนมาก เกิดเป็นขยะมูลฝอยและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเพื่อเพิ่มมูลค่าของเปลือกกล้วย งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นนำเปลือกกล้วยมาใช้เป็นวัตถุดิบในการสกัดสารที่มีฤทธิ์ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของกุ้งก้ามกราม และนำมาใช้เป็นสารเสริมร่วมกับโปรไบโอติกในอาหารเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบของสารสกัดจากเปลือกกล้วย 2. เพื่อศึกษาสภาวะในการสกัดสารจากเปลือกกล้วย และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญ 3. เพื่อทดสอบการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามด้วยอาหารอัดเม็ดเสริมสารสกัดจากเปลือกกล้วยและโปรไบโอติก |