-
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)ดร.ไฉน น้อยแสง
- ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)ดร.Chanai Noisaeng
- ตำแหน่งทางวิชาการ-
- ตำแหน่งปัจจุบันอาจารย์
- คณะ/หน่วยงานสถาบันวิจัยและพัฒนา
- โทรศัพท์0813427XXX
- E-Mail Addres
- สาขาวิชาการที่มีความชำนาญงานสอน
อัพเดทล่าสุด
09 ก.ย. 256600041จำนวนคนดู
ชื่อโครงการ | การผลิตสารสกัดกัญชงมาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อใช้ประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์อาหาร |
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ | Production of industrial grade Cannabis sativa L. extract for application in health and food products |
หน่วยงาน | |
หัวหน้าโครงการ | |
ผู้ร่วมวิจัย |
1. ผศ.บุณณดา ภมรปฐมกุล |
พี่เลี้ยง | |
ที่ปรึกษา | |
ปีงบประมาณ | 2564 |
คำสำคัญ | สารสกัดกัญชง, กรรมวิธีการสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ |
ผลลัพธ์ | |
บทคัดย่อ (ภาษาไทย) | |
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) | |
หลักการและเหตุผล | สารสกัดจากส่วนต่างๆของต้นกัญชง เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วโลก ในปีพ.ศ. 2562 ตลาดผลิตภัณฑ์กัญชงทั่วโลกมีมูลค่าถึง 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวถึง 26.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ในทวีปยุโรปความนิยมผลิตภัณฑ์จากกัญชงมีความเป็นมายาวนานและมีการเพาะปลูกในหลายพื้นที่ทั้งยุโรปตะวันออกและตะวันตก โดยแหล่งปลูกที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในประเทศฝรั่งเศสที่ผลิตถึงร้อยละ 50 ของวัตถุดิบกัญชงทั้งหมดในภูมิภาค กัญชงนั้นนิยมนำมาประกอบผลิตภัณฑ์อาหาร ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายประเภท และสามารถผสมเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพราะมีคุณสมบัติลดการอักเสบเหมาะสำหรับผู้มีปัญหาผิว ดังนั้นในโครงการนี้ผู้วิจัยจึงมีเป้าประสงค์ที่จะวิจัยและพัฒนากรรมวิธีการสกัดต้นกัญชงเชิงพาณิชย์ เพื่อให้ได้สารสกัดมาตรฐานตามข้อกำหนดกฎหมายเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้ระบุไว้ว่าผลิตภัณฑ์สารสกัดจะต้องมีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 กัญชง (hemp) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. เป็นพืชไม้ล้มลุกที่มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายต้นกัญชาแต่ไม่มีฤทธิ์เสพติดเหมือนกัญชา กัญชงมีแหล่งกำเนิดในเขตเอเชียกลางแต่ขยายพันธุ์ออกไปในเอเชียตะวันออก เอเชียใต้และทวีปยุโรป ประเทศไทยมีแหล่งกัญชงขึ้นอยู่ในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งนิยมนำมาแปรรูปเป็นเส้นใยสิ่งทอ ส่วนต่าง ๆของกัญชงได้แก่ ต้น ใบ ดอก และเมล็ดสามารถนำมาสกัดสารสำคัญ ได้แก่ cannabidiol (CBD) โปรตีนและไขมันจำพวก linoleic acid, linolenic acid และ oleic acid ที่สามารถสกัดได้จากเมล็ด (hemp seed oil) แต่ทั้งกัญชาและกัญชงมีสาร THC เป็นสารเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายเมื่อใช้ในปริมาณที่เหมาะสมแต่อาจกระตุ้นอาการทางจิตเภทได้ในบุคคลบางกลุ่ม จึงจัดเป็นยาเสพติดให้โทษและไม่สามารถใช้ได้โดยถูกกฎหมายในหลายประเทศเป็นระยะเวลาหลายสิบปี แต่ด้วยงานวิจัยที่ก้าวไกลและเทคโนโลยีการสกัดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจึงทำให้มีความเข้าใจคุณประโยชน์ของสารสกัดว่ามีต้นกำเนิดจากสาร CBD และเทคโนโลยีปัจจุบันทำให้ได้สารสกัดที่มีสาร THC เจือปนน้อยลงเรื่อย ๆ ทำให้หลายประเทศปลดข้อจำกัดทางกฎหมายและยินยอมให้ใช้สารสกัด CBD ในผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และยา เช่นประเทศไทยที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศยกเว้นสารสกัดจากต้นกัญชาและกัญชงจากการเป็นสารเสพติดให้โทษ โดยอนุญาตให้สารสกัดที่มี CBD เป็นองค์ประกอบหลักและมีปริมาณ THC ตามมาตรฐานสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2562 นอกจากนี้เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563 คณะรัฐมนตรีได้เปิดกว้างให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสามารถขออนุญาตปลูกกัญชงเชิงพาณิชย์ได้เองโดยไม่ต้องร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ เป็นการส่งเสริมการปลูกกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจและพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์กัญชงในประเทศไทย แต่เมล็ดพันธุ์ที่สามารถปลูกได้ต้องเป็นสายพันธุ์ที่มีปริมาณ THC ต่ำกว่า 1.0% ซึ่งปัจจุบันมี 4 สายพันธุ์คือ RPF1 RPF2 RPF3 และ RPF4 สาร CBD สามารถสกัดได้จากทั้งต้นกัญชาและกัญชง แต่ข้อดีของการสกัด CBD จากต้นกัญชง คือมีสาร CBD ที่ต้องการและมีปริมาณสาร tetrahydrocannabinol (THC) เพียง 0.3% ซึ่งน้อยกว่าสารสกัดจากกัญชาที่มีปริมาณสาร THC ถึง 12% และมีCBD เพียงไม่ถึง 0.3% กรรมวิธีการสกัดสาร CBD คุณภาพตามมาตรฐานสหประชาชาติที่ทำอยู่ในปัจจุบันมี 3 วิธีที่นิยม วิธีแรกคือการสกัดส่วน ใบ ก้าน และดอกของพืชกัญชงด้วยตัวทำละลาย(maceration in solvent) เพื่อที่จะสกัด CBD โดยที่ปนเปื้อน THC น้อยที่สุด แต่กรรมวิธีนี้ใช้วัตถุดิบปริมาณมากและสารปนเปื้อนจากตัวทำละลาย (solvent) เช่น เอทานอล บิวเทน โพรเพน หรือไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ นั้นเป็นพิษต่อร่างกาย นอกจากนี้การสกัดด้วยตัวทำละลายยังละลายคลอโรฟิลทำให้ผลผลิตมีรสขมอีกด้วย วิธีที่สองคือการสกัดด้วยน้ำมันมะกอกซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิม มีความปลอดภัยและทำได้ง่าย แต่ข้อเสียคือปริมาณ CBD มีความเข้มข้นน้อยและไม่สามารถเพิ่มได้จึงไม่เมหาะสำหรับการเตรียมวัตถุดิบเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ วิธีสุดท้ายคือการสกัดด้วย supercritical CO2 extraction ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นสำหรับการสกัดสมุนไพร สารสกัดจาก CO2 extraction มีคุณภาพดีปลอดภัย และมีสารเจือปนเช่นคลอโรฟิลน้อย เป็นกรรมวิธีที่เหมาะสมสำหรับการสกัดกัญชงเพื่อผลิตสารสกัดมาตรฐานอุตสาหกรรม ในโครงการนี้คณะผู้วิจัยมีความต้องการที่จะทดสอบประสิทธิภาพการสกัดกัญชงด้วยกรรมวิธี supercritical CO2 extraction เพื่อให้ได้สารสกัด CBD ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม และ คำถามงานวิจัยคือ สามารถสกัดต้นกัญชงสายพันธุ์ของประเทศไทยด้วยกระบวนการ supercritical CO2 extraction ให้สามารถผลิตสารสกัดตามข้อกำหนดกฎหมายเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้ระบุไว้ว่าผลิตภัณฑ์สารสกัดจะต้องมีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 ได้ด้วยขั้นตอนและกรรมวิธีอย่างไร |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อแปรรูปกัญชงเชิงพาณิชย์เป็นสารสกัดตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีปริมาณ THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 ด้วยกระบวนการ supercritical CO2 extraction 2. เพื่อลดต้นทุนการผลิตสารสกัดต้นกัญชงเชิงพาณิชย์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์สุขภาพ |