-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ผศ.ดร.สุภาวดี ปาทาธนานนท์
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ผศ.ดร.Supawadee Patathananone
- ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
- ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์
- คณะ/หน่วยงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- โทรศัพท์0971539XXX
- E-Mail Addresjikkalobc11@gmail.com
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญBiochemlstry, Anticancer, Antimcrobial, Immunology, Pasten, Purifloatfow
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600085จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การพัฒนาและแปรสภาพของวัตถุดิบเหลือใช้และของเสียจากกลุ่มวิสาหกิจด้านร้านอาหารสัตว์น้ำ ในเขตเทศบาลเมืองท่าโขลง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Development and transformation of waste and waste materials from the enterprise groups of aquatic animals, in Thaklong Municipality, Khlong Luang District, Pathum Thani Province |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | ผศ.สุภาวดี ปาทาธนานนท์ |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.นฤมล แสนเสนา |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2563 |
คำสำคัญ | สัตว์น้ำ, ผลิตภัณฑ์อินทรีย์, น้ำหมักชีวภาพ, ปุ๋ยชีวภาพ, เปลือกกุ้ง, เปลือกปู, ไคโตซาน |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | ร้านอาหารสด อาหารแปรรูป รวมทั้งร้านอาหารประเภทนั่งทาน มีกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนที่มีการนำมาประกอบอาหาร ได้แก่ ผัก ผลไม้ เห็ด กุ้ง หอย ปู ปลา ที่มาจากแหล่งน้ำจืด และทะเล โดยส่วนที่ถูกคัดนำมาปรุงอาหารนั้น คิดเป็นร้อยละ 80 ของน้ำหนัก ในขณะที่ร้อยละ 20 ถูกทิ้งเป็นของเสีย ร้านอาหารประเภทนั่งทานขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ ร้านอาหารกลุ่มร้านปิ้งย่างเนื้อสัตว์ และอาหารกลุ่มสัตว์น้ำจืดและจากทะเล โดยพบว่า ขยะจากอุตสาหกกรรมอาหารทะเล หรือขยะปู กุ้งในเชิงพาณิชย์ เป็นแหล่งสำคัญที่สุด จากข้อมูลของ Merzendorfer (2011) กล่าวว่า มีของเสีย หรือขยะเหลือทิ้งจากอุตสากรรมแปรรูปปลา โดยเฉพาะเกล็ดปลามากกว่า 10,000 ตันต่อปี จากผลการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของหน่วยงานบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ได้รายงานข้อมูลประเภทของขยะมูลฝอยในจังหวัดปทุมธานีที่เกิดขึ้นในชุมชนพบว่าขยะมูลฝอยประกอบด้วย เศษอาหารและอินทรีย์สาร ร้อยละ 63.75, พลาสติกร้อยละ 16.80, กระดาษร้อยละ 8.19, ของแห้งร้อยละ 3.47, โลหะ ร้อยละ 2.10 และ ไม้ หนัง ผ้า ของเสียอันตราย ร้อยละ 5.69 โดยพบว่าเทศบาลเมืองท่าโขลงมีปริมาณขยะมากที่สุด คือ วันละ 200 ตัน และสามารถเก็บได้ 195 ตัน คงเหลือขยะตกค้างวันละ 5 ตัน ซึ่งคิดเป็นปริมาณขยะกิโลกรัม/คน/วัน ในเขตเทศบาลเมืองท่าโขลง คือ 4.83 กิโลกรัม/คน/วัน จังหวัดปทุมธานี มีแนวนโยบายด้านการจัดการวัสดุทางการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร และวัสดุเหลือใช้จากชุมชน เพื่อสร้างให้เมืองปทุมธานีในหลายพื้นที่ เป็นเขตพื้นที่เมืองน่าอยู่ โดยดำเนินการภายใต้แผนพัฒนาประเทศ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาชุมชนของจังหวัดปทุมธานี ทีมวิจัยจึงได้ออกแบบการจัดการด้านวัสดุเหลือใช้ในชุมชน ขยะ และของเสียจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยการนำองค์ความรู้ด้านการวิจัยทั้งในส่วนของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ บูรณาการเพื่อเข้ามาพัฒนา แปรรูป และจัดการวัสดุในชุมชน เพื่อตอบสนองต่อผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ-หลัก (Key Result) ของแพลตฟอร์ม นั่นคือ 1) เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีขีดความสามารถในการจัดการตนเอง ในมิติด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ 2) ชนชนมีศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อมของชุมชนด้วยความรู้และนวัตกรรม 3) มีการสร้างความรู้และนำความรู้ไปใช้ในการจัดการปัญหาในชุมชน และที่สำคัญคือโครงการวิจัยสามารถพัฒนาให้เกิดนักวิจัยชาวบ้าน/นวัตกรชาวบ้าน 1,000 คน/ปี จากข้อมูลของขยะมูลฝอยในจังหวัดปทุมธานี ผู้วิจัยพบว่าจังหวัดปทุมธานี มีกระบวนการจัดการขยะเบื้องต้นแล้ว อย่างไรก็ตาม ปริมาณขยะที่มีมากในแต่ละวันทำให้กระบวนการจัดการของเสียและขยะมูลฝอยในพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดปทุมธานียังมีข้อจำกัด ผู้วิจัยจึงได้เล็งเห็นถึงช่องว่างของการจัดการของเสียส่วนเกินเหล่านี้ในพื้นที่ของชุมชนของเขตพื้นที่เป้าหมาย โดยผู้วิจัยให้ความสนใจกับกลุ่มของเสียจากเศษอาหารและอินทรีย์สาร ในชุมชน วิสาหกิจชุมชน โดยเฉพาะของเสียจากสัตว์น้ำ ทั้งน้ำจืด และน้ำทะเล ซึ่งได้แก่ เกล็ดปลา เปลือกกุ้ง เปลือกปู หรือเปลือกหอย โดยต้องการแยกขยะมูลฝอยดังกล่าวมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมประจำชุมชน หรือ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะ/ของเสียเหล่านี้ เปลือกกุ้ง ปู เป็นแหล่งของพอลิเมอร์ธรรมชาติกลุ่มไคติน ซึ่งมีกระบวนการพัฒนาไคตินเป็นอนุพันธ์ของไคติน หรือที่เรียกว่า ไคโตซาน สารกลุ่มนี้มีการนำมาประยุกต์ใช้และสร้างประโยชน์ในหลายหลายด้าน เช่น ด้านการเกษตรกรรมและอาหาร มีการนำไคโตซานมาประยุกต์ใช้เป็นสารเคลือบผลไม้ เพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษา ป้องกันการเน่าเสียของผลไม้ได้ เนื่องจากไคโตซานมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ ไคโตซานมีคุณสมบัติในการช่วยลดปริมาณคลอเรสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ ทำให้ไคโตซานถูกนำมาประยุกต์ใช้ด้านอาหาร ซึ่งประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนาไคโตซานไปใช้เป็นส่วนผสมของอาหารและขนมหลายประเภท ได้แก่ คุกกี้ ก๋วยเตี๋ยว และน้ำส้ม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้ ไคโตซานในการลดปริมาณคลอเรสเตอรอลและไขมันในสัตว์ ซึ่งพบว่าสัตว์ที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดไคโตซานมีปริมาณคลอเรสเตอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น เป็นต้น จากองค์ความรู้ของไคติน ไคโตซาน ที่มีงานวิจัยอย่างกว้างขวาง ผู้วิจัยจึงต้องการพัฒนากระบวนการจัดการของเสียจากสัตว์น้ำ ให้เป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชุมชน หรือ ก่อให้เกิดรายได้จากการทำวิจัยนี้ให้กับคนในชุมชน ดังนั้นงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยจึงต้องการนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาจัดการของเสียจากสัตว์น้ำ ในพื้นที่ของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองท่าโขลง ร่วมกับ หน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน โดยผู้วิจัยคาดว่า การจัดการของเสียในชุมชนด้วยการทำวิจัยครั้งนี้ จะช่วยให้ปริมาณของเสียจากสัตว์น้ำถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และสามารถสร้างนวัตกรรม สร้างรายได้ให้กับผู้ทำวิจัยร่วมวิจัย เกิดนวัตกรรุ่นใหม่ในชุมชน เกิดแหล่งเรียนรู้ต้นแบบในชุมชน นอกจากนั้น ชุมชนต้นแบบยังสามารถนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีไปถ่ายทอดให้กับชุมชนใกล้เคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปได้ |
วัตถุประสงค์ | วัตถุประสงค์ เพื่อสารสกัดไคติน และสังเคราะห์ไคโตซานจากของเสียจากสัตว์น้ำจืด สัตว์น้ำทะเล เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติไคติน และไคโตซานที่ได้จากกรรมวิธีที่เหมาะสม เพื่อสร้างนวัตกรรมทางด้านการเกษตร อาหาร หรือ นวัตกรรมด้านสุขภาพและด้านผลิตภัณฑ์ ความงาม หรือ นวัตกรรมที่เหมาะสมจากสารไคติน และไคโตซานที่สกัดได้ |