-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.ชนากานต์ เรืองณรงค์
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Chanakarn Ruangnarong
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
- โทรศัพท์0992935XXX
- E-Mail Addreschanakarn@rmutt.ac.th
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญFashion History
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600086จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นสำเร็จรูปจากผ้าผักตบชวาสู่เชิงพาณิชย์ |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Production of Ready-made Fashion Design from Water Hyacinth Fabric to Perceived Value Creation. |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.ชนากานต์ เรืองณรงค์ |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.ศุภนิชา ศรีวรเดชไพศาล |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | ผลิตภัณฑ์แฟชั่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผักตบชวา |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยมีแนวโน้มในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านเส้นใย เส้นด้าย และผืนผ้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่แล้วมีการพัฒนาควบคู่ไปกับการนำพืชทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การนำเส้นใยธรรมชาติมาพัฒนาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทออย่างเต็มรูปแบบนั้น จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมสิ่งทอ ลดการสูญเสียของวัตถุดิบเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร และสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งมลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ จึงเกิดความตื่นตัวในกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (eco-friendly product) นับเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของผู้บริโภคได้ ปัจจุบันโลกให้ความสนใจกับการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (economic & ecological design; eco design or green design) ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งของการจัดการเชิงรุก กล่าวคือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการลดกากของเสีย ยืดระยะเวลาการใช้งาน และเพิ่มปริมาณการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียที่จะตามมาภายหลังตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ความสำคัญของ eco design มิใช่เป็นเพียงแค่แนวทางในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือการจัดการเชิงรุกในด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญในแง่ของการค้าและการส่งออกอีกด้วย เนื่องจากสังคมในโลกปัจจุบันโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหภาพยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่นให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงมีข้อกำหนดและกฎระเบียบทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก นวัตกรรมสิ่งทอสีเขียว (eco-innovative textiles) เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการพัฒนาและจัดการองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ผักตบชาในจังหวัดปทุมธานีนั้นมีปัญหาเรื่องปริมาณมากเป็นอันดับต้นๆของประเทศไทย พบได้ทั้งในแม่น้ำลำคลอง และแหล่งนาปิด เพราะผักตบชวาเป็นพืชที่ทนทานสภาพแวดล้อมและมีการขยายพันธุ์ได้รวดเร็วจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตใต้น้ำ การคมนาคมทางน้ำ และชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำการเจริญเติบโตของผักตบชวา เป็นพืชที่มีอัตราการเจริญเติมโตสูงทนทานต่อสภาพแวดล้อม เป็นพืชที่มีทุ่นลอยสามารถอยู่ได้ทั้งในน้ำนิ่งและน้ำไหล ผักตบชวามีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ทั้งทางเมล็ดและการแตกหน่อ ทำให้ผักตบชวามีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดปัญหาต่อแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วจังหวัดปทุมธานี และประเทศไทยก่อให้เกิดผลเสียต่อ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นผู้วิจัยจึงได้เล็งเห็นว่า การออกแบบสร้างสรรค์เสื้อผ้าแฟชั่นสำเร็จรูปจากผ้าผักตบชวานั้นมีความจำเป็นต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอเชิงพาณิชย์เป็นอย่างมาก ควรมีการนำการออกแบบที่ทันต่อยุคสมัย เข้าถึงความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคสิ่งทอที่มีการเปลี่ยนแปลงรสนิยมการแต่งกาย หรือเครื่องประกอบการแต่งกายที่มีทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไป มีความนิยมในด้านสิ่งทอรักษ์โลกเพิ่มมากยิ่งขึ้นทั้งในและต่างประเทศ งานด้านการออกแบบนั้นก็มีความสำคัญเป็นอย่างมากในทุกๆด้านกับวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน การออกแบบอาจเป็นสิ่งสำคัญด้านหนึ่งในการอำนวยความสะดวกในด้านการดำรงชีวิตของมนุษย์ไปแล้วในปัจจุบัน ในส่วนของการสร้างสรรค์งานออกแบบจากนวัตกรรมผ้าผักตบชวานั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในสิ่งทอไทย ทั้งในเชิงวัฒนธรรมและนวัตกรรมที่มีความสำคัญในปัจจุบัน แต่ส่วนหนึ่งที่ยังคงเห็นได้ชัดคือการส่งเสริมจากกภาครัฐ และเอกชนในการอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ต่อไปจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการวิจัยการผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นสำเร็จรูปจากผ้าผักตบชวาสู่เชิงพาณิชย์ ถือเป็นการตอบโจทย์การพัฒนาในทุกๆด้านที่สอดคล้องความต้องการพัฒนาสิ่งทอ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ให้กับประเทศ สืบต่อการสร้างสรรค์งานออกแบบร่วมกับการพัฒนาสิ่งทอสู้เชิงพาณิชย์ต่อไป |
วัตถุประสงค์ | 1 เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นสำเร็จรูปจากผ้าผักตบชวา 2 เพื่อศึกษาช่องทางทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นจากผ้าผักตบชวา |