ข้อมูลงานวิจัย การพัฒนาระบบพลาสมาเย็นที่บรรยากาศปกติแบบพกพาสำหรับการเกษตรในตำบลคลองเรือ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี

ข้อมูลส่วนตัว
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)รศ.ดร.ปรเมนทร์ พอใจ
    • ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)รศ.ดร.Porramain Porjai
    • ตำแหน่งทางวิชาการ-
    • ตำแหน่งปัจจุบันรองศาสตราจารย์
    • คณะ/หน่วยงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • โทรศัพท์0831821XXX
    • E-Mail Addresporramain_p@rmutt.ac.th
    • สาขาวิชาการที่มีความชำนาญฟิสิกส์ไม่เชิงเส้น (non-linear), พลาสมาเย็นที่บรรยากาศปกติ (Cold atmospheric plasma)
    อัพเดทล่าสุด
    09 ก.ย. 2566
    00054
    จำนวนคนดู
ข้อมูลโครงการงานวิจัย
ชื่อโครงการ การพัฒนาระบบพลาสมาเย็นที่บรรยากาศปกติแบบพกพาสำหรับการเกษตรในตำบลคลองเรือ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ Development of a Portable Atmospheric Pressure Plasma System for Agriculture in Khlong Ruea Sub-districts, Wihan Daeng District, Saraburi Province
หน่วยงาน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมวิจัย
พี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา
ปีงบประมาณ 2563
คำสำคัญ พลาสมาเย็นที่บรรยากาศปกติ, ความต่างศักย์แรงดันสูง อนุพันธ์ออกซิเจนว่องไว และ อนุพันธ์ไนโตรเจนว่องไว
ผลลัพธ์
บทคัดย่อ (ภาษาไทย)
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)
หลักการและเหตุผล พลาสมาเป็นกลุ่มก๊าซไอออนซึ่งนับว่าเป็นสถานะที่ 4 ของสสาร ก๊าซที่เป็นกลางทางไฟฟ้าสามารถถูกเหนี่ยวนำให้แตกตัวเป็นไอออนได้โดยกระบวนการไอออนไนเซชั่น (ionization) พลาสมาเย็นเป็นกลุ่มไอออนที่มีอุณหภูมิใกล้เคียงอุณหภูมิห้องหรือสูงกว่าเล็กน้อยสามารถใช้ในงานด้านการเกษตรได้ พลาสมาเย็นสามารถสร้างได้โดยใช้แหล่งพลังงานไฟฟ้ากำลังสูงหลายชนิด ได้แก่ แหล่งจ่ายไฟกระแสสลับแรงสูงระดับพันโวลต์ แหล่งจ่ายไฟความถี่ย่านความถี่วิทยุ และ แมกเนตรอนซึ่งสร้างคลื่นไมโครเวฟในกระบวนการกำเนิดพลาสม่าเย็นซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดกลุ่มก๊าซไอออนแล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ เกิดขึ้นอีก เช่น สนามไฟฟ้า แสงอัลตร้าไวโอเลต และ อนุภาคที่ไวต่อการการเกิดปฏิกิริยา เป็นต้น คณะผู้วิจัยได้รับปัญหาจากสถานประกอบการที่เลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทอง นั่นก็คือ ฟาร์มลุงหยุด ตั้งอยู่ที่ ต.คลองเรือ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี เกิดปัญหาของถั่งเช่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียมากกว่า 10% ทำให้ต้นทุนในการเพาะเลี้ยงถั่งเช่าสูง เนื่องจากต้องเพาะเลี้ยงในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้นำเทคโนโลยีพลาสมาเย็นมาแก้ปัญหาการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งผลการทดลองพบว่าสามารถลดการติดเชื้อได้ 100% และสารสำคัญอย่างคอร์ไดซิปินและอดิโนซีนในถั่งเช่าสีทองเพิ่มขึ้น โดยคณะผู้วิจัยได้รับการสนับสนุนทุนจาก คลินิกเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีงบประมาณ 2562 แต่เนื่องจากระบบพลาสมาเย็นที่ประดิษฐ์ขึ้นมีขนาดใหญ่ จึงทำให้การเคลื่อนย้ายไปยังสถานประกอบการเป็นไปได้ด้วยความยากลำบาก อีกทั้งยังมีราคาสูงทำให้เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้ ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงจะทำการพัฒนาระบบพลาสมาเย็นที่บรรยากาศปกติในขนาดที่เล็กลง เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย แต่ไม่ทำให้ประสิทธิภาพลดลง และทำให้ราคาของเทคโนโลยีพลาสมาเย็นนี้ลดลงอีกด้วย
วัตถุประสงค์ - เพื่อพัฒนาระบบพลาสมาเย็นที่บรรยากาศปกติแบบพกพาเพื่อใช้ใน ตำบลคลองเรือ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี - เพื่อเผยแพร่งานวิจัยเทคโนโลยีพลาสมาเย็นที่บรรยากาศปกติในวารสารระดับนานาชาติ - เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีพลาสมาเย็น

เว็บไซต์ มทร.ธัญบุรี ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้