-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.สุรัติวดี ทั่งมั่งมี
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.Suradwadee Thungmungmee
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงาน*คณะการแพทย์บูรณาการ
- โทรศัพท์0832135XXX
- E-Mail Addresibcosmetic2@gmail.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง : การพัฒนาสูตรตำรับ
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600222จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรพื้นบ้านของไทยเพื่อส่งเสริมการเจริญของเส้นผมในรูปแบบไมโครอิมัลชั่น |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Development of cosmetic product containing Thai folk herbs for hair growth promotion in micromulsions |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.สุรัติวดี ทั่งมั่งมี |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.มนสิชา ขวัญเอกพันธุ์ |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | สมุนไพรพื้นบ้านไทย ไมโครอิมัลชัน การเจริญของเส้นผม ความคงตัว |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | ปัญหาผมร่วง เป็นปัญหาที่พบได้มากทั้งในเพศชายและเพศหญิง ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งปัญหานี้มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพจิต ทั้งการสูญเสียความมั่นใจในตนเอง การเข้าสังคม ความวิตกกังวล และยังส่งผลให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ปัญหาผมร่วงอาจมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ คือระดับฮอร์โมนเพศชายที่เพิ่มมากขึ้น หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อรา แบคทีเรีย หรือมีการเพิ่มจำนวนของเชื้อรามากขึ้น และทำให้เกิดรังแค หรือกลากเกลื้อน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เซลล์ขนอ่อนแอ และนำไปสู่การขาดหลุดร่วงของผมได้ในที่สุด นอกจากนี้ปัญหาผมร่วงและหัวล้านยังเกิดจาก dermal papilla ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของต่อมรากผมสำหรับเป็นแหล่งสำรองเซลล์ในการเจริญของเส้นผม ได้ตายหรือฝ่อไป ทำให้เส้นผมจะขาดอาหารและหลุดร่วงโดยไม่มีการงอกใหม่เส้นผม ทั้งนี้ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการแก้ไขปัญหาผมร่วมและหัวล้านได้ เช่น PRP (Platelet-rich Plasma) คือวิธีการลดผมร่วงและกระตุ้นผมเกิดใหม่จากเกล็ดเลือดความเข้มข้นสูง โดยการนำเอาเลือดตัวเอง มาปั่นตกตะกอน และแยกเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดมาใช้ แล้วฉีด PRP ซึ่งประกอบไปด้วย Vascular Endothelial Growth Factor (VEGF) กลับไปบริเวณที่มีปัญหา เพื่อไปกระตุ้นสเต็มเซลล์บริเวณ dermal papilla พัฒนาต่อไปเป็นเส้นผม จากงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่า สมุนไพรพื้นบ้านของไทยที่มีการใช้ในทางการแพทย์แผนไทยมาช้านาน ได้แก่ ดอกคำฝอย มะขามป้อม ตะไคร้ ข่า ขิง อัญชัน แสมทะเล และเจตมูลเพลิงแดง มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5?-reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เปลี่ยนแปลงเทสโทสเทอโรนไปเป็นไดไฮโดรเทสโทสเทอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายที่แรงกว่าเดิมประมาณ 10 เท่า เป็นผลให้รูขุมขนฝ่อตัวลงและเส้นผมบริเวณหนังศีรษะเส้นเล็กลง เส้นผมที่ผลิตขึ้นมีลักษณะบางและสั้นลง และเกิดอาการผมบางและหลุดร่วง จนกระทั่งนำไปสู่ภาวะศีรษะล้าน (androgenic alopecia) (Kumar et al., 2011; Jain et al., 2014; Ishiguro et al., 2002) อย่างไรก็ตามสมุนไพรดังกล่าวยังไม่มีงานวิจัยที่ทดสอบความสามารถในการแบ่งตัวของเซลล์รากผม ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อกระตุ้นให้เกิดการเจริญของเส้นผมได้ รวมทั้งความเป็นพิษต่อเซลล์รากผม ซึ่งจะเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความปลอดภัยจากการใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นได้ ดังนั้นทางคณะผู้วิจัยจึงได้สนใจที่จะศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสมุนไพรพื้นบ้านของไทย ได้แก่ ดอกคำฝอย มะขามป้อม ตะไคร้ ข่า ขิง แสมทะเล เหงือกปลาหมอ เจตมูลเพลิงแดง และอัญชัน โดยการศึกษาฤทธิ์การแบ่งตัวของเซลล์รากผม และศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดต่อเซลล์รากผม รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบไมโครอิมัลชันที่มีสารสกัดสมุนไพรพื้นบ้านของไทยเป็นองค์ประกอบเพื่อใช้กระตุ้นการเจริญของเส้นผม ทางคณะผู้วิจัยมุ่งหวังที่จะพัฒนาสมุนไพรและยกระดับสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญของเส้นผมที่มีประสิทธิภาพ มีความคงตัว และมีความปลอดภัย สามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไปได้ |
วัตถุประสงค์ | 1.1 เพื่อศึกษาฤทธิ์การแบ่งตัวของเซลล์รากผม (human hair follicle dermal papilla cells proliferation) ของสมุนไพรพื้นบ้านของไทย 1.2 เพื่อศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์รากผม โดยวิธี in vitro 1.3 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรพื้นบ้านของไทยในรูปแบบไมโครอิมัลชันที่สามารถส่งเสริมการเจริญของรากผม |