-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)รศ.ดร.วรนุศย์ ทองพูล
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)รศ.ดร.Voranut Thongpool
- ตำแหน่งทางวิชาการ-
- ตำแหน่งปัจจุบันรองศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- โทรศัพท์063-869-3XXX
- E-Mail Addres
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญงานสอน
อัพเดทล่าสุด
01 ม.ค. 256800047จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การพัฒนาและแปรสภาพวัสดุทางการเกษตรของชุมชน ในจังหวัดปทุมธานี เพื่อลดปริมาณของเสีย และการเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือใช้ |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Development and transformation of aagricultural wastes from local area in Pathum Thani Province for reduce waste content and adding value of waste materials |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.เนตรนภิส แก้วช่วย |
ผู้ร่วมวิจัย | |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | การจัดการของเสีย, วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร วัสดุดูดซับ……สิ่งแวดล้อม… การพัฒนาพื้นที่ |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | จังหวัดปทุมธานี เป็นจังหวัดที่ประชากรส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักและเป็น 1 ใน 5 ของจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตข้าวมากที่สุดของประเทศ ผลพลอยได้ทางการเกษตรคือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรต่างๆ เช่น แกลบ เป็นวัสดุเหลือใช้ที่มีสัดส่วนเหลือทิ้งมากที่สุด และยังไม่ได้ถูกนำ มาใช้ประโยชน์มากนักและพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ยังมีการจัดการของเสีย วัสดุทางการเกษตรหรือเรียกว่า ชีวมวลโดยการเผาในที่โล่ง (open burning) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านฝุ่นควันจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ปัญหาหลักของชุมชนคือ ปัญหาการจัดการด้าน มลพิษทางน้ำของชุมชน และด้านสิ่งแวดล้อมเชื่อมโยงกับปัญหาด้านสาธารณสุขเป็นลูกโซ่ ส่งผลถึงความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตของคนแต่ละชุมชน ระบบการจัดการของเสียและกระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็น แนวคิดของโครงการวิจัยที่จะพัฒนาชุมชนให้เกิดองค์ความรู้ทางด้านการจัดการวัสดุเหลือใช้ ของเสียในชุมชน อย่างเป็นรูปธรรม โดยการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ เข้ามาบริหารจัดการการแปรรูปและพัฒนาวัสดุดูดซับวัสดุดูดซับชนิดใหม่ หรือ biochar จากวัสดุทางการเกษตร หรือวัสดุเหลือ ทิ้งทางการเกษตร เป็นวิธีการแปรสภาพ วัสดุเหลือใช้ในชุมชน สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชนได้ เป็นการลดปริมาณของวัสดุที่จะถูกนำไปทิ้ง และสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ในห่วงโซ่คุณค่าทางสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนได้ โดยพบว่า biochar สามารถนำมาใช้ในการบำบัดน้ำได้เป็นอย่างดี โดยสามารถใช้เป็นวัสดุดูดซับสารเคมีอันตราย หรือกรองกากตะกอนของ น้ำจากแหล่งครัวเรือน ปศุสัตว์ และการลดปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โลหะหนักที่ตกค้างในน้ำจากภาคเกษตรกรรมได้ ดังนั้นนวัตกรรมการแปรสภาพของเหลือทิ้งเป็นวัสดุดูดซับและบำบัดน้ำในชุมชน จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการจัดการปัญหาคุณภาพน้ำในชุมชนอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ให้สภาพแวดล้อมในชุมชน ทำให้ชุมชนน่าอยู่มากยิ่งขึ้น และส่งผลต่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าการเกษตร ไปสู่การทำเกษตรปลอดภัย และปัจจุบันพบว่าเกษตรกรในจังหวัดก็มีความสนใจต้องการยกระดับเพิ่มราคาสินค้าเกษตรของตนเองโดยมีแนวโน้มในการทำเกษตรปลอดภัยเข้าสู่ระบบมาตรฐานปลอดภัย เพิ่มขึ้น นอกจากนี้จังหวัดปทุมธานีมีแนวนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรปลอดสารพิษแบบครบวงจร ทั้งประเภทพืชผัก ปศุสัตว์ และสัตว์น้ำจืด ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าเกษตรมีราคาเพิ่มสูงขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจ และส่งต่อให้กับผู้บริโภคที่จะได้บริโภคสินค้าเกษตรที่ปลอดสารพิษดีต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจจากสินค้าเกษตรดีขึ้น อาจสามารถสร้างเป็นธุรกิจของชุมชน การต่อยอดอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์และวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio Circular-Green Economy: BCG Economy) ได้ในอนาคต |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อพัฒนาและแปรสภาพวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เป็นวัสดุดูดซับเป็นนวัตกรรมชุมชนเพื่อกำจัดสารเคมีอันตรายและโลหะตกค้างจากการทำการเกษตรในพื้นที่ชุมชน 2. เพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และพัฒนาพื้นที่ชุมชนสู่การทำการเกษตรปลอดภัยด้วยนวัตกรรมชุมชน |